ผู้ใช้:Brandy Frisky/ลี ซุนชิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ลีซุนชิน สุดยอดวีรบุรุษของเกาหลี(ใต้)

อยู่บ้านเรา คนไทยเราอาจจะรู้จักคนเกาหลีในประวัติศาสตร์ก็แค่ “แดจังกึม” (คนละคนกะ “แดกจังมึง”นะจ๊ะ) กับ “หมอโฮจุน” เพราะนี่เป็นซีรี่ย์เกาหลีที่ช่อง๓ นำเข้ามาฉาย แต่ทว่า สองท่านนี้นั้น นับว่ายังห่างไกลจาก “ลีซุนชิน” มากนักในสายตาคนเกาหลี (คนละวิชาชีพกันนี่หว่า)

ลีซุนชิน เป็นแม่ทัพเกาหลีที่มีผลงานมาจากการนำกองเรือเกาหลี เข้าโรมรันกับกองเรือญี่ปุ่น ภายใต้ยุทธนาวีไม่ต่ำกว่ายี่สิบสามหน และ ไม่เคยแพ้เลยสักหน จากผลงานอันน่ามหัสจรรย์นี้เอง เขาถึงได้รับการยอมรับจากนายพลเรือ จอร์จ อเล็กซานเดอร์ บัลลาร์ด แห่งราชนาวีอังกฤษในหนังสือของเขา “The Influence of the Sea on The Political History of Japan” (cited in Wikimedia, 2007) ว่า มีฝีมือเทียบเท่ากับ ลอร์ด โฮราทิโอ เนลสัน (Lord Horatio Nelson; แม่ทัพเรือที่เก่งที่สุดในประวัติศาสตร์อังกฤษ จากยุทธนาวีที่ทราฟัลกรา)

สำหรับญี่ปุ่น ผู้ซึ่งสามารถยึดเกาหลีได้สำเร็จในปี ค.ศ. ๑๙๑๐ หรือ ราวๆ ๓๐๐ปี หลังมรณกรรมของลี ซุนชินนั้น นายพลเรือ ซาโต เทซึทาโร แห่งจักรวรรดินาวีญี่ปุ่นยกย่อง ลี ซุนชิน เหนือกว่า ลอร์ด เนลสัน เสียด้วยซ้ำ ( Sato, T 1908, A Military History of Emperor, p 399, cited in Wikimedia, 2007)


ช่วงแรกของชีวิตลีซุนชิน

ลีซุนชิน (이순신) เกิดเมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน ค.ศ. ๑๕๔๕* ที่ตำบลคอนชองโดง จังหวัด ฮันซอง (ปัจจุบันคือโซล) บิดาชื่อ ลีจอง เมื่ออายุได้ ๗ ปี บิดาก็ถูกให้ร้ายจนถูกจับกุมและทรมาน ด้วยเหตุนี้ ครอบครัวของลีซุนชินจึงต้องอพยพไปเมืองอาซาน อย่างไรก็ตาม การอพยพนี้ ทำให้เขาได้พอกับ ยูซองรีอง เพื่อนร่วมห้องซึ่งต่อมาได้เป็นนายกรัฐมนตรีของเกาหลีในช่วงที่ญี่ปุ่นยกทัพเข้ามารุกราน และได้ช่วยสนับสนุนลีซุนชินจนได้รับชัยชนะ

เช่นเดียวกับ นโปลีอง (นโปเลียน ตามภาษาฝรั่งเศส) ลีซุนชินในวัยเด็กชอบที่จะเล่นทำสงครามกับเพื่อนๆ ซึ่งเขามักจะได้รับบทเป็นผู้นำกลุ่มในการละเล่นทุกครั้ง นี้แสดงให้เป็นถึงพรสวรรค์อันมีมาแต่กำเนิดของเขา

