ผู้ใช้:Hvsalesian2557/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนหัวหินวิทยาลัย
Hua Hin Vitthayalai school (Salesin School)
[[ไฟล์:<a href="http://image.ohozaa.com/view2/wLRBiJeCLjr31Mgw" target="_blank"><img border="0" src="http://image.ohozaa.com/i/c5f/jic6Kq.jpg" /></a>ตราโรงเรียน หัวหินวิทยาลัย.jpg|260px|ตราโรงเรียนหัวหินวิทยาลัย]]
ที่ตั้ง
240 ถนนเพชรเกษม ต.หัวหิน อ.หัวหิน
จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77110
ข้อมูล
ชื่ออื่นห.ว.
ประเภทเอกชน
คำขวัญขยัน ศรัทธา ร่าเริง
สถาปนา3 พฤษภาคม พ.ศ. 2490
ผู้ก่อตั้งคณะนักบวชซาเลเซียนแห่งประเทศไทย
รหัส2/2490
ผู้อำนวยการอธิการ อำนวยการ
ระดับปีที่จัดการศึกษาอ.1-ม.6
วิทยาเขตซาลเซียน
สี   น้ำเงิน-ขาว
เพลงน้ำเงินขาว
เว็บไซต์โรงเรียนหัวหินวิทยาลัย

เกี่ยวกับโรงเรียน[แก้]

โรงเรียนหัวหินวิทยาลัย มุ่งมั่นที่จะพัฒนาระบบการบริหารจัดการ มีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาคุณภาพของบุคลากรในด้านการศึกษา ตลอดจนกระบวนการการเรียนการสอน หลักสูตร และกระบวนการพัฒนานักเรียน เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีทั้งผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนที่มีมาตรฐานระดับประเทศ และคุณลักษณะที่ดีทั้งภายนอกและภายใน มีคุณธรรมจริยธรรม จนเป็นที่พึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหลาย

นโยบายการศึกษาโรงเรียน[แก้]

1.ส่งเสริมการบริหารจัดการภายในให้เป็นระเบียบและมีประสิทธิภาพ

2.ส่งเสริมให้นักเรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เป็นพลเมืองและศาสนิกชนที่ดีของประเทศชาติ

3.ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรครูให้สามารถทำงานอย่างเป็นระบบเต็มตามศักยภาพของตน

4.ส่งเสริมกระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและเป็นเลิศทางวิชาการ

5.ส่งเสริมการพัฒนาอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมให้มีความร่มรื่นสวยงามสะอาดอยู่เสมอ

6.ส่งเสริมและพัฒนานักเรียนทั้งทางร่างกายด้านจิตใจด้านสติปัญญาด้านอารมณ์และด้านสังคม

7.ส่งเสริมบุคลากรครูและนักเรียนในด้านคุณธรรมจริยธรรมโดยเน้นความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น

ประวัติโรงเรียน[แก้]

โรงเรียนหัวหินวิทยาลัย (ซาเลเซียน) ' (อายุ 66 ปี (2556)) บริหารงานโดยนักบวชคณะซาเลเซียนแห่งประเทศไทย นิกายโรมันคาทอลิก ก่อตั้งเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2490 ตามใบอนุญาตเลขที่ 2/2490 ลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียว รับเฉพาะนักเรียนชาย ตั้งอยู่เลขที่ 818 ถนนเพชรเกษม ตำบลหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีบาทหลวงสนม วีระกานนท์ ดำรงค์ตำแหน่งเจ้าของผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการ มีบาทหลวงเฮกเตอร์ ฟรีเยริโอ เป็นอธิการองค์แรก เปิดทำการสอนในวันที่ 26 พฤษภาคม 2490 ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1?- 2 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4?- 5 ตั้งแต่วันจันทร์ - เสาร์ มีนักเรียน 43 คน ครู 6 คน โดยมีบาทหลวงอัลบีโน ปองกีโอเน เป็นอธิการ บาทหลวงสนม วีระกานนท์ เป็นผู้จัดการ นายวีรศิลป์ เสียงไพเราะ เป็นครูใหญ่

โรงเรียนหัวหินวิทยาลัย บริหารงานโดยนักบวชคณะซาเลเซียนแห่งประเทศไทย นิกายโรมันคาทอลิก ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2490 ตามใบอนุญาตเลขที่ 2 / 2490 ลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียว รับนักเรียนชาย ตั้งอยู่เลขที่ 240 ถนนเพชรเกษม ตำบลหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีบาทหลวงสนม วีระกานนท์ ดำรงตำแหน่งเจ้าของผู้จัดการและครูใหญ่เป็นผู้ยื่นคำร้องขออนุญาตจัดตั้งโรงเรียน บาทหลวงเฮกเตอร์ ฟรีเยริโอ เป็นอธิการองค์แรกของโรงเรียน วันที่ 26 พฤษภาคม 2490 เปิดเรียนเป็นปฐมฤกษ์ เปิดสอนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 2 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 5 มีนักเรียน 43 คน ครู 6 คน มีบาทหลวงอัลบีโนปองกีโอเนเป็นอธิการ บาทหลวงสนม วีระกานนท์ เป็นผู้จัดการ และนายวีระศิลป์ เสียงไพเราะเป็นครูใหญ่

พ.ศ. 2491 เปิดสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

พ.ศ. 2495 บาทหลวงสนิท ลุลิตานนท์ มาดำรงตำแหน่งผู้จัดการแทน บาทหลวงสนม วีระกานนท์

พ.ศ. 2496 ได้รับการรับรองวิทยฐานะเทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาล และต่อเติมอาคารเรียน

15 มิถุนายน 2497 ก่อสร้างศาลาซาวีโอ เป็นสถานที่ใช้เป็นหอประชุมและโรงพลศึกษา

พ.ศ. 2498 ได้ก่อสร้างสนามบาสเกตบอล 2 สนาม คือ สนามสามัคคีชัย และสนามวิริยภาพ ทำพิธีเปิดในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2498 พร้อมกับศาลาซาวีโอ

1 กุมภาพันธ์ 2502?ได้โอนกรรมสิทธิ์ แห่งการเป็นเจ้าของโรงเรียนหัวหินวิทยาลัยให้แก่มิสซังโรมันคาทอลิกราชบุรี ตามใบอนุญาตเลขที่ 6 / 2502

พ.ศ. 2503 สร้างโรงอาหารและโรงเก็บรถจักรยาน ปรับปรุงเสาธงชาติใหม่

พ.ศ. 2504 สร้างห้องพิพิธภัณฑ์ ขยายห้องวิทยาศาสตร์ และจัดทำสวนลูร์ด เพื่อใช้เป็นที่พักผ่อนของนักเรียน

