ผู้ใช้:Chanonzahazard/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การปกครองประเทศอิตาลี

  การเมืองการปกครอง
    รูปแบบการปกครอง
          ประเทศอิตาลีมีการปกครองเป็นรูปแบบสาธารณรัฐประชาธิปไตยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ และ เป็นประเทศที่ได้เข้าร่วมกลุ่มสหภาพ EU มีเมืองหลวง คือ กรุงโรม ใช้ภาษาอิตาลีเป็นหลัก ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์คาทอลิก ซึ่งมีองค์พระสันตปะปาแห่งนครรัฐวาติกัน
   [1] (2551)การศึกษาดูงานรัฐสภาและการปกครองส่วนท้องถิ่น วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 51-53. 
         [2]นางสาวรัศมี อริยะสุนทร (2546) สภาแห่งสาธารณรัฐอิตาลี และ ระบบศาลอิตาลี วารสารธนารักษ์ 47-48.
          [3](2551)การศึกษาดูงานรัฐสภาและการปกครองส่วนท้องถิ่น วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 51-53. 
             [4]นางสาวรัศมี อริยะสุนทร (2546) สภาแห่งสาธารณรัฐอิตาลี และ ระบบศาลอิตาลี วารสารธนารักษ์ 48-49.
             [5]https://na3579.wordpress.com/2012/09/20/94/
    [6](2551)การศึกษาดูงานรัฐสภาและการปกครองส่วนท้องถิ่น วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 53-54.
              
         [7]นางสาวรัศมี อริยะสุนทร (2546) สภาแห่งสาธารณรัฐอิตาลี และ ระบบศาลอิตาลี วารสารธนารักษ์ 51.
  1. ประวัติความเป็นมาของรัฐสภา เมื่อกษัตริย์ Charles Albert de Savoie - Carigana ขึ้นครองราชย์ในปี 1831 ได้เกิดความไม่สงบภายในประเทศและมีความขัดแย้งทางการเมืองสูงมาก รวมทั้งในดินแดนอื่นที่อยู่ในการปกครองของอิตาลี ดังนั้นเพื่อลดกระแสการก่อการปฎิวัติ พระองค์จึงต้องปกครองประเทศด้วยความยุติธรรม ตรงไปตรงมา ดังนั้นในวันที่ 18 สิงหาคม ปี 1831 หลังจากพระองค์ครองราชย์ได้สี่เดือน จึงได้จัดตั้ง "สภาที่ปรึกษาแห่งรัฐ" (Le Conseil d ETAT) โดยมีบทบาท 2 ประการ คือ 1.ช่วยเหลือให้คำปรึกษาด้านกฎหมายให้รัฐบาล 2.ทำหน้าที่เป็นศาลปกครอง รับผิดชอบในการตัดสินคดีต่างๆ ที่พิพาทเกี่ยวกับประโยชน์ทางกฎหมายระหว่าง รัฐ กับ เอกชน และบางกรณีก็จะล่วงล้ำไปพิจารณาข้อพิพาทกฎหมายทางแพ่ง บ้าง สำหรับในส่วนที่ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษารัฐบาลได้มีบทบาทสำคัญ ทางด้านกฎหมาย การเงินการคลังส่วนที่เกี่ยวกบฐานะของประมาณการรายได้และรายจ่ายของรัฐ การจัดเก็บภาษี และการชำระภาษี การก่อหนี้สาธารณะ กฎเกณฑ์ด้านภาษีศุลกากร อัตราแลกเปลี่ยนเงินและรวมถึงการให้ความเห็นกิจการต่างประเทศ การประกาศสงคราม เป็นต้น ถือได้ว่า สภาที่ปรึกษาแห่งรัฐอิตาลี ขณะนั้นทรงอิทธิพลมาก และกษัตริย์ย่อมรับมาก ขณะนั้นประเทศอิตาลีปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ดังนั้น การจัดว่า สภาที่ปรึกษาแห่งรัฐ จึงอยู่ในฐานะเทียบเท่า รัฐมนตรีของรัฐบาล หลังจากนั้นได้มีการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายครั้ง และ ต่อมา ได้มีการรับรองหลักการสำคัญอย่างหนึ่งในสังคมอิตาลี คือ การรับรองให้ความคุ้มครองแก่เอกชนจากการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายปกครอง จึงได้มีการร้องทุกข์ถวายฎีกาต่อกษัตริย์เป็นกรณีพิเศษ ดังนั้นราวปี 1859 จึงได้กำหนดหน้าที่ของสภาที่ปรึกษาแห่งรัฐทำหน้าที่ให้คำปรึกษา แนะนำร้องทุกข์