เมื่ออายุได้ ๒๑ปี ลีซุนชินสอบเข้ารับราชการทหารประจำปี ซึ่งเขาสอบผ่านทุกอย่างยกเว้นสอบขี่ม้า ซึ่งเขาตกจากม้าขาหักจนทำให้เข้าสอบไม่ได้อยู่หลายปี แต่หลังจากสอบผ่านแล้ว เขาถูกส่งขึ้นไปประจำการอยู่ที่ป้อม ทองกูบิ จังหวัด ฮัมยองชายแดนทางตอนเหนือของเกาหลี ซึ่งมักจะถูกพวก Jurchen เข้ามารุกราน ปล้นสะดมอยู่เนืองๆ (ต่อมาในปี ๑๕๘๖ พวกนี้สถาปนาประเทศของตัวเองขึ้นมา ชื่อว่า “แมนจู” ซึ่งสามารถยึดเมืองจีนได้สำเร็จและสถาปนาตนเองขึ้นเป็นราชวงศ์ชิงในกาลข้างหน้า)

ตลอดเวลาที่เขารับราชการ เขาได้สร้างผลงานอันลือลั่น โดยเฉพาะเมื่อเขาสามารถจับหัวหน้าพวก จูเชน ได้ในปี ๑๕๘๓ แต่ในทางกลับกัน เขาก็เป็นที่อิจฉาของบรรดานายทัพคนอื่นๆด้วย โดยเฉพาะ นายพล ลีอิล (ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน) ในเว็ปไซต์วิกิพีเดียกล่าวว่า การอิจฉาผู้อื่นและกล่าวหาใส่ไคล้ผู้อื่นในสมัยราชวงค์โจซอนนั้น ถือว่าเป็นเรื่องปกติมาก

ความปกติที่น่าอัปยศนี้เอง ทำให้ลีซุนชิน ถูกนายพลลีอิลจับกุมและทรมาณให้ยอมรับข้อกล่าวหา แต่เขาไม่ยอมรับ ซึ่งสุดท้าย พระเจ้าซอนโจ กษัตริย์เกาหลี ก็สั่งให้ปล่อยลีซุนชิน แต่ลดระดับลงเป็นแค่พลทหารธรรมดา

อย่างไรก็ตาม เขาก็สามารถไต่ระดับขึ้นไปสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นเรื่อยๆจนกระทั่ง ในปี ๑๕๙๑ เขาได้เป็นผู้บัญชาการสถานีกองทัพเรือฝ่ายซ้ายแห่ง จังหวัด จอนลา และที่นี่เอง เขาได้สั่งให้สร้างเรือรบหุ้มเกราะ โดยมีจุดประสงค์เพียงเอาไว้รับมือกับโจรสลัดญี่ปุ่น แต่เขาเองก็ไม่เคยนึกถึงเลยว่า เรือรบหุ้มเกราะ (โกบุกซ่อน) ที่เขาได้ริเริ่มให้สร้างขึ้นนั้น จะเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้เขาได้รับชัยชนะในสงครามต่อต้านญี่ปุ่นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

  • เนื่องจากปฏิทินของเกาหลีโบราณนั้น ไม่ตรงกลับปฏิทินปัจจุบันทำให้เกิดความสับสนอย่างมากว่าในต้นฉบับนั้นอ้างอิงตามปฏิทินโบราณ หรือปัจจุบัน ดังนั้น ในบทความนี้จะพยายามหลีกเลี่ยงการกล่าวถึงวันที่ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้


เซ็นโกกุ จิได (戦国時代, Japan’s Warring States Period,) ยุคสงครามกลางเมืองของญี่ปุ่น

  • หมายเหตุ

ยุคนี้บางครั้งก็ถูกเรียกว่า เซ็นจิไดโคคุ โดย

· เซ็นโกกุ แปลว่า ประเทศในสงคราม

· จิได แปลว่า ยุคสมัย

· เซ็นจิ แปลว่า ยุคสงคราม

· เซ็นโซ แปลว่า สงคราม

· โคคุ แปลว่า ประเทศ

จริงอยู่ว่าเรากำลังกล่าวถึงเรื่องราวของประวัติศาสตร์เกาหลี แต่ถ้าจะไม่พูดถึงประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ผู้รุกรานในครั้งนี้ก็กระไรอยู่

ราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๒ ญี่ปุ่นอยู่ภายใต้การปกครองภายใต้ มุโรมานจิ บาคุพุ (บาคุพุ แปลว่า กฎหมาย) และ อะชิคากะ โชกุนาเตะ (กฎหมายภายใต้โชกุน อะชิคากะ) แต่เนื่องด้วยปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างแคว้น สงครามโอนิน (๑๔๖๗ – ๑๔๗๗) ซึ่งเป็นการรบกันระหว่างเหล่าขุนศึกฝ่ายตะวันออก และ ตะวันตกจึงปะทุขึ้น ซึ่งผลลัพธ์ของการรบครั้งนี้ ทำให้แคว้นใหญ่หลายๆแคว้นอ่อนแอลงและเกิดสุญญากาศทางการเมืองขึ้น สงครามชิงอำนาจระหว่างแคว้นเกิดขึ้นอยู่ทั่วทุกหนทุกแห่ง รัฐบาลกลางไร้ประสิทธิภาพที่จะเข้าไปไกล่เกลี่ย ควบคุมดูแล

สงครามโอนินนี้ เปรียบได้กับ สงครามเพโลโพนิเชียน ของกรีซ (๔๓๑ – ๔๐๔ ปีก่อนคริสตกาล) โดยสงครามนี้เป็นการรบกันภายใต้การนำของสองรัฐใหญ่คือ เอเธน และ สปาตาร์ ซึ่งส่งผลให้รัฐบ้านนอกอย่างรัฐมาเซโดเนียฉวยโอกาศกรีฑาทัพเข้ามาบทบาทเหนือกรีกทั้งมวลอย่างช่วยไม่ได้

แต่สำหรับญี่ปุ่นนั้น เกิดสภาวะสุญญากาศทางการเมืองอยู่นานกว่าม้ามืดจะกระโดดเข้ามาในหน้าประวัติศาสตร์ก็เมื่อปี ๑๕๖๐ และม้ามืดตัวนี้ชื่อ โอดะ โนบุนากะ ( ๒๓ มิถุนายน ๑๕๓๔ – ๒๑ มิถุนายน ๑๕๕๒) ไดเมียวจากแคว้นเล็กๆที่ชื่อ โอวาริ

ครั้งแรกที่โอดะโนบุนากะปรากฏโฉมในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นคือเมื่อเขาสามารถใช้กำลังทหารทั้งหมดของตระกูลโอดะซึ่งมีเพียง ๒,๐๐๐ นาย พิชิตกองทัพ ๔๐,๐๐๐ นาย ของอิมากาวะ โยชิโมโตะลงได้ในปี ๑๕๖๐

โอดะ โนบุนากะเป็นขุนศึกผู้เปี่ยมไปด้วยความสามารถทางเศรษฐกิจ การเมืองการทหาร และเป็นผู้มีทัศนวิสัยที่ไม่เหมือนใครในยุคนั้น เขาเป็นไดเมียวคนแรกๆของญี่ปุ่นที่ยอมรับเอาปืนคาบศิลาเข้ามาใช้ในกองทัพ แล้วยังปรับปรุงกลยุทธ์การใช้ปืนคาบศิลาอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้ โนบุนากะจึงสามารถขยายอำนาจอิทธิพลของตัวเองเหนือแว่นแคว้นคู่แข่งทั้งมวลได้ แต่เพราะ “ความคิดเป็นของคน ความสำเร็จเป็นของฟ้า” โนบุนากะถูกลูกน้องตัวเองที่ชื่อ อะเคจิ มิสึฮิเดะ (๑๕๒๘ – ๒ กรกฎาคม ๑๕๘๒) หักหลังและสังหารที่วัดฮอนโน ถ้าโนบุนากะไม่ถูกหักหลังและสังหารที่วัดฮอนโน ประวัติศาสตร์โลกอาจจะเปลี่ยนไปอย่างใหญ่หลวงเลยก็เป็นได้

