ผู้ใช้:Glittergelpen/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เซ็กซีนอตีบิตชี[แก้]

"เซ็กซีนอตีบิตชี"
ซิงเกิลโดยทาทา ยัง
จากอัลบั้มไอบีลีฟ
วางจำหน่าย25 กุมภาพันธ์ 2547 (2547-02-25)
สตูดิโอฮิตวิชัน (สต็อกโฮล์ม)
แนวเพลงป็อป
ความยาว3:28
ค่ายเพลง
ผู้ประพันธ์เพลง
โปรดิวเซอร์ฮิตวิชัน
ลำดับซิงเกิลของทาทา ยัง
"ผิดไหมที่ฉันไม่กลับไปรักเธอ"
(2546)
"เซ็กซีนอตีบิตชี"
(2547)
"ไอบีลีฟ"
(2547)

"เซ็กซีนอตีบิตชี" (อังกฤษ: Sexy, Naughty, Bithcy) เป็นเพลงที่บันทึกเสียงโดยนักร้องชาวไทย ทาทา ยัง สำหรับสตูดิโออัลบั้มชุดที่ห้า และสตูดิโออัลบั้มภาษาอังกฤษชุดแรกของเธอ ไอบีลีฟ (พ.ศ. 2547) วางจำหน่ายเป็นซิงเกิลนำของอัลบั้มโดยค่ายโคลัมเบียเรเคิดส์ และโซนี่มิวสิกเอ็นเตอร์เทนเมนต์ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 เพลงเขียนโดย ดาวิด เคลียเว็ต, อีวาร์ ลีซินสกี และซาแวน โคเทชา และโปรดิวซ์โดยมาร์ติน อันเคียลิอุส และเฮนริก อันเดอช็อน ภายใต้ชื่อฮิตวิชัน

มิวสิกวิดีโอของ "เซ็กซีนอตีบิตชี" ถ่ายทำที่ไทเป กำกับโดยผู้กำกับชาวไต้หวัน เคน ฟู

กิตติประกาศและบุคลากร[แก้]

กิตติประกาศปรับมาจากไลเนอร์โน้ตส์ของ ไอบีลีฟ[1]

สถานที่
  • บันทึกเสียงที่ฮิตวิชันสตูดิโอ สต็อกโฮล์ม
  • ผสมเสียงที่คาบังสตูดิโอ สต็อกโฮล์ม
บุคลากร

หมายเหตุ[แก้]

  • "เซ็กซีนอตีชีกี" (Sexy, Naughty, Cheeky) สำหรับฉบับเผยแพร่ในประเทศมาเลเซีย[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. I Believe (Thank You Edition) (CD liner notes). Tata Young. Columbia Records. 2005. 515363-3.{{cite AV media notes}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  2. Hadi, Eddino Abdul (19 May 2014). "Thai singer Tata Young bounces back after illness". The Straits Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 October 2022. สืบค้นเมื่อ 20 January 2024.

เดอะคอนเสิร์ตฟอร์บังกลาเทศ[แก้]

เดอะคอนเสิร์ตฟอร์บังกลาเทศ
ประเภทร็อก
วันที่1 สิงหาคม ค.ศ. 1971 (1971-08-01)
ที่ตั้งเมดิสันสแควร์การ์เดน นครนิวยอร์ก สหรัฐ
ผู้ก่อตั้ง

เดอะคอนเสิร์ตฟอร์บังกลาเทศ (อังกฤษ: The Concert for Bangladesh, หรือ Bangla Desh ตามการสะกดชื่อประเทศในชื่อเดิม)[1] เป็นคอนเสิร์ตการกุศลที่ก่อตั้งโดยนักกีตาร์สมาชิกเก่าของวงเดอะบีเทิลส์ จอร์จ แฮร์ริสัน และนักเล่นซีตาร์ชาวอินเดีย รวี ศังกร การแสดงจัดขึ้นสองรอบเมื่อเวลา 14:30 น. และ 20:00 น. ของวันอาทิตย์ที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1917 ณ เมดิสันสแควร์การ์เดน นครนิวยอร์ก เพื่อสร้างความรับรู้ในระดับสากลและระดมทุนช่วยเหลือสำหรับผู้ลี้ภัยจากปากีสถานตะวันออก หลังจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ระหว่างสงครามปลดปล่อยบังกลาเทศ คอนเสิร์ตได้รับการเผยแพร่เป็นอัลบั้มบันทึกการแสดงสดในรูปแบบบ็อกซ์เซ็ตบรรจุสามแผ่นเสียงที่ขายดีที่สุด และภาพยนตร์สารคดีคอนเสิร์ตของแอปเปิลฟิมส์ ซึ่งเปิดตัวในโรงภาพยนตร์ช่วงฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1972

