ผู้ใช้:Buddhadhamma

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระมหาเจดีย์มหารัชมงคล

ข้อความขนาดอักษรใหญ่[แก้]

<gallery>

ไฟล์:Http://www.phasornkaew.org/pic/news/pt/pn01.jpg


ไฟล์:Http://www.watpaknam.org/userfiles/images/upload patpong/thawora/chedi.jpg


ประวัติพระมหาเจดีย์มหารัชมงคล


ไฟล์:Http://jarik-highland.com/book/book iss001/isuse001 files/image043.jpg จารึกพระมหาเจดีย์มหารัชมงคล

ศุภมัสดุพระพุทธศาสนายุกาล จำเดิมแต่วันปรินิพพานแห่งองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นล่วงแล้วได้ ๒๕๔๗ พรรษา จ.ศ. ๑๓๖๖ ร.ศ. ๒๒๓ สัมฤทธิศก ลุถึงวันศุกร์ที่ ๒๗ สิงหาคม ตรงกับวันขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๙ เวลา ๐๙.๕๙ น. เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (นามเดิม ช่วง นามสกุล สุดประเสริฐ นามฉายา วรปุญฺโญ วิทยฐานะ ป.ธ. ๙ ) เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ประธานคณะพระธรรมจาริก เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ แม่กองบาลีสนามหลวง กรรมการมหาเถรสมาคม คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช วัดปากน้ำ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร เป็นประธาน พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร และพุทธศาสนิกชนเป็นจำนวนมาก ได้ร่วมกันประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์พระมหาเจดีย์มหารัชมงคล เป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมผสมทรงกลม มีฐาน ๙ ชั้น มีรูปทรงที่แตกต่างจากเจดีย์โดยทั่วไป เป็นการผสมผสานระหว่างศิลปะยุครัตนโกสินทร์กับศิลปะยุคล้านนาเข้าด้วยกัน โดยที่ตอนล่างตั้งแต่ส่วนกลางลงมาถึงฐานพระมหาเจดีย์เป็นศิลปะยุครัตนโกสินทร์ ตอนบนตั้งแต่ส่วนกลางขึ้นไปถึงยอดพระมหาเจดีย์ เป็นศิลปะยุคล้านนา ซึ่งมีต้นแบบมาจากเจดีย์วัดโลกโมฬี จังหวัดเชียงใหม่ สูงจากฐานถึงยอด ๘๐ เมตร กว้าง ๕๐x๕๐ เมตร ส่วนปลียอดพระมหาเจดีย์นี้หุ้มด้วยทองคำหนัก ๑๐๐ กิโลกรัม โดยมีวัตถุประสงค์แห่งการสร้าง เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ แห่งพระบรมจักรีวงศ์ กรุงรัตนโกสินทร์ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในมงคลวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๗๒ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗ และเพื่อบูชาพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงพ่อวัดปากน้ำ

         พระมหาเจดีย์มหารัชมงคลนี้  สร้างแล้วเสร็จและประกอบพิธีสมโภชในปี  พ.ศ. ๒๕๕๕  ใช้งบประมาณการก่อสร้าง  ๓๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท  (สามร้อยล้านบาท)  มีเจ้าพระคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์  เป็นประธานจัดสร้าง  มีอาจารย์ตรีธา  เนียมขำ  แม่ชีธัญญาณี  สุดเกษ  ฝ่ายจัดหาทุน  มีอาจารย์กี  ขนิษฐานันท์  เป็นสถาปนิกผู้ออกแบบ  มีอาจารย์วิวัฒน์  ธรรมาภรณ์พิลาส  เป็นวิศวกร  มีพระวิเชียรกวี (พุ่ม อคฺคธมฺโม ป.ธ.๔, น.ธ.เอก)  ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ  และคุณดำเกิง  จินดาหรา  ไวยาวัจกรวัดปากน้ำ  เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง

ผู้เขียนคำจารึก : พระธรรมปัญญาภรณ์ (สุชาติ ธมฺมรตโน ป.ธ. ๙) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ


ไฟล์:Http://www.watpaknam.org/userfiles/images/upload patpong/thawora/dj53.jpg


นามพระมหาเจดีย์มหารัชมงคล

คำว่า พระมหาเจดีย์มหารัชมงคล เป็นนามที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อเจ้าพระคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ได้ตั้งขึ้น โดยได้ให้ความหมายไว้ว่า

คำว่า “มหารัช” แปลว่า “แผ่นดินที่ยิ่งใหญ่” กล่าวคือรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ประเทศชาติพระศาสนาและประชาชนได้อย่างยิ่งใหญ่ไพศาล อีกทั้งความหมายหนึ่งยังหมายถึงนามสมณศักดิ์ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อเจ้าพระคุณสมเด็จฯ อีกด้วย

คำว่า “มงคล” มาจากราชทินนามของ “พระมงคลเทพมุนี” สมณศักดิ์หลวงพ่อวัดปากน้ำ ผู้เทิดทูนพระพุทธศาสนา มหาปูชนียาจารย์ ผู้เผยแผ่วิชชาธรรมกาย

ไฟล์:Http://www.watpaknam.org/userfiles/images/upload patpong/thawora/chedi 0142.jpg



ประวัติความเป็นมา วัดปากน้ำสร้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีโบราณสถานและโบราณวัตถุที่เป็นศิลปะสมัยอยุธยามากมาย ตามประวัติเคยกล่าวไว้ว่า “ภายในกำแพงแก้วพระอุโบสถมีพระเจดีย์ถึง ๒๒ องค์ รอบพระวิหารก็มีพระเจดีย์นับสิบองค์”