หลังมรณกรรมของโนบุนากะ โทโยโทมิ ฮิเดโยชิ ( ๒ กุมภาพันธ์ ๑๕๓๖ หรือ ๒๖ มีนาคม ๑๕๓๗ – ๑๘ กันยายน ๑๕๙๘) โชกุนคนเดียวในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นที่ไม่ได้เกิดในตระกูลซามูไร แต่เกิดในตระกูลชาวนา ฉวยโอกาสประกาศตนขึ้นเป็นทายาททางการเมืองของโนบุนากะ และเดินหน้ารวบรวมประเทศ สานฝันของโนบุนากะผู้เป็นนายต่อไป

หลังเขาสามารถรวบรวมญี่ปุ่นให้เป็นปึกแผ่นได้แล้ว เขาก็เกิดความคิดอยากจะได้ประเทศจีนเข้ามาอยู่ใต้อำนาจขึ้นมา แต่การจะรุกรานจีนได้นั้น จะต้องยึดเกาหลีให้ได้เสียก่อน การรุกรานเกาหลีครั้งที่หนึ่งจึงเกิดขึ้น (บางครั้งสงครามนี้ถูกเรียกว่าสงคราม๗ปี และจากนี้ไปจะเรียกสงครามนี้ว่า สงคราม ๗ ปีเพื่อไม่ให้เกิดการสับสน เพราะเกาหลีนั้น ในประวัติศาสตร์ถูกรุกรานอยู่เนืองๆ ทั้งจากญี่ปุ่น จีน มองโกลและ แมนจู และนี่คือเหตุผลข้อนึงว่าทำไมคนเกาหลีค่อนข้างจะมองโลกในแง่ร้าย ก้าวร้าว)


สถานะภาพทางการเมืองและการทหารของเกาหลี ก่อนถูกรุกราน

ก่อนสงคราม ๗ ปี เกาหลีอยู่ในสภาวะสงบศึกมานานกว่า ๒๐๐ ปี ศึกใหญ่ก่อนหน้านั้นคือเมื่อนายพล ลีซองเก ปราบดาภิเษกตนเองขึ้นเป็นพระเจ้าแทนโจ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงค์โจซอน สงครามหลังจากนั้นเป็นเพียงการปะทะกับชนกลุ่มน้อยอย่างพวกจูเชนทางตอนเหนือ และพวกโจรสลัด Wokou จากญี่ปุ่นในทางตอนใต้ (เรียกตามภาษาจีน ญี่ปุ่นเรียก วะโค) กำลังรบหลักของเกาหลี ส่วนมากจะตั้งมั่นอยู่ทางตอนเหนือ เสียมากกว่าทางตอนใต้ซึ่งมีเพียงกองกำลังเล็กๆและกองทัพเรือเท่านั้นที่รับผิดชอบ เนื่องจากรัฐบาลโจซอนให้ความสำคัญกับพื้นที่ทางเหนือมากกว่า

กล่าวกันว่า ช่วงปี(๑๕)๗๐ และ ๘๐ นั้น กองทัพโจซ็อนมีศักยภาพที่ต่ำ กำลังพลน้อยเกินกว่าที่ควรจะมี (สมัยนั้นไม่มีระบบกำลังสำรอง ถ้ามีสงครามจะใช้ทหารอาสาเข้ามาหนุน) และปฏิเสธที่จะปรับปรุงเทคโนโลยีด้านอาวุธอีกด้วย Yi I หรือ Yulgok (๑๕๓๖ – ๑๕๘๔) เป็นปราชญ์คนหนึ่งที่เล็งเห็นถึงความเป็นไปได้ที่ญี่ปุ่นจะรุกรานเกาหลี เขาจึงถวายแผนป้องกันประเทศแก่กษัตริย์เกาหลี แต่ถูกปฏิเสธไป