เดอะคอนเสิร์ตฟอร์บังกลาเทศเป็นการแสดงเพื่อการกุศลครั้งแรกที่จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่[2] และประกอบด้วยซูเปอร์กรุ๊ปของผู้แสดงหลัก ได้แก่ แฮร์ริสัน, สมาชิกเก่าร่วมวงเดอะบีเทิลส์ ริงโก สตาร์, บ็อบ ดิลลัน, เอริก แคลปตัน, บิลลี เพรสตัน, ลีออน รัสเซล และวงแบดฟิงเกอร์ พร้อมด้วยผู้แสดงที่สืบเชื้อสายมาจากชาวบังกลาเทศได้แก่ รวีและอาลี อักบัร ข่าน เปิดการแสดงด้วยดนตรีคลาสสิกอินเดีย การแสดงทั้งสองรอบมีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 40,000 คน และทำยอดจำหน่ายบัตรได้เกือบ 2.5 แสนดอลลาร์สหรัฐสมทบกองทุนช่วยเหลือบังกลาเทศ ภายใต้การกำกับดูแลของกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (ยูนิเซฟ)

หลังจากการรวบรวมนักดนตรีเป็นไปอย่างราบรื่น แฮร์ริสันเผชิญกับความยากลำบากในการโน้มน้าวให้อุตสาหกรรมการบันทึกเสียงมอบสิทธิการแสดงบนเวทีร่วมกันของผู้แสดง และรายได้จากอัลบั้มและภาพยนตร์หลายล้านดอลลาร์สหรัฐถูกยึดเข้าบัญชีกลางของหน่วยงานจัดเก็บภาษีอากรของสหรัฐ (ไออาร์เอส) เป็นเวลาหลายปี ถึงกระนั้นคอนเสิร์ตก็ได้รับการยอมรับว่าเป็นโครงการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมที่ประสบความสำเร็จและมีอิทธิพลมากที่สุด จากการสร้างความรับรู้และกองทุนขนาดใหญ่ อีกทั้งยังเป็นแบบอย่างและแรงบันดาลใจสำคัญแก่โครงการอื่นตามมาเช่น คอนเสิร์ตไลฟ์เอด[3][4][5]

ใน ค.ศ. 1985 รายได้จากอัลบั้มบันทึกการแสดงสดและภาพยนตร์ คอนเสิร์ตฟอร์บังกลาเทศ ประมาณ 12 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ถูกส่งมอบให้กับบังกลาเทศ[6] และยอดจำหน่ายอัลบั้มบันทึกการแสดงสดและดีวีดีของภาพยนตร์ยังคงเกิดประโยชน์ต่อกองทุนจอร์จ แฮร์ริสันเพื่อยูนิเซฟ (The George Harrison Fund for UNICEF) รวีได้กล่าวถึงความสำเร็จอย่างล้นหลามของคอนเสิร์ตในหลายทศวรรษต่อมาว่า "แล้ววันหนึ่งโลกทั้งใบได้รู้ถึงชื่อของบังกลาเทศ มันเป็นโอกาสมหัศจรรย์"[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. Harry 2003, p. 135.
  2. The Editors of Rolling Stone 2002, p. 43.
  3. Annan, Kofi; Lyons, Charles J. (2005). "Interviews with Charles J. Lyons and Kofi Annan". The Concert for Bangladesh (Interview). London: Apple Corps.
  4. The Editors of Rolling Stone 1995, p. 419.
  5. Rodriguez 2010, p. 51.
  6. Johnston, David (2 June 1985). "Bangladesh: The Benefit That Almost Wasn't". Los Angeles Times. ISSN 2165-1736. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2022.
  7. Harrison 2011, p. 286.

บรรณานุกรม[แก้]

  • The Editors of Rolling Stone, บ.ก. (1995). The New Rolling Stone Encyclopedia of Rock & Roll. New York, NY: Rolling Stone Press/Fireside. ISBN 0-6848-1044-1.
  • The Editors of Rolling Stone, บ.ก. (2002). Harrison. New York, NY: Rolling Stone Press/Simon & Schuster. ISBN 0-7432-3581-9.
  • Harrison, Olivia (2011). George Harrison: Living in the Material World. New York, NY: Abrams. ISBN 978-1-4197-0220-4.
  • Harry, Bill (2003). The George Harrison Encyclopedia. London: Virgin Books. ISBN 978-0753508220.
  • Rodriguez, Robert (2010). Fab Four FAQ 2.0: The Beatles' Solo Years, 1970–1980. Milwaukee, WI: Backbeat Books. ISBN 978-1-4165-9093-4.