พ.ศ. 2505 บาทหลวงซิลวิโอ ปรอเวรา มาดำรงตำแหน่งอธิการ แทนบาทหลวงอัลบิโน ปองกีโอเน

พ.ศ. 2506 สร้างห้องวิทยาศาสตร์ใหม่ ขนาด 9 คูณ 20 เมตร

พ.ศ. 2507 เปิดห้องสมุดของโรงเรียน เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าของนักเรียนบาทหลวงปีเตอร์เป็นซามาดำรงตำแหน่งอธิการ แทนบาทหลวงซิลวิโอ ปรอเวรา

พ.ศ. 2508 บาทหลวงประพนธ์ ชัยเจริญ มาดำรงตำแหน่งอธิการ แทนบาทหลวงปีเตอร์ เป็นซา

พ.ศ. 2511 สร้างสนามตะกร้อ 2 สนาม และบาทหลวงโดมินิโก อากูส มาดำรงตำแหน่งอธิการแทนบาทหลวงประพนธ์ ชัยเจริญ

พ.ศ. 2512 จัดซื้อเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทย จำนวน 8 เครื่อง เพื่อให้นักเรียนที่สนใจได้ฝึกเรียนพิมพ์ดีด พร้อมทั้งแต่งตั้ง นายสุบิน ระดมกิจ เป็นผู้จัดการ และแต่งตั้ง นายสมผล ชูตระกูล เป็นครูใหญ่ แทนบาทหลวงประพนธ์ ชัยเจริญ และบาทหลวงซิลวีโอ ปรอเวรา ดำรงตำแหน่งอธิการแทน บาทหลวงประพนธ์ชัยเจริญ

พ.ศ. 2513 บาทหลวงอันเดร บ๊อกก๊อตตี รับตำแหน่งผู้แทนเจ้าของโรงเรียน และอธิการแทนบาทหลวงซิลวีโอ ปรอเวรา

พ.ศ. 2514 ขออนุญาตขยายห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นสองห้องเรียน และได้รับอนุญาตให้ขยายชั้นเรียน มาเป็นระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และได้เปิดทำการสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นปีแรก บาทหลวงเฮกเตอร์ ฟรีเยรีโอ ดำรงตำแหน่งอธิการแทนบาทหลวงอันเดร บ๊อกก๊อตตี

พ.ศ. 2515 ได้รับอนุญาตให้ขยายห้องเรียน ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 7 ชั้นละ 1 ห้องเรียนและชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 ชั้นละ 1 ห้องเรียน จัดงานฉลองครบรอบ 25 ปี โรงเรียนหัวหินวิทยาลัย

พ.ศ. 2516 นายสมผล ชูตระกูล ลาออกจากหน้าที่ครูใหญ่ เพื่อไปศึกษาต่อ ได้แต่งตั้งนายเฉลียว แสงสุริยะ เป็นครูใหญ่

พ.ศ. 2517 ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬากลุ่มโรงเรียนในอำเภอหัวหิน ได้รับโล่รางวัลชนะเลิศ 4 ประเภท และธงเกียรติยศ 6 ผืน

พ.ศ. 2518 นายเฉลียว แสงสุริยะ ลาออกจากหน้าที่ครูใหญ่และครู แต่งตั้งบาทหลวงสนอง ช้อนทอง เข้าดำรงตำแหน่งครูใหญ่

พ.ศ. 2519 แต่งตั้งนายสมผล ชูตระกูล เป็นครูใหญ่แทน บาทหลวงสนอง ช้อนทอง บาทหลวงอันเดร บ๊อกก๊อตตี ดำรงตำแหน่งอธิการแทนบาทหลวงเฮ็กเตอร์ ฟรีเยรีโอ ได้ขออนุญาตเปลี่ยนแปลงเวลาเรียนในรอบสัปดาห์ใหม่ โดยได้รับอนุญาตให้เปิดทำการสอนสัปดาห์ละ 5 วัน ตั้งแต่วันจันทร์-วันศุกร์ สอนวันละ 6 ชั่วโมงได้ ตามใบอนุญาตเลขที่ 283 / 2519 ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2519 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2519

พ.ศ. 2520 ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารเรียน เป็นอาคาร 3 ชั้น ชื่ออาคารซาวีโอและห้องประกอบต่าง ๆ เช่น ห้องทำงานครู ห้องธุรการ ห้องวิทยาศาสตร์ ห้องพิพิธภัณฑ์ ?ห้องสมุด ใช้ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น

พ.ศ. 2521 นายสมผล ชูตระกูล สอบชิงทุนโคลัมโบ ไปศึกษาต่อที่ประเทศออสเตรเลีย ได้แต่งตั้งบาทหลวงอันเดร บ๊อกก๊อตตี รักษาการแทนครูใหญ่ พร้อมทั้งทำพิธีเปิดอาคารเรียนหลังใหม่

