ผู้ใช้:LohriPR/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

The Lohri chromometrie and joaillerie[แก้]

ลอห์ริ (Lohri) เครื่องประดับและนาฬิกาชั้นนำของเมืองซูก สวิตเซอร์แลนด์

ตั้งอยู่ใจกลาง“ซูก“ เมืองเล็กๆที่มีชื่อเสียงและประวัติอันยาวนานเกี่ยวกับศิลปะกรรมช่างทอง ซึ่งปัจจุบันร้านนี้ได้รับการขนานนามว่าเป็นร้านทำทองที่เก่าแก่ที่สุดในยุโรป (Europe`s oldest goldsmith-house) เปิดทำการตั้งแต่สมัยศัตวรรตที่ 16 และสืบต่อกันหลายช่วงอายุคน  โดยตัวตึกได้รับการบูรณะใหม่ให้คงสภาพเดิมอย่างสมบูรณ์แบบทุกรายละเอียด ผสมผสานกับการปรับปรุงให้เข้ากับยุคสมัย ใหม่ภายใต้ภาพลักษณ์เดิมได้อย่างลงตัว ภายในตัวอาคารชั้นหนึ่งเปิดทำงานช่างฝีมือโดยช่างทองชาวสวิสตั้งแต่ปี 1620 ในรูปแบบสถาปัตยกรรมการตกแต่งสมัยจักวรรดินโปเลียนและโครงสร้างอาคารที่ทรงคุณค่า เช่น ซุ้มประตูและเสาโรมัน ตั้งตระหง่านระหว่างทางเดินกลางเข้าร้านรวมไปถึงรูปปั้นและจิตรกรรมฝาผนัง ด้วยการวาดลายหินอ่อนด้วยมือโดยช่างฝีมือประจำเมืองที่ยังรักษาความสวยงามไว้ตามต้นฉบับเดิม

ในปี 1820 ตึกนี้จัดว่าเป็นห้างร้านช่างทองที่มีมูลค่าแพงที่สุดในเมืองซูก โดยในปัจจุบันเจ้าของตึก Neugasse 27 นี้คือครอบครัว ลอห์ริ ที่เป็นที่รู้จักกันทั่วเมือง

ในปี 1971 ทางครอบครัวได้เริ่มกิจการช่างทองเล็กๆในบ้านใต้หลังคาที่มีขนาดเล็กที่สุดในกลางเมืองซูก และแผ่ขยายกิจการในต่อมาเริ่มจากการเปิดบ้านเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะล้ำค่าและเครื่องประดับหายากที่ส่วนใหญ่มีเพียงชิ้นเดียวในโลก จากหลากหลายยุคสมัยที่เสาะหาจากเมืองต่างๆตั้งแต่ปี 1780 ถึง 1950 รวมไว้ชั้นบนของอาคาร รวมทั้งเครื่องประดับที่ออกแบบและผลิตในร้านโดยเฉพาะภายใต้แบรนด์  ”ลอห์ริ (Lohri)” ด้วยการผลิตที่ทันสมัยแต่คงไว้ด้วยเอกลักษณ์เก่าแก่จากเมืองซูก จึงทำให้เป็นที่สนใจจากแบรนด์ชื่อดังระดับโลกให้เป็นตัวแทนแต่เพียงผู้เดียวในการจัดจำหน่ายเครื่องประดับและนาฬิกา อาทิ ปาเตะ ฟิลลิป, บลองแปง, เจเกอร์-เลอคูลทร์, แฟรงค์ มูลเลอร์, เพียเจต์ และนาฬิกาชั้นนำอีกอื่นๆมากมาย ยิ่งไปกว่านั้น ชั้นบนสุดได้รับการเนรมิตให้เป็นสถานที่จัดงานมงคลสมรสขนาดย่อม พร้อมด้วยบริการออกแบบแหวนแต่งงานคุณภาพเยี่ยมสุดพิเศษสำหรับคู่บ่าวสาว ที่จะสร้างความประทับใจได้อย่างสมบูรณ์แบบและครบวงจร ถือเป็นสถานที่ที่มีประวัติน่าสนใจที่ควรแวะชมสักครั้งเมื่อไปเที่ยวในสวิตเซอร์แลนด์

สถาปัตยกรรม[แก้]

เสาหินโรมันและซุ้มประตูโค้ง ด้านในตึก Neugasse 27 เมืองซูก
บันไดไม้ทางเดินมีอายุกว่า 400 ปี ยังคงสภาพใช้งานได้สมบูรณ์

รูปแบบเสาต้นฉบับยังคงเดิมไว้ เสาโรมันทำจากหินระหว่างทางเดินกลาง และโครงสร้างทางเดินใต้ประตูโค้งสร้างตั้งแต่สมัยจักรวรรดินโปเลียน

บานหน้าต่างสร้างในสมัยคริสต์ศักราช 1806 พื้นชั้นล่างสร้างพร้อมกับถนน Neugasse ระหว่างปีค.ศ. 1500-1550

ประวัติของ Lohri House[แก้]

