ผู้ใช้:Jakkapong Jancheelong/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การจัดการทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ[แก้]

การจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management) หมายถึง ขั้นตอนหรือกระบวนการในส่วนที่ซึ่งเกี่ยวข้องกับบุคคล การเลือกสรรเข้าทำงาน การจัดวางตำแหน่งของบุคคลให้เหมาะสม กับความชำนาญและความสามารถในการทำงาน [1] รวมไปถึงความสัมพันธ์และการดำเนินกิจกรรมต่างๆที่จำเป็นที่เกี่ยวข้องกับตัวบุคคล[2] เพื่อให้องค์กรได้มีความพร้อมของทรัพยากรมนุษย์ทั้งในด้านปริมาณ และคุณภาพ[3]ได้อย่างเหมาะสมตลอดจนการพัฒนาแรงงานให้เป็นไปตามที่องค์กรต้องการและสามารถดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ขององค์กรได้ [4] [5] [6] การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ในเบื้องต้น พบว่า มีการพัฒนาตัวแบบเกี่ยวกับเรื่องนี้จากนักคิดนักวิจัยใน 2 กลุ่มประเทศสำคัญ คือ กลุ่มนักคิดในประเทศสหรัฐอเมริกา และกลุ่มนักคิดในสหราชอาณาจักร

โดยสามารถจำแนกกลุ่มทางความคิดได้ดังนี้

กลุ่มนักคิดในสหรัฐอเมริกา สำหรับกลุ่มนี้มีตัวแบบการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญจาก 2 สำนักคิด คือ ตัวแบบการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์กลุ่มฮาร์วาร์ด (The Harvard model) หรือเรียกว่ากลุ่มแนวคิดแบบ "มนุษย์นิยมเชิงพัฒนาการ" (developmental humanism) เป็นแนวคิดกระแสหลัก ที่ทรงอิทธิพล และแพร่หลายที่สุด มีรากฐานทางความคิดมาจากสำนักคิด "มนุษยสัมพันธ์" ซึ่งมีจุดเน้นทางความคิดอยู่ที่เรื่องของการสื่อสารในองค์การ การสร้างทีมเวิร์ก และการใช้ความสามารถของแต่ละ บุคคลให้เกิดอัตถประโยชน์สูงสุด กล่าวโดยสรุปสำหรับแนวคิดของสำนักนี้แล้ว การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์จะให้ความสำคัญกับเรื่องของการสร้างสัมพันธภาพของคนในองค์กร เพราะการที่จะทำให้องค์กร มีผลประกอบการที่ดีขึ้น องค์กรจะต้องสามารถตอบสนองความต้องการของบุคลากรในองค์กรให้เหมาะสม และเมื่อบุคลากรได้รับการตอบสนองที่ดี ก็จะเกิดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทำให้องค์การเกิดภาวะอยู่ดีมีสุข ทางสังคมขึ้นภายในองค์การ อันจะนำไปสู่คุณภาพ และปริมาณงานที่ดีขึ้น ตัวแบบการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์สำนักมิชิแกน (The Michigan School) หรือเรียกอีกนามหนึ่งว่าเป็นแนวคิดแบบ "บริหารจัดการนิยม" (managerialism) กล่าวคือ เป็นกลุ่มที่เน้นเรื่อง ของการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ ที่มองการบริหารทรัพยากรมนุษย์ จากมุมมองของฝ่ายจัดการธรรมชาติของฝ่ายจัดการคือ การให้ความสำคัญอันดับแรกที่ผลประโยชน์ตอบแทนที่องค์กรจะได้รับ โดยที่เรื่อง ของคน และการบริหารจัดการคนเป็นเครื่องมือในการที่จะทำให้บรรลุสู่เป้าหมายเช่นนั้นขององค์การ ดังนั้นจึงมีผู้เรียกแนวคิดการบริหารจัดการ ทรัพยากรมนุษย์ของสำนักคิดนี้ว่า เป็นพวก "อัตถประโยชน์-กลไกนิยม" (utilitarian-instrumentalism) คือมองผลประโยชน์ หรือผลประกอบการขององค์กรเป็นหลัก โดยมีการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรให้ไปสู่ผลประกอบการที่เป็นเลิศ
[7]