พ.ศ. 2522 บาทหลวงโดมินิโก อากูส ดำรงตำแหน่งผู้แทนเจ้าของโรงเรียนและอธิการ แทนบาทหลวงอันเดร บ๊อกก๊อตตี และภราดาประสาท หอมสนิท รับตำแหน่งผู้แทนรับใบอนุญาติ พ.ศ. 2523 บาทหลวงสมชาย กิจนิชี รับตำแหน่งผู้จัดการแทนภราดาประสาท หอมสนิท พ.ศ. 2524 บาทหลวงสมชาย กิจนิชี ดำรงตำแหน่งผู้แทนเจ้าของโรงเรียนและอธิการแทนบาทหลวงโดมินิโก อากูส และบาทหลวงสุเทพ ช้อนทอง เป็นผู้จัดการ พ.ศ. 2525 ได้ก่อสร้างอาคารเรียน 3 ชั้น เพิ่มเติมเชื่อมต่อกับ อาคาร ซาวีโอ และสร้างโรงอาหารขนาด 20 คูณ 40 เมตร ได้ขออนุญาตเปลี่ยนแปลง อายุการรับนักเรียนเป็นอย่างต่ำ 5 ปีบริบูรณ์ เข้าเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ได้ จากเดิม 6 ปีบริบูรณ์ ตามใบอนุญาตเลขที่ 251 / 2525 ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2525 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2526 พ.ศ. 2526 ได้รับรางวัลชนะเลิศ กองลูกเสือดีเด่นเขตการศึกษา 5 พ.ศ. 2527 ได้ปรับปรุงวงดุริยางค์ของโรงเรียน เพิ่มเครื่องดนตรี จำนวน 34 ชิ้น จากประเทศอิตาลี บาทหลวงเทพรัตน์? ปิติสันต์ ดำรงตำแหน่งผู้แทนเจ้าของโรงเรียนและผู้จัดการ แทนบาทหลวงสมชาย กิจนิชี และบาทหลวงประธาน ศรีดารุณศีล ดำรงตำแหน่งอธิการ แทนบาทหลวงสมชาย กิจนิชี และมีบาทหลวงมาริโอ เปเลกรินี่ เป็นรองอธิการ พ.ศ. 2529 สร้างสนามตะกร้อเพิ่มอีก 2 สนาม บาทหลวงปราโมทย์ รุจิเกียรติกำจร ดำรงตำแหน่งอธิการโรงเรียน แทนบาทหลวงประธาน ศรีดารุณศีล พ.ศ. 2530 ปรับปรุงห้องโสตทัศนศึกษา ห้องพิพิธภัณฑ์ ห้องสมุด สร้างโต๊ะอาหารจำนวน 40 ชุด ได้รับการรับรอง เป็นโรงเรียนผู้นำการใช้หลักสูตร ในเขตการศึกษา 5 บาทหลวงแอนโทนี? เร็สเต็ลลี่ ดำรงตำแหน่งรองอธิการ แทนบาทหลวงมารีโอ เปเลกรินี พ.ศ. 2531 บาทหลวงแอนโทนี เร็สเต็ลลี่ ดำรงตำแหน่งอธิการแทนบาทหลวงปราโมทย์ รุจิเกียรติกำจร บาทหลวงเซเฟริโอ เลเดสมา และบาทหลวงสุเทพ สุรชวาลา ย้ายมาประจำที่โรงเรียนในฐานะที่ปรึกษาฝ่ายบริหาร พ.ศ. 2532 บาทหลวงสุเทพ สุรชวาลา ดำรงตำแหน่งผู้แทนเจ้าของโรงเรียน และผู้จัดการแทนบาทหลวงเทพรัตน์ ปิติสันต์ บาทหลวงวีระ เจนผาสุก รับตำแหน่งรองอธิการและเหรัญญิก พ.ศ. 2534 ก่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ เป็นอาคาร 4 ชั้น และรื้อศาลาซาวีโอและสนามตะกร้อออก เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ที่จะทำการก่อสร้างอาคารเรียน พ.ศ. 2535 ขออนุญาตใช้อาคารเรียน และประกอบพิธีเปิดอาคารเรียนโดยมีท่านผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ร.ต.อำนวย ไทยานนท์ เป็นประธานและพระคุณเจ้าประพนธ์ ไชยเจริญ ประมุขสังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี เป็นประธานฝ่ายพระศาสนจักรคาทอลิก อาคารหลังนี้ชื่อว่า อาคารยอห์น บอสโก เป็นอาคาร 4 ชั้น คือ ห้องประชุม ห้องโสตทัศนูปกรณ์ ห้องสมุด และห้องปฏิบัติการทางภาษาอังกฤษ และได้สร้างสนามบาสเกตบอล 2 สนาม สนามตะกร้อ 4 สนาม สนามวอลเล่ย์บอล 1 สนาม ศาลาซาวีโอ และเริ่มทำการก่อสร้างอาคาร 3 ชั้น เพื่อใช้เป็นห้องเรียนคอมพิวเตอร์ และห้องดุริยางค์ บาทหลวงสามัคคี ชัยพระคุณ ดำรงตำแหน่งผู้แทนเจ้าของโรงเรียนและผู้จัดการแทน บาทหลวงสุเทพ สุรชวาลา พ.ศ. 2536 เปิดหลักสูตรการเรียนคอมพิวเตอร์แก่นักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พ.ศ. 2537 บาทหลวงตีโต เปดรอน ดำรงตำแหน่งอธิการ แทนบาทหลวงแอนโทนี เร็สเต็ลลี่ บาทหลวงยะรัตน์ ไชยรา ดำรงตำแหน่งผู้แทนเจ้าของและผู้จัดการแทนบาทหลวงสามัคคีชัยพระคุณและขยายหลักสูตรการเรียนคอมพิวเตอร์แก่นักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

พ.ศ. 2539 บาทหลวงสุเทพ จูสวย ดำรงตำแหน่งผู้แทนเจ้าของ แทนบาทหลวงยะรัตน์ ไชยรา บาทหลวงอนุรัตน์ คุณธรรมพิทักษ์ดำรงตำแหน่งผู้จัดการแทนบาทหลวงยะรัตน์ ไชยรา และตำแหน่งครูใหญ่แทนนายสมผล ชูตระกูลในปีนี้ ได้ขออนุญาตเปลี่ยนแปลงการรับนักเรียน ระดับประถมศึกษา ถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากเดิมรับเฉพาะนักเรียนชาย เป็นรับทั้งนักเรียนชายและนักเรียนหญิงได้ ทั้งนี้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2539 เป็นต้นไปตามใบอนุญาตเลขที่ ปข 004 / 2539 ลงวันที่ 29 มกราคม 2539

พ.ศ. 2540 ภราดาประสาท หอมสนิท ดำรงตำแหน่งผู้แทนเจ้าของโรงเรียนแทนบาทหลวงสุเทพ จูสวย และภราดาถนัด อนันต์ ดำรงตำแหน่งผู้จัดการและครูใหญ่แทนบาทหลวงอนุรัตน์ คุณธรรมพิทักษ์ ปลายปีการศึกษานี้ โรงเรียนได้ทำการฉลองครบรอบ 50 ปีแห่งการก่อตั้งโรงเรียนด้วย

พ.ศ. 2541 ได้ขออนุญาตขยายชั้นเรียน เป็นตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (อนุบาล 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 3) ตั้งแต่ปีการศึกษา 2541 เป็นต้นไป ตามใบอนุญาตเลขที่ ปข 0044 / 2541 ลงวันที่ 30 เมษายน 2541 และได้ขออนุญาตก่อสร้างอาคารเรียนและสระว่ายน้ำสำหรับระดับก่อนประถมศึกษา (แผนกอนุบาล) ?โดยได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างได้ตามใบอนุญาตเลขที่ ปข 0052 / 2541 ลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2541 ลักษณะเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น จำนวน 4 หลัง อาคารชั้นเดียว จำนวน 1 หลัง และสระว่ายน้ำ จำนวน 1 สระ บาทหลวงสุเทพ จูสวย ดำรงตำแหน่งผู้แทนผู้รับใบอนุญาตแทนภราดาประสาท หอมสนิท บาทหลวงประเสริฐ สมงาม ดำรงตำแหน่งอธิการแทนบาทหลวงตีโต เปดรอน

ในปีการศึกษา 2541 โรงเรียนได้รับการคัดเลือกผ่านการประเมินและพิจารณาเกณฑ์ระดับเขตการศึกษา 5 เพื่อรับรางวัลพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษา ขนาดกลาง

ปีการศึกษา 2542 บาทหลวงสุเทพ? จูสวย? ?ย้ายไปรับตำแหน่งรองอธิการโรงเรียนดอนบอสโกวิทยา จังหวัดอุดรธานี บราเดอร์เกรียงศักดิ์ ชัยพรแก้ว ย้ายไปปฏิบัติหน้าที่ที่โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย แต่งตั้งภราดาสุวรรณ จูทะสมพากร รับตำแหน่งผู้ทำการแทนผู้รับใบอนุญาต บาทหลวงเลโอ โอชูวาเป็นรองอธิการ บราเดอร์เอกสิทธิ์ ทัฬหะกุลธร ย้ายมารับหน้าที่ในโรงเรียนหัวหินวิทยาลัย และโรงเรียนได้รับอนุญาตให้ใช้อาคารเรียนระดับอนุบาลได้ตามใบอนุญาตเลขที่ ปข 0062 / 2542 ลงวันที่ 14กรกฎาคม 2542