  2. โครงสร้างสภาแห่งรัฐของอิตาลีประกอบด้วย 1.สภาที่ปรึกษาแห่งรัฐ มีจำนวนสมาชิก 88 คน โดยผู้ที่จะเข้ามาสู่ตำแหน่งสภาที่ปรึกษา จำนวนหนึ่งในสี่ส่วนมาจากคณะรัฐบาลแต่งตั้ง หนึ่งในสี่ส่วนมาจากการสอบแข่งขัน และที่เหลือครึ่งหนึ่งหรือสองในสี่ส่วนมาจาก ตุลาการศาลปกครอง โดยทำหน้าที่ ให้ความเห็นทางกฎหมาย 3 แผนก และแผนกพิจารณาคดีปกครอง 3 แผนก โดยเสนอความเห็นต่อประธานคณะรัฐมนตรี 2.อำนาจหน้าที่ด้านคดีปกครอง พิจารณากรณีการ - การเพิกถอนคำสั่งทางการปกครองและนำมาฟ้องร้องเป็นคดีปกครอง - การฟ้องคดีเกี่ยวกับการรับราชการ - การให้สัมปทานในทรัพย์สินหรือการให้บริการ - การยกเลิกสิทธิบัตรทางการค้า - การร้องทุกข์เกี่ยวกับการกำหนดผังเมือง - การออกใบอนุญาตก่อสร้าง - การฟ้องคดีเกี่ยวกับมาตราการทางปกครอง (นอกเหนือจากนี้อยู่ในเขตอำนาจการพิจารณาของศาลยุติธรรม) 3.อำนาจหน้าที่ในการให้ความเห็นทางกฎหมาย ให้ความเห็นทางกฎหมายในเรื่องการร่างกฎหมายลำดับรอง ที่ประธานาธิบดี หรือ รัฐมนตรีจะประกาศใช้ ร่างประมวลกฎหมายสัญญาแบบความตกลงหรือสัญญาของรัฐบาลเรื่องร้องทุกข์ที่ยื่นต่อประธานาธิบดี ร่างพระราชบัญญัติและการกำหนดแบบแผน
  3. บทบาทและอำนาจหน้าที่ของรัฐสภา 1.มีอำนาจในการอนุมัติร่างกฎหมายโดยทั้ง 2 สภาจะมีอำนาจเท่ากัน หากสภาใดสภาหนึ่งไม่อนุมัติไม่เห็นชอบร่างกฎหมายนั้นจะตกไป 2.การควบคุมของรัฐสภา ต่อฝ่ายบริหารจะกำหนดให้รัฐมนตรีต้องเข้าประชุมพิเศษทุกครั้งและในกรณีที่เป็นเรื่องข้อเสนอให้รัฐบาลต้องทำหรือไม่ให้ทำ ถ้ารัฐสภาลงมติเป็นประการใด รัฐบาลก็ต้องทำตามมตินั้น 3.สมาชิกสภาทุกคน มีสิทธิออกเสียงรับรองทุกครั้งตลอดวาระที่ดำรงตำแหน่ง 4.สำหรับการพิจารณากฎหมายว่าด้วยงบประมาณประจำปีของรัฐสภาจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมมาธิการซึ่งเป็นคณะกรรมการที่มีความสำคัญโดยจะมีองค์ประกอบของบุคคลที่มาจากการเสนอของฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน และ ฝ่ายกรรมาธิการประจำของรัฐสภา รูปแบบรัฐสภาอดีต รัฐสภาของอิตาลีในอดีตได้ถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1861 โดยตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ ก่อนที่จะย้ายเข้ามาที่กรุงโรมในภายหลัง ซึ่งเดิมประเทศอิตาลีตั้งเมืองหลวงอยู่ที่เมือง Florence และ มีรัฐสภาอยู่ที่ปราสาท Duke of Florence ประกอบด้วย 2 สภา คือ 1.สภาสูง หรือ วุฒิสภา (Senate) ซึ่งมาจากการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์ โดยคัดเลือกมาจากคนทั้งหมด 21 ประเภท เช่น บุคคลที่มาจากด้านการฑูต นักวิชาการ เจ้าของที่ดิน หรือ วุฒิสภาเก่า 2.สภาผู้ช่วย (DEputy Chamber) ซึ่งเริ่มแรกเลยทีเดียว ผู้ที่เสียภาษีและผู้ที่อ่านออกเขียนได้เท่านั้น (ประมาณ 2%) ที่จะเป็นผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งได้ ส่วนผู้ที่ไม่เสียภาษีก็จะไม่มีสิทธิในการเลือกตั้ง (์No representtation without taxation) จนกระทั่ง ปี 1882 ประชาชนถึงมีสิทธิออกเสียงมากขึ้น เป็น 8% และในปี 1912 จึงกำหนดให้คนอายุ 30 ปีขึ้นไปจึงมีสิทธิออกเสียงได้ (ส่วนผู้หญิงกว่าจะมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งได้ ต้องรอถึงปี 1946) ดังนั้นในสมัยที่เริ่มต้นที่มีการรวมตัวของรัฐต่างๆ เข้าเป็นประเทศ รัฐสภาจึงมีอำนาจและบทบาทมากกว่าคณะบริหาร (ฝ่ายบริหาร) และ โดยสภาพจึงเป็นองค์กรของพระมหากษัตริย์ในการบริหารประเทศ