สมเด็จพระวันรัต (ปุ่น ปุณฺณสิริ) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม รักษาการเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ อยู่ประมาณ ๖ ปี นับแต่หลวงพ่อวัดปากน้ำมรณภาพ เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๒ ได้บันทึกไว้ว่า “..ระยะนั้นได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดปากน้ำ แต่ช่างไม่มีความชำนาญเรื่องการอนุรักษ์โบราณวัตถุและขัดสนด้วยเรื่องของปัจจัยในการดูแลรักษา อีกทั้งเจดีย์ส่วนใหญ่ก็ชำรุดทรุดโทรมมาก จึงจำเป็นต้องรื้อออกเสียทั้งหมด..” หลวงพ่อเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นนักอนุรักษ์ศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม จึงบ่นเสียดายมาตราบเท่าทุกวันนี้

ไฟล์:Http://www.watpaknam.org/userfiles/images/2554/54 Jan/IMG 0741.jpg



“พระมหาเจดีย์มหารัชมงคล” สูง ๘๐ เมตร กว้าง ๕๐ เมตร ยาว ๕๐ เมตร เจ้าพระคุณหลวงพ่อเจ้าพระคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ได้เป็นประธานประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เวลา ๐๖.๐๙ น.

จากนั้นได้มีการดำเนินการก่อสร้างโดยมี ศาสตราจารย์กี ขนิษฐานันท์ เป็นสถาปนิก อาจารย์วิวัฒน์ ธรรมาภรณ์พิลาส เป็นวิศวกร พระวิเชียรกวี (พุ่ม อคฺคธมฺโม) และนายดำเกิง จินดาหรา ไวยาวัจกรวัดปากน้ำ เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง


ไฟล์:Http://www.watpaknam.org/userfiles/images/2554/54 Jan/IMG 1016.jpg

วัตถุประสงค์ในการสร้างพระมหาเจดีย์มหารัชมงคล ในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ นับเป็นปีอันเป็นศุภวาระมงคลของพสกนิกรชาวไทย เป็นปีที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๖ รอบ ๗๒ พรรษา ดังนั้น พระเดชพระคุณหลวงพ่อเจ้าพระคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ ป.ธ.๙) เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ จึงมีความดำริที่จะสร้างอนุสรณ์สถานเฉลิมพระเกียรติ หลังจากที่ได้พัฒนาวัดปากน้ำมาจนครบแทบทุกด้านแล้วจึงดำริที่จะสร้างเจดีย์ขนาดใหญ่โดยมี

ไฟล์:Http://www.watpaknam.org/userfiles/images/upload patpong/thawora/jd 52.jpg

วัตถุประสงค์ในการสร้างดังนี้ ๑. เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และสังฆบูชา ๒. เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจพระบรมราชินีนาถ ๓. เพื่อบูชาพระคุณพระมงคลเทพมุนี หลวงพ่อวัดปากน้ำ ผู้เป็นมหาปูชนียาจารย์ ๔. เพื่อเป็นอนุสรณ์สถาน เจริญศรัทธาของพุทธศาสนิกชน ๕. เพือเชิดชูศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมไทยอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติ ให้เป็นสมบัติของแผ่นดินสืบไป


ต้นแบบของพระมหาเจดีย์มหารัชมงคล

ไฟล์:Http://www.watpaknam.org/userfiles/images/upload patpong/thawora/chedi-3.gif


พระมหาเจดีย์มหารัชมงคล ได้รูปแบบมาจากเจดีย์ของวัดโลกโมฬี ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ด้านทิศเหนือนอกกำแพงเมืองเชียงใหม่ ซึ่งสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ประมาณ พ.ศ. ๒๐๗๑ สมัยพระเมืองเกษเกล้า เจ้าเมืองเชียงใหม่ องค์ที่ ๑๕ ของราชวงศ์มังราย เป็นเจดีย์สี่เหลี่ยมผสมทรงกลม

รูปแบบพระมหาเจดีย์มหารัชมงคล พระมหาเจีย์มหารัชมงคล สถาปนิกได้ออกแบบเพิ่มฐานเป็น ๙ ชั้น และให้มีพื้นที่ใช้สอยบริเวณด้านในของส่วนฐานล่างพระเจดีย์ ๕ ชั้น ขนาดกว้าง ๕๒ เมตร รอบตัว ชั้นที่ ๕ : ประดิษฐานเจดีย์แก้ว พระบรมสารีริกธาตุ ดวงแก้ว พระจตุรเถร หลวงพ่อทองคำ ชั้นที่ ๔ : ประดิษฐานรูปเหมือนหลวงพ่อทองคำองค์ใหญ่ ชั้นที่ ๓ : ประดิษฐานพระพุทธรูป และสิ่งของบางส่วน ถือเป็นพิพิธภัณฑ์ ชั้นที่ ๒ : สำหรับปฏิบัติธรรม ชั้นที่ ๑ : พิพิธภัณฑ์์ชาวบ้าน ความสูงจากพื้นดินถึงยอดพระมหาเจดีย์ ๘๐ เมตร โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ตกแต่งด้วยวัสดุที่งดงามและคงคนถาวร

ไฟล์:Http://www.fotoinfomag.com/webboard/uploads/monthly 02 2010/post-127-1265248818.jpg

ไฟล์:Http://www.thaisky-digital.com/gallery/main.php?g2 view=core.DownloadItem&g2 itemId=771&g2 serialNumber=2