ปีการศึกษา 2542 โรงเรียนได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2542? 2546 ตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ครั้งที่ 1 / 2543 ลงวันที่ 31 มกราคม 2543

ปีการศึกษา 2543 บาทหลวงเลโอ โอชูวาย้ายไปปฏิบัติหน้าที่ที่ประเทศกัมพูชา ภราดาถนัด อนันต์ ย้ายไปปฏิบัติหน้าที่ที่โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย บราเดอร์เอกสิทธิ์ ทัฬหะกุลธร ย้ายไปปฏิบัติหน้าที่ที่โรงเรียนดอนบอสโกวิทยา อุดรธานี แต่งตั้งบาทหลวงยะรัตน์ ไชยรา ดำรงตำแหน่งผู้จัดการและครูใหญ่และบราเดอร์ภราดร อุ่นจัตตุรพรย้ายมาปฏิบัติหน้าที่แทนบราเดอร์เอกสิทธิ์ ทัฬหะกุลธร

ปีการศึกษา?2544 บาทหลวงปีเตอร์ ดาเนียล ย้ายมาปฏิบัติหน้าที่ในด้านงานอภิบาล บราเดอร์ภราดร อุ่นจัตตุรพรย้ายไปปฏิบัติหน้าที่ที่บ้านนาซาเร็ธ บ้านโป่ง ราชบุรี และบราเดอร์เอกสิทธิ์ ทัฬหะกุลธร?ย้ายมาปฏิบัติหน้าที่แทนบราเดอร์ภราดร อุ่นจัตตุรพร

ปีการศึกษา 2545 บาทหลวงยะรัตน์ ไชยราย้ายไปปฏิบัติหน้าที่ที่โรงเรียนแสงทองวิทยาหาดใหญ่สงขลาบาทหลวงสมิต แดงอำพันธ์ ย้ายมาปฏิบัติหน้าที่ครูใหญ่ โรงเรียนหัวหินวิทยาลัย บราเดอร์เอกสิทธิ์ ทัฬหะกุลธร ไปศึกษาต่อที่ประเทศอิตาลี บราเดอร์มณฑล โรจนสุทัศน์กุล มาปฏิบัติหน้าที่ที่โรงเรียนหัวหินวิทยาลัยในปีการศึกษานี้ โรงเรียนหัวหินวิทยาลัย ได้เปิดรับนักเรียนหญิงเข้าเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยเปิดห้องเรียนในชั้น ม.1เพิ่มจาก 4 ห้องเรียนเป็น 5 ห้องเรียน ปัจจุบัน โรงเรียนมีครูทั้งสิ้น 137 คน นักเรียนชาย 1,567 คน นักเรียนหญิง 987 คน รวมทั้งสิ้น 2,554 คน

ปีการศึกษา 2546 คณะผู้ใหญ่ยังคงเป็นชุดเดิม มีเพียง บราเดอร์มณฑล โรจนสุทัศน์กุล ที่ย้ายไปปฏิบัติหน้าที่ที่บ้านนาซาเร็ธ? โดยมี บราเดอร์นพดล ยอแซฟย้ายมารับหน้าที่ดูแลนักเรียนอภิรติกชนแทนปีนี้มีการเปิดห้องเรียนในชั้น ม.2 เพิ่มอีก 1 ห้องเรียนในปีการศึกษานี้โรงเรียนมีครูจำนวน 137 คน นักเรียนชายตั้งแต่อนุบาลถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1,496 คนนักเรียนหญิงตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 1,092 คน รวมทั้งสิ้น 2588 คน

ปีการศึกษา 2547 ภราดาสุวรรณ?จูทะสมพากรย้ายไปปฏิบัติหน้าที่ที่โรงเรียนอาชีวะดอนบอสโก กรุงเทพฯ โดยมีคุณพ่ออันโตนีโอ เรสเต็ลลีมารับหน้าที่คุณพ่อรองอธิการและผู้รับผิดชอบด้านการเงินแต่งตั้งคุณพ่อประเสริฐ สมงาม คุณพ่ออธิการ เป็นผู้ทำการแทนผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนหัวหินวิทยาลัย ภราดาสุธรรม ฉายาบรรณย้ายมารับตำแหน่งผู้รับผิดชอบบ้านซาเลเซียนเพื่อการฟื้นฟูจิตใจ และศูนย์เยาวชนดอนบอสโก เขาตะเกียบ บราเดอร์นพดล ยอแซฟ ไปศึกษาต่อที่ประเทศอิตาลี บราเดอร์ณัฐวุฒิ ชาวปากน้ำ มารับหน้าที่ดูแลนักเรียนอภิรติกชน

ในปีการศึกษานี้ ได้มีการส่งเสริมการเรียนทางด้านดนตรี ภาษาต่างประเทศ และเทคโนโลยี จึงมีการรับครูชาวต่างชาติเข้ามาเพิ่มอีก 6 ท่าน ในปีการศึกษานี้มีครูทั้งหมด 149 คน และได้มีการเปิดห้องเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพิ่มอีก 1ห้องเรียน ในระดับมัธยมจึงมีชั้นละ 5 ห้องเรียน มีนักเรียนหญิงครบทุกระดับชั้น ตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวนนักเรียนทั้งหมด 2,653 คน เป็นนักเรียนชาย 1,423? คน นักเรียนหญิง 1,330 คน แบ่งเป็นนักเรียนระดับอนุบาล 553 คน ระดับประถม 1,355 คน ระดับมัธยม 745 คน

