ผู้ใช้:Chantraphin/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ชื่อพฤกษศาสตร์ Capparis flavicans Kurz ชื่อวงศ์ CAPPARIDACEAE ชื่ออื่น วัวเลีย (อุบลราชธานี), ตะครอง (นครศรีธรรมราช), ทะลุ่มอิด (นครสวรรค์), งวงช้าง(อุดรธานี), หนามนมวัว, โกโรโกโส, หนามเกาะไก่(นครราชสีมา), ไก่ให้(พิษณุโลก), กะอิด(ราชบุรี), ก่อทิง(ชัยภูมิ), กระโปรงแจง(สุโขทัย), กระจิก(ภาคกลาง), งัวเลีย (ขอนแก่น) ลักษณะ งัวเลีย เป็นไม้พุ่มถึงยืนต้นขนาดเล็กแตกกิ่งก้านสาขา เล็กเรียว ตามลำต้นมีหนามแหลมยาว 1-3 มิลลิเมตร และมีขนสีน้ำตาลปกคลุมอยู่ ลำต้นสูง 2-10 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่ปลายใบมนหรือเว้า มีติ่งเล็กๆโคนใบมน ขอบใบเรียบ เนื้อใบหนานุ่ม พื้นใบสีเขียว กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 1.5-3 เซนติเมตร ออกดอกเป็นดอกเดี่ยว ตามซอกใบของกิ่งอ่อน ดอกมีสีเหลืองกลีบดกเป็นรูปมนรียาว 8-9 มิลลิเมตร กว้าง 4 มิลลิเมตร ด้านนอกตรงปลายกลีบจะมีขนอ่อนปกคลุม เกสรกลางดอกมีสี เหลืองอมเขียว ก้านดอกยาวประมาณ 1-3 เซนติเมตร ผล รูปมนหรือรีเล็กน้อย เปลือกหนาและเรียบ ผลสีแดงหรือสีส้มมีขนสีขาวคลุมทั้งผล ภายในมีเมล็ดขนาด 3-7 มิลลิเมตร และผลโตประมาณ 2.5-3.5 เซนติเมตร เมล็ดมีสีเหลือง ส่วนที่ใช้งาน เนื้อไม้และใบ สรรพคุณ เนื้อไม้ โดยการแกะเอาเนื้อไม้ดิบหรือตากแห้งก็ได้ นำมาบดเป็นผงทำให้เป็นควันใช้สูดแก้ อาการวิงเวียนศีรษะ ใบ มีประโยชน์สำหรับผู้ที่คลอดลูกแต่มีน้ำนมไม่มาก หรือมีความต้องการที่ขับน้ำนมออก ก็กินใบงัวเลียนี้ซึ่งเป็นยาขับน้ำนมได้ดี การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ชอบขึ้นอยู่ในดินทราย หรือดินหินในระดับต่ำ ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ถิ่นที่พบ : มักจะพบอยู่ตามป่าดงดิบ ป่าละเมาะ ป่าเต็งรัง <พิสุทธิพร ฉ่ำใจ. 2552. สมุนไพร สรรพคุณ และประโยชน์เพื่อการนำไปใช้. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ต้นธรรม.><กรมป่าไม้. 2555. พืชสมุนไพรบำรุงสุขภาพแม่และเด็ก โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.>