กลุ่มนักคิดในสหราชอาณาจักร สำหรับแวดวงวิชาการด้านการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ของสหราชอาณาจักรก็คล้าย ๆ กับสำนักคิดของสหรัฐอเมริกา คือ มีการนำเสนอแนวคิดของ 2 กลุ่มความคิดที่มีจุดย้ำเน้นที่แตกต่างกันระหว่าง "กลุ่มอ่อน" กับ "กลุ่มแข็ง" [8] กล่าวคือ สำหรับกลุ่มที่มีมุมมองแบบอ่อน (soft) คือ กลุ่มนักคิดที่ทุ่มน้ำหนักความสำคัญไปที่คนมากกว่าการบริหารจัดการ โดยเชื่อว่าบุคลากรทุกคนเป็นรัพยากรที่มีคุณค่าอยู่ในตนเอง ดังนั้นแนวทางของ กลุ่มความคิดนี้ จึงมองการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ว่า จะเป็นวิธีการหนึ่งที่จะต้องช่วยปลดปล่อยพลังศักยภาพทั้งมวลของทรัพยากรมนุษย์ออกมา การบริหารทรัพยากรมนุษย์แนวนี้ จึงเน้นในเรื่องของการ สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกัน การหาแนวทางที่จะสร้างความรู้สึกถึงการ มีพันธกิจผูกพัน (commitment) เกี่ยวข้อง (involvement) และการมีส่วนร่วม (participation) ให้เกิดขึ้นในหมู่มวลพนักงาน สำหรับกลุ่มที่มีมุมมองแบบแข็ง (hard) ก็คือ กลุ่มนักคิดที่ทุ่มน้ำหนักความสำคัญไปที่เรื่องของการบริหารจัดการมากกว่าเรื่องของคน ดังนั้นแนวทางของกลุ่มความคิดนี้ จึงมองการบริหารจัดการ ทรัพยากรมนุษย์ว่า เป็นภาระงานด้านหนึ่งที่องค์กรจะสามารถเพิ่มพูนผลตอบแทนทางเศรษฐกิจให้ได้มากที่สุดจากการใช้ทรัพยากรบุคคลให้เกิดประโยชน์สูงสุด แนวทางที่สำคัญอย่างหนึ่งที่จะทำให้การบริหาร จัดการองค์การให้เกิดประสิทธิภาพก็คือ ต้องมีการบูรณาการ (integrate) เรื่องของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์เข้ากับกลยุทธ์ทางธุรกิจขององค์กร [9]


วัตถุประสงค์ของการจัดการทรัพยากรมนุษย์[แก้]

วัตถุประสงค์ของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ มีดังนี้ [10]

  1. เพื่อสรรหา และคัดเลือกบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงานในองค์การ (recruitment and selection)
  2. เพื่อใช้คนให้เกิดประโยชน์สูงสุด (utilization)
  3. เพื่อบำรุงรักษาพนักงานที่มีความสามารถให้อยู่กับองค์การนาน ๆ (maintenance)
  4. เพื่อพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถ (development)

แนวทางการจัดการทรัพยากรมนุษย์[แก้]

มีดังต่อไปนี้ [11]

  1. หลักคุณธรรม (merit principle ) หมายถึง การอาศัยความสามารถในการทำงานในตำแหน่งเป็นตัวกำหนดการแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่งการตัดสินใจอื่นๆ ในการจัดการทรัพยากรมนุษย์
  2. การแต่งตั้งพรรคพวก (spoils of office) หรือบางครั้งเรียกว่า ระบบอุปถัมภ์
  3. การจ้างงานประชาชนตามแนวคิดสวัสดิการ (welfare concept of public employment) เป็นแนวที่ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ตั้งเป็นนโยบาย คือ การให้งานราชการแก่ใครก็ได้ที่ว่างงาน
  4. การจ้างงานเพื่อเป็นทหาร (service in the armed forces) เป็นนโยบายที่ให้สิทธิจ้างงานเพื่อให้คนจากที่ต่างๆ มีสิทธิที่เท่าเทียมกันในการเป็นทหารของรัฐ กล่าวคือ บุคคลที่อยู่เขตพื้นที่ต่างกัน ชนชั้นต่างกันหรือเชื้อชาติต่างกัน ต่างก็มีสิทธิเข้ารับราชการทหารเหมือนกัน [12]

ความสำคัญของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ[แก้]

การจัดการทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐ (human resource management in public sector) หรือ การบริหารงานบุคคลภาครัฐ (public personnel administration ) คือ กิจกรรมสำคัญของ องค์การทุกแห่งและเกี่ยวข้องกับคนที่อยู่ในองค์การทุกคน การจัดการนี้มีผลต่อแรงจูงใจความสำเร็จ การควบคุมการปฏิบัติ และช่วยกำหนดความสำเร็จขององค์การ รวมถึงการตอบสนองความพึงพอใจต่อประชาชน การจัดการทรัพยากรมนุษย์ในภาครัฐเป็นการกำหนดนโยบายและนำนโยบายไปปฏิบัติ รวมทั้งการออกกฎระเบียบเกี่ยวกับการจัดหา การจัดกำลัง และการรักษากำลังคนของภาครัฐเอง [13]

หลักการสำคัญของระบบคุณธรรม[แก้]

ระบบคุณธรรม (merit system)เป็นวิธีการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน โดยใช้การสอบรูปแบบต่างๆ เพื่อประเมินความรู้ ความสามารถของบุคคลที่มีคุณสมบัติครบตามต้องการ[14] ระบบคุณธรรม เกิดจากความพยายามที่จะแก้ไขข้อบกพร่อง ของระบบอุปถัมภ์ [15] โดยเป็นระบบการบริหารบุคคลที่อาศัยความรู้ ความสามารถของบุคคลเป็นหลัก ไม่คำนึงถึงความสัมพันธ์ส่วนตัว มีลักษณะสำคัญดังนี้ [16]

หลักความสามารถ (Competence)[แก้]

ยึดหลักความสามารถของบุคคลเป็นสำคัญเพื่อให้เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่และต้องสามารถใช้ความรู้มาปฏิบัติงานให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมได้อย่างเต็มที่

หลักความเสมอภาค (Equality Opportunity)[แก้]

การให้โอกาสที่เท่าเทียมกันแก่บุคคลทั้งในการเข้าสู่การเป็นราชการและอยู่ในระหว่างการเป็นข้าราชการ ซึ่งเป็นแนวคิดตามหลักประชาธิปไตยที่ให้สิทธิเสมอภาคแก่บุคคลภายในขอบเขตของกฎหมาย โดยถือว่าทุกคนจะต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาคด้วยคุณสมบัติและหลักเกณฑ์ที่อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน

หลักความมั่นคงในตำแหน่งหน้าที่ (Security of Tenure)[แก้]

ซึ่งต้องได้รับการยอมรับและคุ้มครองตามกฎหมาย คือจะไม่ถูกปลดออกหรือไล่ออกจากงานโดยไม่มีเหตุที่พิสูจน์ได้ หลักการนี้ มุ่งให้ข้าราชการเกิดความมั่นคงถาวรในอาชีพ และเกิดความรู้สึกมั่นคงที่จะแสวงหาความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่ของตน โดยไม่ต้องคำนึงถึงเหตุผลส่วนตัวหรือทางการเมือง

ประโยชน์ของการบริหารบุคคลโดยใช้ (merit system) [17]

  1. เป็นการส่งเสริมเกียรติภูมิของข้าราชการหรืออาชีพรับราชการ ทำให้งานราชการได้รับความสนใจจากผู้มีความรู้ความสามารถสูง ราชการก็จะได้คนดีเข้ามาทำงาน
  2. สนับสนุนแนวคิดและแนวทางปฏิบัติตามระบอบประชาธิปไตย โดยการเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปผู้มีความรู้ความสามารถ ได้มีสิทธิเท่าเทียบกันในการสอบแข่งขันเข้ารับราชการ
  3. ให้ความคุ้มครองแก่ข้าราชการเพื่อให้มีความมั่นคงในการรับราชการ
  4. ส่งเสริมให้ข้าราชการทำงานไปได้ด้วยดีเนื่องด้วยตระหนักถึงความเป็นธรรมที่ตนได้รับจากการทำงาน

กระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ[แก้]

หน้าที่หลักของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐแบ่งได้ดังนี้ [18]

การจำแนกตำแหน่ง (position classification)[แก้]

โดยองค์การภาครัฐส่วนใหญ่ใช้ระบบการจำแนกตำแหน่ง [19] เริ่มแรกคือการสำรวจตำแหน่งวิเคราะห์ตำแหน่งเพื่อกำหนดหน้าที่ ความรับผิดชอบ ความเหมาะสมระดับความยากง่ายและเงื่อนไขอื่นๆ เช่น ประสบการณ์ ระดับการศึกษา เงื่อนไขเฉพาะตำแหน่ง เป็นต้น