ปีการศึกษา 2548 มีการเปลี่ยนแปลงคณะผู้ใหญ่คือ ภราดาสุธรรม ฉายาบรรณ ย้ายไปปฏิบัติหน้าที่ที่โรงเรียนแสงทองวิทยาหาดใหญ่ บราเดอร์ณัฐวุฒิ ชาวปากน้ำ ย้ายไปปฏิบัติหน้าที่ที่โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย โดยมีบราเดอร์เกรียงศักดิ์ ชัยพรแก้วซึ่งอยู่ในระหว่างการศึกษาต่อที่ต่างประเทศ จะย้ายมารับหน้าที่ผู้ดูแลนักเรียนอภิรติกชนในภาคเรียนที่ 2 ในปีนี้ โรงเรียนมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องอย่างไม่หยุดยั้ง โดยได้เริ่มขยายการศึกษาในระดับช่วงชั้นที่ 4 (มัธยมศึกษาตอนปลาย)โดยเปิดทำการเรียนการสอนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นปีแรก โรงเรียนหัวหินวิทยาลัย กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งทางด้านจำนวนผู้เรียนและคุณภาพทางการศึกษา ดังเห็นได้จากการมุ่งจัดการศึกษาที่มุ่งความเป็นสากล โดยส่งเสริมการเรียนภาษาต่างประเทศกับเจ้าของภาษา ทั้งภาษาจีนและภาษาอังกฤษ การนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการเรียนการสอนและการบริหารจัดการ โดยเปิดห้องคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนมัธยมปลายเพิ่มอีก 1 ห้องและย้ายห้องคอมพิวเตอร์ระดับประถม ไปอยู่ที่อาคารยอห์น บอสโก นอกจากนั้นยังได้ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสนใจทางด้านศาสตร์และศิลป์อย่างสมดุล เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกความถนัดและการสร้างสุนทรียภาพทางด้านดนตรี ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาด้านจิตวิญญาณของผู้เรียน โรงเรียนยังได้เร่งพัฒนาการบริหารจัดการ โดยมุ่งการเปลี่ยนแปลงจากศักยภาพภายในของผู้บริหารและครู โรงเรียนได้จัดการอบรมสัมมนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างทักษะทางวิชาการ กรอบแนวคิดและกลวิธีการบริหารจัดการ ตลอดจนปรัชญาการศึกษาที่มุ่ง สร้างพลังการเรียนรู้ สู่ดุลยภาพแห่งชีวิต ที่แท้จริงในปี

การศึกษา 2548 นี้โรงเรียนหัวหินวิทยาลัย มีครูทั้งหมด157 คน มีทั้งหมด 56 ห้องเรียน โดยแบ่งเป็นระดับอนุบาล15 ห้องเรียน ช่วงชั้นที่ 1 12 ห้องเรียน ช่วงชั้นที่ 2 12 ห้องเรียนช่วงชั้นที่ 3 15 ห้องเรียนและช่วงชั้นที่ 4 ซึ่งเพิ่งเริ่มเปิดในปีการศึกษานี้จำนวน 2 ห้องเรียนจำนวนนักเรียนทั้งหมด 2,708 คน เป็นนักเรียนชาย 1,423 คนนักเรียนหญิง 1,285 คน แบ่งเป็นระดับอนุบาล 536 คน ระดับประถมศึกษา 1,343 คน ระดับมัธยมศึกษา 829 คน

กลางปีการศึกษานี้ โรงเรียนได้ผ่านการตรวจประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา จากตัวแทนของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน)(สมศ.)

ปลายปีการศึกษา 2548 หลังจากได้รับการอนุมัติจากคุณพ่อเจ้าคณะและคณะที่ปรึกษา โรงเรียนหัวหินวิทยาลัย ได้เริ่มปรับปรุงพื้นที่เพื่อเตรียมการก่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ โดยมีคุณพ่อประเสริฐ สมงาม คุณพ่ออธิการเป็นผู้เสกเสาเข็มต้นแรกของอาคารเรียนหลังใหม่นี้ เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2548 โดยมีคณะผู้ใหญ่ ผู้แทนคณะครู และนักเรียน เข้าร่วมในพิธี

ปีการศึกษา 2549 คณะผู้ใหญ่ยังคงเป็นชุดเดิม คุณพ่อเกรียงศักดิ์ ชัยพรแก้ว ซึ่งได้รับการบวชเป็นพระสงฆ์ เมื่อปลายปีการศึกษา2548 รับหน้าที่เป็นจิตตาภิบาลและผู้รับผิดชอบนักเรียนอภิรติกชน และมีบราเดอร์วัฒนา สีสาวรรณย้ายมารับหน้าที่เป็นผู้ดูแลนักเรียนอภิรติกชนในปีการศึกษานี้ โรงเรียนได้ขยายชั้นเรียนโดยเปิดการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และขยายห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็น 3 ห้องเรียน โดยเปิดแผนการเรียนทางด้านภาษาเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งแผนการเรียน คือ แผนการเรียนภาษาอังกฤษ? จีน และในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก็มีการเปิดโปรแกรมที่เน้นการเรียนภาษาอังกฤษ จีน 1 ห้องเรียนด้วยเช่นกัน ปีการศึกษา 2549 นี้ โรงเรียนหัวหินวิทยาลัย มีครูทั้งหมด 155 คน มีทั้งหมด 59 ห้องเรียน โดยแบ่งเป็นระดับอนุบาล 15 ห้องเรียนช่วงชั้นที่ 1 12 ห้องเรียนช่วงชั้นที่ 2 12 ห้องเรียนช่วงชั้นที่ 3 15 ห้องเรียน และช่วงชั้นที่ 4 ซึ่งเปิดทำการเรียนการสอนเป็นปีที่ 2 5 ห้องเรียน (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 5)จำนวนนักเรียนทั้งหมด 2,828 คน เป็นนักเรียนชาย 1,422 คน นักเรียนหญิง 1,406 คน แบ่งเป็นระดับอนุบาล 555 คน ระดับประถมศึกษา 1,341 คน ระดับมัธยมศึกษา 932 คน

ปีการศึกษา 2550 - 2554 เป็นปีที่โรงเรียนใหความสำคัญด้านการเรียนรู้ทางด้านภาษา อังกฤษ ภาษาจีน และภาษาญี่ปุ่น โดยการรับคุณครูชาวต่างชาติเข้ามาทำการเรียนการสอนของนักเรียนทุกระดับชั้น

ปีการศึกษา 2555 คุณพ่อเทพรัตน์ ปิติสันต์ ได้เข้ามารับต่ำแหน่งเป็นคุณพ่ออธิการ และคุณพ่อปิยะ พืชจันทร์เข้ารับต่ำแหน่งเป็นคุณพ่อรองอธิการ และภารดาสารพัน แคเซอ รับหน้าที่ดูแลเด็กบ้านอภิรักชน ทางโรงเรียนได้มีนโยบายการศึกษาในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนมากขึ้นโดยการจัดโปรแกรมหลังสูตร (EP) ในระดับประถมศึกษา และการเพิ่มสายการเรียนในระดับมัธยมปลาย4-6 ห้องวิทย์-คณิต (ฉัจริยะภาพ) คณิตอังกฤษ และห้อง ศิลป์-จีน ญี่ปุ่น

ปีการศึกษา 2556 โรงเีัรียนได้มีการเพิ่มการเรียนรู้หลักสูตรภาษาอังกฤษ (IEP) ในระดับมัธยม และการเพิ่มสายการเรียน ศิลป์-คนตรีในระดับมัธยมปลาย ประกอบการเน้นเนื้อหา ห้องโครงการอัจฉริยะภาพในความเป็นเลิศทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี

เอกลักษณ์ของสถานศึกษา[แก้]

1.ยึดศาสนา ความดีงาม แบบองค์กรคาทอลิก

2.บริการ จิตสาธารณะ มีความเอื้ออาทร และรู้คุณ

3.ใส่ใจภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สื่อสาร และวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี

