ผู้ใช้:Energy1991/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการจัดตั้งโดยพระราชกฤษฎีกา เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2534 ด้วยนโยบายของมหาวิทยาลัยที่เน้นความสำคัญของงานวิจัยเทียบเท่าการเรียนการสอน ประกอบกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาพลังงาน อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากวิกฤติพลังงานโลก เมื่อปี พ.ศ. 2516 และ พ.ศ. 2522 โดยเห็นว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยควรมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและวางแผนทางด้านพลังงานสำหรับประเทศทั้งในระยะสั้นและระยะยาว จึงได้จัดตั้งคณะกรรมการปฏิบัติการภารกิจด้านการวิจัยพลังงานเพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางการวิจัยและส่งเสริมให้เกิดการวิจัยด้านพลังงานขึ้น ซึ่งต่อมาได้จัดตั้งเป็น “ศูนย์วิจัยและอบรมพลังงาน” ขึ้นในปีพ.ศ. 2525 และได้ยกฐานะขึ้นเป็น “สถาบันวิจัยพลังงาน” ในปี พ.ศ. 2534[1]

กิจกรรมหลักที่สถาบันวิจัยพลังงานดำเนินการ ได้แก่ งานวิจัยเชิงนโยบายด้านพลังงานทั้งเทคโนโลยี พลังงานเชิงพาณิชย์และพลังงานทดแทนที่สอดคล้องกับศักยภาพของประเทศ รวมถึงงานบริการวิชาการด้านประสิทธิภาพพลังงานและการอนุรักษ์พลังงาน โดยกิจกรรมส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานนานาชาติ รวมถึงพันธมิตรมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ

วิสัยทัศน์และพันธกิจ[แก้]

วิสัยทัศน์[แก้]

สถาบันวิจัยพลังงานเป็นเสาหลักของแผ่นดินทางด้านพลังงาน เป็นแหล่งอ้างอิงทางด้านพลังงานในระดับภูมิภาค เพื่อเป็นกำลังหลักสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [2]

พันธกิจ[แก้]

สถาบันวิจัยพลังงานได้กำหนดพันธกิจการสนับสนุนการวิจัย การเรียนการสอน การบริการวิชาการ และ การพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศดังต่อไปนี้

  1. มุ่งเน้นวิจัยและพัฒนาและรักษาความเป็นเลิศทางด้านนโยบายพลังงาน พลังงานทดแทน และ การอนุรักษ์พลังงาน
  2. พัฒนาศักยภาพเป็นแหล่งอ้างอิงทางด้านพลังงานในระดับภูมิภาค และนำองค์ความรู้ทางด้านพลังงานที่สั่งสมไว้ออกเผยแพร่สู่สังคมอย่างสม่ำเสมอ
  3. เป็นเสาหลักร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ข้อมูลที่ถูกต้องทันทีที่สังคมมีปัญหาทางด้านพลังงาน

งานวิจัยเด่นที่ผ่านมา[แก้]

ภาพอนาคตและแผนพัฒนาพลังงาน[แก้]

สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบทบาทหน้าที่ติดตามสถานการณ์พลังงาน และ ศึกษาวิจัยเพื่อฉายภาพอนาคตระยะยาวเกี่ยวกับประเด็นที่กำลังเป็นที่สนใจ และพลวัตที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละ ช่วงเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 จนถึงปัจจุบัน โดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้แก่ ความผันผวนของเศรษฐกิจ โลกและราคาพลังงาน ประเด็นด้านการเมือง รวมทั้งปัญหาโลกร้อนและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม การจำลองภาพอนาคตพลังงานเป็นหนึ่งในศาสตร์ ที่หลายภาคส่วนทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน นักวิชาการทั้งหลายเล็งเห็นถึงความสำคัญ แม้ว่าการคาดการณ์อนาคตจะไม่มีใครสามารถบ่งชี้ได้อย่างชัดเจน หากแต่ถ้าสามารถวิเคราะห์ถึงเหตุปัจจัยที่อาจส่งผลต่อเหตุการณ์อนาคต ความเชื่อมโยงของปัจจัยต่างๆ รวมถึง ความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้น ก็จะสามารถทำให้สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น เครื่องมือที่ใช้สำหรับการจัดทำภาพอนาคตพลังงานไทยคือแบบจำลองสมดุลพลังงาน (Energy accounting model) ในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลการใช้รายสาขาและการจัดหาพลังงานทั้งระบบตลอดห่วงโซ่อุปทานของเชื้อเพลิงแต่ละประเภท ได้แก่ ปิโตรเลียม ไฟฟ้า ถ่านหิน และพลังงานทดแทน

พลังงานทดแทนและเทคโนโลยีพลังงานทางเลือกอื่นๆ[แก้]

สืบเนื่องจากประเทศไทยพึ่งพาพลังงานจากเชื้อเพลิงปิโตรเลียมทั้งภาคผลิตไฟฟ้าและขนส่ง และมีแนวโน้มต้องนำเข้าเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ประเทศไทยขาดความมั่นคงด้านพลังงาน จึงจำเป็นต้อง มีการวิจัยพัฒนาพลังงานทดแทนที่สอดคล้องกับศักยภาพของไทย ซึ่งได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานชีวภาพ โดยเฉพาะก๊าซชีวภาพและพลังงานจากขยะ ตลอดจนเทคโนโลยีพลังงานทางเลือกอื่นๆ เช่น เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด เชื้อเพลิงจากแหล่ง Unconventional Sources เช่น Oil Shale, Tar Sand, Shale Gas เป็นต้น งานวิจัยด้านพลังงานทดแทนของสถาบันวิจัยพลังงาน มุ่งเน้น การศึกษาวิเคราะห์ มาตรการ กลไก และ ระบบจัดการที่ทำให้เกิดการนำพลังงานทดแทนมาใช้มากขึ้น สถาบันวิจัยพลังงานได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับภาครัฐ ทั้งให้คำปรึกษาและความเห็นเกี่ยวกับมาตรการการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน เช่น การกำหนดอัตรารับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ feed-in tariff และการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าเองใช้เองโดย ผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรม

  1. "ERI". www.eri.chula.ac.th.
  2. "ERI". www.eri.chula.ac.th.