ขั้นตอนหรือกระบวนการจ้างงาน (employment process)[แก้]

มีแต่ละขั้นตอนดังนี้

  • การสรรหา คือ การทำให้คนรู้จักโอกาสในการทำงาน การแสวงหาผู้ที่เหมาะสมกับตำแหน่งงาน ภาครัฐได้ใช้วิธีนี้มากขึ้นเพราะงานภาครัฐจูงใจน้อยกว่าภาคเอกชน โดยที่ภาครัฐกำหนดคุณสมบัติไว้สูง ปัจจุบันภาครัฐได้หันมาใช้วิธีเชิงบวก
  • การคัดเลือก เป็นการกลั่นกรองเพื่อประเมินและจัดลำดับคนที่มีคุณสมบัติตามที่ประกาศ การคัดเลือกมีหลายวิธี เช่น การสอบปฏิบัติ การตรวจสอบคำรับรอง เป็นต้น
  • การบรรจุตำแหน่ง โดยฝ่ายบุคคลคอยที่จะช่วยกลั่นกรองและขึ้นทะเบียน เกิดขึ้นเมื่อมีตำแหน่งว่างและมีคำขออนุมัติบรรจุ วิธีการปฏิบัติคำขอนี้ขึ้นอยู่กับกฎระเบียบในการบริหารงานบุคคล

กิจกรรมหลังการจ้างงาน (post-employment activities)[แก้]

มีสาระสำคัญดังนี้

  • การฝึกอบรม การฝึกอบรมมีทั้งในขณะทำงานและโครงการที่จัดนอกองค์การ มีวัตถุประสงค์หลากหลาย เช่น เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับองค์การ วัตถุประสงค์ขององค์การแก่เจ้าหน้าที่ให้ทราบ
  • การพัฒนาองค์การ การพัฒนาองค์การเป็นแนวทางเปลี่ยนแปลงองค์การและคนที่เป็นระบบ ปรับปรุงแบบแผนทางพฤติกรรมรวมถึงปรับปรุงโครงสร้างองค์การเพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนใหม่หรือเปลี่ยนทิศทางการทำงานอื่นๆ
  • การประเมินผล การประเมินผลมีคนอยู่อย่างน้อย 2 คน คือ ผู้ประเมินกับผู้ถูกประเมิน โดยคนทุกระดับต้องถูกประเมินอย่างสม่ำเสมอ
  • การเลื่อนตำแหน่ง บุคคลไม่ว่าภาคเอกชนหรือภาครัฐเมื่อเข้าทำงานในองค์การแล้ว ต่างที่ก็ต้องการตำแหน่ง ทางสายอาชีพอันเป็นแรงจูงใจที่สำคัญทำให้ได้คนมีคุณภาพเข้ามาสู่องค์การ
  • วินัย องค์การทุกแห่งมีสิทธิดำเนินการทางวินัยกับเจ้าหน้าที่ที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมทางวินัยตั้งแต่ไม่เป็นทางการและเป็นทางการ เช่น การพักงาน หรือไล่ออก เป็นต้น

เหตุการณ์ที่ไม่เป็นไปตามแผน (unplanned events)[แก้]

  • ปัญหาการจำแนกงานใหม่ (reclassification problem)
  • ปัญหาสถานที่ (space problem)
  • ปัญหาความขัดแย้งระหว่างบุคคล (interpersonal conflict)
  • ปัญหาขั้นตอนการร้องเรียน (grievance procedure)
  • ปัญหาการจูงใจ ให้คำปรึกษาและคำแนะนำ (motivation, counseling,and guidance)

อ้างอิง[แก้]