4.มีดุลยภาพทางดนตรี ศิลปะ การกีฬา อาเซียน

5.เด่นสง่าด้วยวินัย มารยาทและความเป็นไทย

ปรัชญาการศึกษาของโรงเรียน[แก้]

โรงเรียนหัวหินวิทยาลัย มุ่งเสริมสร้างเยาวชน ให้สมบูรณ์แบบตามแนวทางแห่งความจริง โดยการส่งเสริมการพัฒนาความสามารถ และศักยภาพ ในบรรยากาศแห่งอิสรภาพที่รู้จักรับผิดชอบ เพื่อจะได้สร้างสรรค์สังคมที่มีความยุติธรรม และเทิดทูนศักดิ์ศรีของมนุษย์ยิ่งขึ้น

เว็บไซต์[แก้]

www.hv.ac.th

คติพจน์[แก้]

ขยัน ศรัทธา ร่าเริง

วิสัยทัศน์[แก้]

สร้างพลังการเรียนรู้ สู่ดุลยภาพแห่งชีวิต

ตราประจำโรงเรียน[แก้]

[[|ตราประจำโรงเรียนหัวหินวิทยาลัย|http://img261.imageshack.us/img261/5073/untitled1copywi9.jpg]] เป็นรูปประภาคารเหนือน้ำทะเล รอบๆ น้ำทะเลเขียนว่า "หัวหินวิทยาลัย" ส่วนล่างเขียนว่า ขยัน ศรัทธา ร่าเริง กรอบรอบเป็นลายไทย ประภาคารเป็นเครื่องหมายของความสว่าง โรงเรียหัวหินวิทยาลัยจึงเป็นดุจประภาคารที่ให้ความสว่างด้านสติปัญญาในการประสาทวิชาความรู้ ความสว่าง ด้านจิตใจในการอบรมด้านศีลธรรม และความสว่างในการรู้จักตนเอง สามารถเจริญชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

สีประจำโรงเรียน[แก้]

น้ำเงิน-ขาว    น้ำเงิน-ขาว สีน้ำเงิน...เป็นสีน้ำทะเล แสดงถึงความกว้างใหญ่ไพศาล นักเรียนหัวหินวิทยาลัยต้องเป็นมีจิตใจกว้างขวาง เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ทุกคน สีขาว...เป็นสีแห่งความสะอาด นักเรียนหัวหินวิทยาลัยจะต้องเป็นผู้มีจิตใจขาวสะอาดบริสุทธิ์ มองโลกในแง่ดี

ทำเนียบคณะผู้บริหาร[แก้]

ปี อธิการ ปี ครูใหญ่&ผู้อำนวยการ
ขออนุญาติจัดตั้งโรงเรียน บาทหลวงเฮกเตอร์ ฟรีเยริโอ 2490-2491 บาทหลวงสนม วีระกานนท์
2490-2505 บาทหลวงอัลบีโน ปองกีโอเน 2490-2502 นายวีระศิลป์ เสียงไพเราะ
2507-2508 บาทหลวงปีเตอร์ เป็นชา 2502-2506 นายมานพ เจนผาสุก
2508-2512 บาทหลวงประพนธ์ ชัยเจริญ 2506-2507 บาทหลวงการุณ คูรัตน์
2512-2513 บาทหลวงซิลวีโอ ปรอเวรา 2507-2512 บาทหลวประพันธ์ ไชยเจริญ
2513-2514 บาทหลวงอันเดร บ็อกก็อตตี 2512-2516 นายสมผล ชูตระกูล
2514-2518 บาทหลวงเฮกเตอร์ ฟรีเยรีโอ 2516-2518 นายเฉลียว แสงสุริยะ
2519-2522 บาทหลวงอันเดร บ็อกก็อตตี 2518-2519 บาทหลวงสนอง ช้อนทอง
2522-2524 บาทหลวงโดมินิโก อากูส 2519-2539 นายสมผล ชูตระกูล
2524-2527 บาทหลวงสมชาย กิจนิชี 2539-2540 บาทหลวงอนุรักษ์ คุณธรรมพิทักษ์
2527-2529 บาทหลวงประธาน ศรีดารุณศีล 2540-2543 บราเดอร์ถนัด อนันต์
2529-2531 บาทหลวงปราโมทย์ รุจิเกียรติกำจร 2543-2545 บาทหลวงยะรัตน์ ไชยรา
2531-2537 บาทหลวงแอนโทนี เร็สเต็ลลี่ 2545-2556 บาทหลวงสมิต แดงอำพันธ์
2537-2541 บาทหลวงตีโต้ เปดรอน 2556-ปัจจุบัน บาทหลวงสมโรจน์ ไชยชนะ
2541-2550 บาทหลวงประเสริฐ สมงาม
2550-2554 บาทหลวงยะรัตน์ ไชยรา
2554-ปัจจุบัน บาทหลวงเทพรัตน์ ปิติสันต์

คณะผู้ใหญ่โรงเรียนหัวหินวิทยาลัยในปัจจุบัน'

  • อธิการ/ได้แก่ บาทหลวง เทพรัตน์ ปิติสันต์
  • รองอธิการ-อำนวยการโรงเรียนได้แก่ บาทหลวงปิยะ พืชจันทร์
  • ผู้อำนวยการ-ครูใหญ่ได้แก่ บาทหลวงสมิต แดงอำพันธ์
  • ผู้จัดการโรงเรียน (เหรัญญิก) ได้แก่ บราเดอร์เกรียงศักดิ์ ฮอริกุจิ
  • ดูแลเด็กอภิรักษ์ติกชน ได้แก่ บราเดอร์สารพัน แคเซอ

อาคารสถานที่[แก้]

อาคารยอน บอสโก http://image.ohozaa.com/view2/wLRC3arXUsQD9Ghf

สนามกีฬา http://image.ohozaa.com/view2/wLRCusOtKlBg9HLV

บ้านฟื้นฟูซาเลเซ๊ยน http://image.ohozaa.com/view2/wLRCIhZ4NQUaownc

อนุบาลซาเลเซ๊ยน http://image.ohozaa.com/view2/wLRCSzmR1MNuLMtC

ศาลาซาวีโอ http://image.ohozaa.com/view2/wLRCYWZ88hUI69Aa

อาคารแม่พระองค์อุปถัมภ์ http://image.ohozaa.com/view2/wLRDaiiXcPL9Jbiz

อาคารแม่มารีย์อุปถัมภ์ http://image.ohozaa.com/view2/wLRDn3xvpFg28GyO

อาคารซาวีโอ http://image.ohozaa.com/view2/wLRDGyn10JanTXMX


คุณพ่อยอสโก บิดา อาจารย์ ของเยาวชนหัวหินวิทยาลัย[แก้]