  • 1620 เจ้าของบ้านเก่าคือ โยฮัน จาคอป ไอ มูส (Johann Jakob I. Muos) มีอาชีพช่างทำทอง หนึ่งสมาชิกใหญ่สภาส่วนเขตการปกครองและทรัพย์สินของเมืองคาม (Cham)
  • 1640 ต่อมาลูกชายของ โยฮัน จาคอป ไอ มูส ได้มาครอบครองบ้านหลังนี้ต่อจากพ่อ เขามีอาชีพช่างทำทองเช่นเดียวกัน ทั้งยังเป็นผู้ดูแลทรัพย์สมบัติ และกัปตันประจำการต่างประเทศ
  • 1650 ลูกชายของโยฮันถูกฟ้องล้มละลาย เขาย้ายออกจากเมืองซูก และเสียชีวิตที่ ฟลอเรนซ์
  • 1688 บาทหลวง โยฮัน ออสวาล เมเยนเบอร์ก (The Reverend Johann Oswald Meyenberg) ได้ขายบ้านหลังนี้ของพี่ชาย (Hans Kaspar Mezenberg) ให้กับ บีท โทมัน สตอคกินส์ (Beat Thoman Stocklin) ในราคา 1,250 กลูเดน หรือปัจจุบันประมาณสามแสนสวิสฟรังค์
  • 1704 เจ้าของต่อจากนั้นคือทนายของสมาชิกสภาส่วนเขตการปกครองใหญ่นามว่า คาล แอนทง แลทเทอร์ (Karl Anton Letter) หลังจากได้รับมรดกต่อจากพ่อบุญธรรม หรือนาย บีท โทมัน สตอคกินส์ (Beat Thoman Stocklin)
  • 1754 พลาซิท แอนทง เลทเทอร์ (Plazid Anton Letter) อีกสมาชิกสภาส่วนเขตการปกครอง กลายเป็นเจ้าของใหม่ของบ้านตาของเขา
  • 1770 ฟรังซ์ มิคาแอล สปิลมัน (Franz Michael Spillmann) ประกอบอาชีพช่างเงิน เขามาจากครอบครัวที่มีชื่อเสียงทางด้านการทำทอง ได้ย้ายเข้ามาเป็นเจ้าของบ้านหลังนี้ต่อ
  • 1805 ต่อมาลูกชายของเขา คาล อามาเด (Karl Amade) ช่างเงินคนสุดท้ายที่สำคัญประจำเมืองซูก ได้ครอบครองสถาปัตยกรรมการตกแต่งภายในแบบฉบับจักรวรรดิโรมันของอาคารทั้งสองแห่ง Neugasse 25/27 บนเพดานและซุ้มประตูโค้งด้านล่าง ถูกสร้างโดยช่างก่อสร้างมืออาชีพ Melchior Schnellhammer
  • 1856 คาล โยเซฟ สปิลมัน (Karl Joseph Spillmann) ลูกชายอีกคนได้รับมรดกครึ่งหนึ่งจากพ่อคือบ้านหลัง Neugasse 27 เขาทำอาชีพช่างทอง ในขณะนั้นยังเป็นผู้บริหารด้านคนยากจนและเด็กกำพร้า และเป็นประธานบริหารสภาส่วนตำบล
  • 1867 หลังจากนั้นบ้านทั้งสองหลังได้ถูกขายให้กับข้าราชการพลเรือนอาวุโสและผู้ดูแลสินเชื่อบ้าน นาย เกออก นุสเบาเมอร์-เชล (Georg Nussbaumer-Schäll) จากเมืองโอเบอร์เอเกอริ (Oberägeri) และเขาได้ขายบ้าน Neugasse 25 ให้กับพี่สาวน้องสาวของเขา
  • 1885 ต่อมาญาติของเขาหลังจากการตรวจสอบผู้พิพากษาเขาได้รับความชอบธรรมในบ้านหลังนี้ Neugasse 27 เขาจึงโอนกรรมสิทธิ์ให้ลูกชายของเขา โยเซฟ ไคเซ่อ (Joseph Kaiser im Hof) ที่มีอาชีพช่างเงินและช่างทองในขณะนั้น เพื่อใช้ในการค้าขายและอยู่อาศัย
  • 1921 สืบด้วยลูกชายของเขา วอลเทอร์ ไคเซ่อ เข้ามาสานต่อกิจการของพ่อ ขณะนั้นเขาศึกษาอยู่ที่ The Schwäbisch Gmund School for the precious Metals Industry และฝึกการทำงานที่ซูริค หลังจากนั้นเขาได้ไปทำงานที่ คัวร์, เจนีวา, และปารีส
  • 1952 ช่างทอง แมกซ์ บอสาท (Max Bossart) ได้เข้ามาต่อเนื่องศิลปะช่างทองหลังจากการเกษียณของโยเซฟ ไคเซ่อ (Joseph Kaiser im Hof)
  • 1992 ฮันรือดิ วัสมัน (Hansruedi Wassmann) ได้ประจำการเป็นช่างทองต่อ
  • 2016 ได้เปิดกิจการช่างทองภายใต้ชื่อ The Lohri chromometrie and joaillerie