  1. Tphatcha Truektrong. (2014). การจัดการทรัพยากรมนุษย์และองค์การนวัตกรรม. สืบค้นเมื่อ23 เมษายน, 2560, จาก ชื่อเว็บไซต์: https://prezi.com/zti_wcomnkca/presentation/
  2. วิชัย โถสุวรรรจินดำ. (2547). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โฟร์เพซ.
  3. อารีย์ รุ่งแสง.การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์. สืบค้นเมื่อ23 เมษายน, 2560, จาก ชื่อเว็บไซต์: http://human.bsru.ac.th/e-learning/57.
  4. รองศาสตร์จารย์ ดร.วิเชียรอุดม.(2557).การบริหารทรัพยากรมนุษย์.บริษัท ธนธัชการพิมพ์ จำกัด 43/100 หมู่ที่ 5 ซ.เทอดพระเกียรติ ถ.เทอดพระเกียรติ ตำบลวัดชลอ อำเภอบางกรวย จ.นนทบุรี 11130:บริษัท ธนธัชการพิมพ์ จำกัด.
  5. (2) IM2. การจัดการทรัพยากรมนุษย์. แหล่งที่มา : URL:https://www.im2market.com/2015/06/16/1434. 5 เมษายน 2560.
  6. ดร.พรชัย เจดามาน. 2558. เศรษฐกิจพอเพียง : มิติและพลวัตการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในสหัสวรรษใหม่แห่งการยั่งยืน. จังหวัดมหาสารคาม: คุ้ม การพิมพ์.
  7. (3) NovaBizz. การบริหารทรัพยากรมนุษย์. แหล่งที่มา : URL:https://www.novabizz.com/NovaAce/Manage/การบริหารทรัพยากรมนุษย์.htm. 23 เมษายน 2560.
  8. สุพรรณี โอฬาร์ผล . (2556). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. สืบค้นเมื่อ23 เมษายน, 2560, จาก ชื่อเว็บไซต์: http://supanneepick993.blogspot.com/
  9. (3) NovaBizz. การบริหารทรัพยากรมนุษย์. แหล่งที่มา : URL:https://www.novabizz.com/NovaAce/Manage/การบริหารทรัพยากรมนุษย์.htm. 23 เมษายน 2560.
  10. วิลาวรรณ รพีพิศาล. (2554). ความรู้พื้นฐานในการบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพ: โรงพิมพ์ วิจิตรหัตถกร.
  11. รศ.ดร.เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2554). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ. ใน รศ.ดร.เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐประศาสนศาสตร์ (หน้า 149). บริษัท บพิธการพิมพ์ จำกัด 70 ถนนราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200: บริษัท บพิธการพิมพ์ จำกัด.
  12. รศ.ดร.เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2554). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ. ใน รศ.ดร.เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐประศาสนศาสตร์ (หน้า 149). บริษัท บพิธการพิมพ์ จำกัด 70 ถนนราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200: บริษัท บพิธการพิมพ์ จำกัด.
  13. รศ.ดร.เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2554). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ. ใน รศ.ดร.เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐประศาสนศาสตร์ (หน้า 146-147). บริษัท บพิธการพิมพ์ จำกัด 70 ถนนราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200: บริษัท บพิธการพิมพ์ จำกัด.
  14. ก.พ.ค.ผู้พิทักษ์ระบบคุณธรรม. ระบบคุณธรรมภาครัฐ. สืบค้นเมื่อ23 เมษายน, 2560, จาก ชื่อเว็บไซต์: http://www.acfs.go.th/documentfile/acfs_23-06-54-01.pdf
  15. ดร.ถวิล อรัญเวศ. (2560). ระบบคุณธรรมและระบบอุปถัมภ์. สืบค้นเมื่อ23 เมษายน, 2560, จาก ชื่อเว็บไซต์: http://thawin09.blogspot.com/2017/01/blog-post_904.html
  16. นาย เกื้อกูล ขวัญทอง. (2553). ระบบคุณธรรมและระบบอุปถัมภ์. สืบค้นเมื่อ23 เมษายน, 2560, จาก ชื่อเว็บไซต์: https://www.gotoknow.org/posts/324159
  17. msprotect2555. (2012). ระบบคุณธรรม(Merit system) VS ระบบอุปถัมภ์(Partronage System). สืบค้นเมื่อ23 เมษายน, 2560, จาก ชื่อเว็บไซต์:https://msprotect.wordpress.com/2012/02/06/ระบบคุณธรรมmerit-system-vs-ระบบอุปถั/
  18. รศ.ดร.เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2554). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ. ใน รศ.ดร.เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐประศาสนศาสตร์ (หน้า 153-158). บริษัท บพิธการพิมพ์ จำกัด 70 ถนนราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200: บริษัท บพิธการพิมพ์ จำกัด.
  19. ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงาน ก.พ.. การจำแนกตำแหน่งและหลักเกณฑ์การกำหนดตำแหน่ง. สืบค้นเมื่อ23 เมษายน, 2560, จาก ชื่อเว็บไซต์: http://moc.ocsc.go.th/moc/th/การจำแนกตำแหน่งและหลักเกณฑ์การกำหนดตำแหน่ง.