นักบุญยอห์น บอสโก เกิดที่ตำบลเบคกี เมืองอัสตี ประเทศอิตาลี วันที่ 16 สิงหาคม ค.ศ 1815 ครอบครัวของท่านยากจนมาก แต่มีความซื่อสัตย์ สุจริต มีศีลธรรม มีความเชื่อ และศรัทธาเลื่อมใสในพระผู้เป็นเจ้า ท่านกำพร้าบิดาเมื่ออายุ 2 ขวบ มารดาของท่านคือคุณแม่มาร์การีตา จึงทำหน้าที่ทั้งบิดาและมารดาในเวลาเดียวกันคอยดูแลเอาใจใส่ อบรมสั่งสอนและฝึกฝนท่านให้เป็นคนอดทน เข้มแข็ง เปี่ยมด้วยความเชื่อ มีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รักความจริง ยึดมั่นในความยุติธรรม และมีความเมตตาสงสารต่อผู้ที่อยู่ในความยากจนขัดสนเสมอ

เมื่ออายุ 9 ขวบท่านได้มีนิมิตสวรรค์ ซึ่งปรากฏให้เห็นเด็กชายจำนวนมากมายพูดจาหยาบคาย และใช้กำลังชกต่อยต่อสู้กัน ท่านเองได้เข้าไปห้ามปรามแต่ไม่สำเร็จ ท่านจึงใช้กำลังชกต่อยกับเด็กเหล่านั้นด้วย ขณะนั้นเองพระมารดามารีย์และพระเยซูเจ้าทรงประจักษ์มา และสอนท่านให้ใช้ความอ่อนโยนกับเด็กเหล่านั้น แม่พระได้วางพระหัตถ์เหนือท่าน และมอบภารกิจการอบรมให้ท่านคือ การเปลี่ยนเด็กเกเรให้เป็นคนดี

               ท่านต้องเผชิญกับอุปสรรคมากมายเพื่อศึกษาเล่าเรียน และทำให้ความฝันของท่านที่จะเป็นพระสงฆ์ของพระคริสตเจ้าและสำหรับบรรดาเยาวชนที่ยากจนกลับเป็นจริง  ท่านได้รับศีล

บรรพชาเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1841 และได้เริ่มงานอภิบาลโดยการไปเยี่ยมนักโทษในคุก แม้จะได้ช่วยนักโทษหลายคนให้กลับใจ และคืนดีกับพระก่อนที่จะสิ้นชีวิต แต่ท่านรู้สึกหดหู่ใจมากที่ พวกเขาไม่มีอนาคตเพราะความผิดพลาด ท่านตระหนักว่าหากเยาวชนเหล่านี้ได้รับการอบรมดูแล อยู่ในบรรยากาศที่ดีงามชีวิตของพวกเขาคงไม่จบลงในคุกเช่นนี้ ท่านจึงได้เริ่มรวบรวมเด็กที่ยากจน และถูกทอดทิ้ง ส่งเสริมให้พวกเขาได้ศึกษาต่อ สามารถประกอบอาชีพได้ เป็นคนดีของสังคม พระสงฆ์หลายคนเยาะเย้ยการกระทำของท่าน บางคนว่าท่านเสียสติที่ลดตนไปคบกับเด็กข้างถนน เพราะ ไม่เคยมีพระสงฆ์องค์ใดทำเช่นนี้มาก่อน แม้ภารกิจจะเต็มไปด้วยอุปสรรค และความยากลำบากแต่ท่านไม่ย่อท้อ ท่านได้อบรมดูแลเด็ก ๆ ด้วยระบบป้องกันโดยใช้หลักเหตุผล ศาสนาและความรัก ชีวิตที่อุทิศตนโดยปราศจากเงื่อนไขเพื่อเยาวชน นำผลให้เยาวชนมากมายกลับเป็นพลเมืองที่สุจริต และศาสนิกชนที่ยึดมั่นในศาสนา รู้จักอุทิศตนเพื่อชุมชนและสังคม จนกระทั่งพระศาสนจักรยกย่อง ให้เป็นเยาวชนที่ดีของสังคมเช่น นักบุญดอมินิก ซาวีโอ เป็นต้น เยาวชนมากมายได้สมัครที่จะทำงานร่วมกับท่านและสานภารกิจของท่านต่อไป ท่านได้สถาปนาคณะนักบวชซาเลเซียนชาย กิจการของ ท่านเป็นที่ยอมรับจากพระศาสนจักรและสังคม และได้ขยายอย่างรวดเร็วทั้งในและต่างประเทศ


วันหนึ่งคุณพ่อบอสโกได้นิมิตว่า มีเยาวชนหญิงจำนวนมากมายที่ขาดคนดูแล พวกเขากำลังเล่นกันตามถนน ฉับพลันพระมารดามารีย์ได้ประจักษ์มา และบอกกับท่านว่า “จงเอาใจใส่พวกเขาเถิด พวกเขาก็เป็นลูกของแม่เหมือนกัน” ท่านจึงเริ่มคิดถึงโครงการที่จะจัดตั้งคณะนักบวชหญิง ซึ่งจะมีจิตตารมณ์เดียวกับคณะซาเลเซียนชายเพื่อดูแลเอาใจใส่เยาวชนหญิงที่ยากจน และถูกทอดทิ้ง คณะนักบวชนี้จะเป็นดังอนุสาวรีย์ทรงชีวิตแห่งความกตัญญูรู้คุณที่ท่านมีต่อพระมารดา พระญาณสอดส่องของ พระเป็นเจ้าได้นำท่านให้มารู้จักกับมาเรีย โดเมนิกา มัสซาแรลโล ท่านทั้งสองจึงได้ร่วมกันสถาปนาคณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์

เนื่องจากมีฆราวาสจำนวนมากมายที่สมัครใจร่วมงานกับคุณพ่อบอสโก ด้วยความเสียสละในจิตตารมณ์ซาเลเซียน ดังนั้นท่านจึงก่อตั้งคณะผู้ร่วมงานซาเลเซียนด้วย

คุณพ่อบอสโก ได้ลาจากโลกนี้ไปเมื่อวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1888 ที่กรุงตุริน ประเทศอิตาลี รวมสิริอายุได้ 72 ปี พระศาสนจักรได้แต่งตั้งท่านเป็นนักบุญเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1934 โดยสมเด็จพระสันตตะปาปา ปีโอที่ 9 และ ในปี ค.ศ. 1988 ซึ่งครบรอบร้อยปีแห่งการสิ้นชีวิตของท่านพระสันตะปาปา ยอห์น ปอลที่ 2 ได้ทรงประกาศยกย่องท่านให้เป็นบิดาและอาจารย์ของเยาวชนทั่วโลก


นักบุญดอมินิก ซาวีโอ แบบอย่างของเยาวชนของหัวหินวิทยาลัย[แก้]