  4. รูปแบบศาลในประเทศอิตาลี ระบบศาลปกครองของประเทศอิตาลี มีระบบศาล 2 ชั้น ประกอบด้วย ศาลชั้นต้นประจำแคว้นต่างๆ รวมทั้งหมด 20 แคว้น (ศาล) โดยมี Consiglio di STATO ทำหน้าที่เป็นศาลปกครองสูงสุด การฟ้องคดีจะต้องใช้ทนายความ และต้องยื่นฟ้องต่อศาลชั้นต้น โดยเฉลี่ยจะมีการฟ้องคดี 80,000 คดี และ จะมีคดีที่ศาลไม่รับฟ้องร้อยละ 50 จะมีคดีผ่านถึงขั้นอุทธรณ์ในศาลปกครองสูงสุดประมาณร้อยละ 15 ส่วนเงื่อนไขการฟ้องคดี การดำเนินกระบวนวิธีพิจารณาและอื่นๆ เกี่ยวกับการพิจารณาของศาลผู้เขียนขออนุญาตไม่นำเสนอเพราะเป็นเรื่องเฉพาะของศาลที่ปฎิบัติ
  5. ประธานาธิบดีอิตาลี ประธานาธิบดีอิตาลี คือจอร์โจ นาโปลีตาโนประธานาธิบดีคนที่ 11 แห่งสาธารณรัฐอิตาลีดำรงตำแหน่งมาแล้วสองสมัยโดยสมัยแรกได้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ค.ศ.2006และครบวาระในปี ค.ศ. 2013 (ประธานาธิบดีของอิตาลีดำรงวาระ 7 ปี) ต่อมาหลังจากการเลือกตั้งทั่วไปของอิตาลีในปี ค.ศ.2013 จอร์โจ นาโปลีตาโนก็ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีต่ออีกหนึ่งสมัยโดยในสมัยแรกนั้น เขาขึ้นดำรงตำแหน่งต่อจากประธานาธิบดีการ์โล อาเซลโย ชัมปี อิตาลีมีประธานาธิบดีคนแรกคือ เอนรีโก เด นีโกลา ส่วนนายกรัฐมนตรีในขณะนี้คือ มารีโอ มอนตี ขึ้นดำรงตำแหน่งตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2011
  6. การปกครองส่วนท้องถิ่นอิตาลี โครงสร้างการบริหารการปกครองของประเทศสาธารณรัฐอิตาลี จะมีรัฐบาลกลางและจะแบ่งออกเป็นแคว้น ภายในแคว้นก็จะประกอบด้วยจังหวัด (คล้ายราชการส่วนภูมิภาคของไทย) และแต่ละจังหวัดก็จะมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายหน่วย ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเทศบาล เรียกว่า Commune ในทุกระดับของการปกครอง จะมีโครงสร้างเป็นคณะผู้บริหาร และ สภาท้องถิ่น ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชนในเขตท้องที่นั้นๆโดยตรง (มิใช่การบริหารแบบส่วนภูมิภาค) จึงมีอำนาจและอิสระพอสมควรในการตัดสินใจในการบริหาร แบ่งทั้งหมด 20 แคว้น ได้แก่ อาบรุซโซ ออสตาวัลเลย์ ปูลยา บาซีลากาตา กาลาเบรีย กัมปาเนีย เอมิเลีย-โรมัญญา ฟรีอูลี-เวเนเซียจูเลีย ลาซิโอ ลิกูเรีย ลอมบาร์ดี มาร์เก โมลีเซ ปิเอมอนเต ซาร์ดิเนีย ซิชิลี ทัสกานี เตรนติโน-อัลโตอาดีเจ อุมเบรีย เวเนโต
  7. นครรัฐวาติกัน เป็นรัฐอิสระปกครองโดยสังฆราชซึงมีองค์พระสันตะปะปาเป็นผู้ดูแล เป็นคริสต์จักร โรมันคาธอริค มีเนื้อที่ประมาณ 43 เอคตาร์ ตั้งอยู่ใจกลางกรุงโรม นครวาติกันมีประชากรไม่มากส่วนใหญ่เป็นพระนักบวช จุดเด่นที่สุดบริเวณภายนอกด้านหน้า จะพบอาคารและแสดงเสาสไตล์โรมันของปีกทั้ง 2 ด้าน โดยตรงกลางจะเป็นตัวมหาวิหารเซ็นต์ปิเตอร์ หรือเพียสโต มหาวิหารเซนต์ปิเตอร์ เป็นวิหารที่ใหญ่ที่สุดของโลกโดยผลงานการออกแบบ ซึ่งเป็นศิลปะ การออกแบบตกแต่งโดย ศิลปินเอกของโลก "ไมเคิลแองเจลโล" กับ "บอบอนี่" ซึ่งเป็นศิลปินเอกของโลกทั้ง สองท่าน ได้บรรจงตกแต่งอย่างสวยงาม