ดอมินิก ซาวีโอ เกิดที่ตำบลรีวา ใกล้เมืองกีเอรี ประเทศอิตาลี เมื่อวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1842 บิดาชื่อนายคาร์โล มารดาชื่อ นางบรียีดา คำว่า "ดอมินิก" แปลว่า "ของพระผู้เป็นเจ้า" ท่านเป็นเด็กที่มีความจำดีอย่างน่าพิศวงเมื่ออายุได้สี่ขวบก็ สามารถจำบทภาวนาได้ขึ้นใจ นอกนั้นยังมีความศรัทธาในศาสนาอย่างครบครัน ทั้งยังเป็นเด็กที่มีความเคารพนบนอบ เชื่อฟังในคำอบรมสั่งสอนของบิดา มารดาทุกประการ ในวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 1849 ขณะที่มีอายุได้เจ็ดขวบ ดอมินิกก็ได้รับศีลมหาสนิทเป็นครั้งแรก วันนั้นเป็นวันที่สำคัญยิ่งในชีวิตของท่าน ในการเจริญชีวิตคริตชนอย่างสมบูรณ์ ทั้งยังได้ให้ข้อสัญญาแก่ตัวเองเพื่อเป็นหลักในการปฏิบัติตนว่า "ยอมตายดีกว่าทำบาป"

ในวัยที่เป็นนักเรียนนั้น ดอมินิกมีความขยันหมั่นเพียรมากในการศึกษาหาความรู้ ในการคบเพื่อนที่ดี ทั้งยัง มีความอดทนในการเดินทางไปโรงเรียนที่อยู่ไกลถึง 10 ไมล์ ทุกวันอีกด้วย ในวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 1854 ดอมินิกก็ได้พบกับคุณพ่อบอสโกเป็นครั้งแรก และ แล้วเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ปีเดียวกันท่านก็ได้เดินทางไปยังศูนย์เยาวชนวัลด็อกโก ของคุณพ่อบอสโกที่กรุงตุริน ณ ที่แห่งนี้ดอมินิกได้รับการอบรมสั่งสอนจากคุณ พ่อบอสโกในหนทางแห่งคุณงามความดีต่างๆและได้ปฏิบัติภารกิจอันประเสริฐนั้นอย่างดียิ่ง ทว่าอุปสรรคอันสำคัญในการดำเนินชีวิตของดอมินิก คือ สุขภาพ ที่ไม่แข็งแรง จึงจำเป็นที่จะต้องเดินทางกลับไปพักผ่อน รักษาตัวกับบิดามารดา

ดอมินิก ซาวีโอ ลาจากศูนย์เยาวชนของคุณพ่อบอสโกเมื่อวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 1857 และที่สุดได้ลาจากโลกนี้ ไปในตอนเย็นของวันที่ 9 มีนาคม ปีนั้นเอง แบบอย่างความประพฤติที่ดีงาม ความศรัทธาเลื่อมใสในศาสนาหรือกล่าวโดยสรุปว่าคุณงามความดีต่างๆที่ดอมินิก ได้ประพฤติปฏิบัตินั้น ทำให้สมเด็จพระสันตปาปา ปีโอ ที่ 11 ประกาศว่า ดอมินิก ซาวีโอ เป็นผู้น่าเคารพเพราะชีวิตของท่านเพียบพร้อมไปด้วยความบริสุทธิ์ ความ เลื่อมใสศรัทธา และการทำความดี ต่อมาในวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 1950 สมเด็จพระสันตปาปา ปีโอ ที่ 12 ได้สถาปนาท่านเป็นบุญราศีดอมินิก ซาวีโอ ขึ้นเป็นนักบุญ ดอมินิก ซาวีโอ


เกี่ยวกับโรงเรียน[แก้]

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชปฏิสันถาร กับบรรดาผู้ใหญ่ของคณะซาเลเซียน ครั้งเสด็จฯ ทอดพระเนตรการแข่งขันกีฬาฟุตบอลทหาร ณ โรงเรียนหัวหินวิทยาลัย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ปี พ.ศ. 2500  : http://image.ohozaa.com/view2/wLRMCD8YdxbsDxH0

หอวอช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม 2554 http://image.ohozaa.com/view2/wLRN6pmg2lIAwb56

รางวัลชนะเลิศการประกวดวงศ์โยทวาทิตย์ 2555 http://image.ohozaa.com/view2/wLRCskWo2Q3szA8n

การกีฬาสีภายใน http://image.ohozaa.com/view2/wLRNn4mjmLFQtT7X

งานคริสต์มาสภายนอก http://image.ohozaa.com/view2/wLRNwZLpj3nBuWra

วันวิชาการโีรงเรียน http://image.ohozaa.com/view2/wLRNMWO64amBgAUc

ลูกเสือเครือซาเลเซียนแห่งประเทศไทย http://image.ohozaa.com/view2/wLRO041kyDS3N1E6

กิจกรรมวันแม่ http://image.ohozaa.com/view2/wLROb3mtlGymBdzH

โบสถ์นักบุญเทราซา http://image.ohozaa.com/view2/wLROD3GlKAMHliwK

งานสมาคมศิษย์เก่า ราตรีผู้ปกครอง ครู หัวหินวิทยาลัย http://image.ohozaa.com/view2/wLROjcS9S2A9GjKj

ทิศทางการพัฒนาคุณภาพในอนาคต[แก้]

คณะซาเลเซียนของคุณพ่อบอสโก[แก้]

ตราคณะซาเลเซียน.jpg คณะซาเลเซียนของคุณพ่อบอสโก

โรงเรียนในเครือซาเลเซียน[แก้]

โรงเรียนเซนต์ดอมินิก

โรงเรียนดอนบอสโก กรุงเทพฯ

โรงเรียนอาชีวะดอนบอสโก บ้านโป่ง

โรงเรียนอาชีวะดอนบอสโกสุราษฏร์

โรงเรียนดอนบอสโกวิทยา อุดรธานี

โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย

โรงเรียนแสงทองวิทยา

โรงเรียนหัวหินวิทยาลัย

โรงเรียนอรุณวิทยา

โรงเรียนดอนบอสโกกัมพูชา

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงทางด้านวิชาการ[แก้]

กำลังปรับปรุงข้อมูล

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงทางด้านการเมืองการปกครอง[แก้]

พล.ท.เลิศพันธ์ วัฒนจินดา

พล.ต.ท.เดชณรงค์ สุทธิชาญบัญชา ผู้บังคับบัญชาสำนักงานงบประมาณการเงินสำนักงานตำรวจแห่งชาติ


กำลังปรับปรุงข้อมูล

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงทางด้านวงการบันเทิง[แก้]

กำลังปรับปรุงข้อมูล

อ้างอิง[แก้]

^ [หนังสืออนุสรณ์ 2540]

^ [หนังสืออนุสรณ์ 2540]

^ ซาเลเซียนสัมพันธ์

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

www.hv.ac.th

http://www.thaisdb.org/home/aboutus/%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%a7%e0%b8%a1/

Ernest, Marsh (1913). "The Salesian Society". สารานุกรมคาทอลิก. New York: Robert Appleton Company. เรียกข้อมูลวันที่ 8 เม.ย. 2554.