ช่วงปี ๑๕๘๐ ยูซองรีอง(เพื่อนวัยเด็กของลีซุนชิน) ก็เป็นขุนนางที่เล็งเห็นถึงความเป็นไปได้ที่จะถูกรุกรานจากญี่ปุ่น และเสนอแผนป้องกันประเทศ แต่ได้รับการปฏิบัติตามแบบขอไปที โครงการจึงไม่เป็นชิ้นเป็นอัน และไร้ประสิทธิภาพในยามสงครามจริง

สำหรับในแง่การเมืองนั้น ราชสำนักเกาหลีถูกแบ่งออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายตะวันตกที่เป็นพวกอนุรักษนิยม และฝ่ายตะวันออกที่เป็นฝั่งสมัยใหม่ (แบ่งตามเขตการของที่อยู่อาศัย ใครมีบ้านอยู่ทางฟากตะวันออกก็จะไปเข้ากับฝั่งตะวันออกด้วยกัน พูดง่ายๆก็คือการเล่นพรรคเล่นพวกนั่นเอง) นอกจากนี้ยังมีพวกเหนือ-ใต้อีกด้วย

การแบ่งฝักแบ่งฝ่ายเช่นนี้แลที่ทำให้แสนยานุภาพของประเทศต่ำลง

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากฝั่งตะวันตก(อนุรักษนิยม)นั้นมีอิทธิพลสูงกว่าในราชสำนัก เพราะผู้นำของฝ่ายตะวันตก Sim Ui-Gyeom นั้นมีความเกี่ยวดองทางสายเลือดกับพระราชินี และพวกนี้เชื่อมันในสันติสุขจนละเลยเรื่องการทหารไป

สงคราม ๗ ปี ของเกาหลีนี้ จึงเป็นการพิสูจน์พระราชดำรัสของล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ ที่ว่า “แม้ตั้งมั่นในความสงบ จงเตรียมรบให้พร้อมสรรพ” ได้เป็นอย่างดี

ในแง่ของเทคโนโลยีทางการทหารนั้น เกาหลีปฏิเสธปืนคาบศิลาของตะวันตก ยังคงใช้อาวุธยิงดั้งเดิมของจีน ในขณะที่ในช่วงนั้นญี่ปุ่นมีการนำเข้าอาวุธปืนหลายแสนกระบอกต่อปีทีเดียว

ในเชิงเปรียบเทียบศักยภาพระหว่างอาวุธยิงของทั้งสองฝ่ายนั้น ระยะยิงสูงสุดของธนูเกาหลีนั้นสูงกว่าฝ่ายญี่ปุ่น เนื่องจากธนูของญี่ปุ่นนั้น เน้นไปที่ความแม่นยำมากกว่าระยะยิง อีกทั้งธนูของเกาหลีนั้นยังมีอัตรายิงที่เร็วกว่าปืนคาบศิลา (ในการยิงปืนคาบศิลาแล้วบรรจุกระสุนใหม่หนึ่งครั้ง อาจยิงธนูได้ถึงหกครั้ง ส่วนปืนกล หรือ Gatling นั้น เกิดหลังจากยุคนี้อีกราว ๒๐๐ ปี) แต่ปืนคาบศิลากลับได้เปรียบในแง่ของอำนาจการยิงที่สูงกว่า สามารถทะลวงได้แม้แต่เกราะโลหะในระยะใกล้ อีกทั้งการผลิตพลธนูที่มีประสิทธิภาพสูงนั้นต้องใช้เวลาหลายปี

สำหรับชุดเกราะแล้ว ทหารเกาหลีระดับนายทหารเท่านั้นที่จะใส่ชุดเกราะเพราะพวกเขาเชื่อมั่นว่าระยะยิงของอาวุธยิงนั้น จะทำให้การรบระยะประชิดหมดความจำเป็นลงไป ส่วนเครื่องแบบพลทหารเกาหลีนั้น เน้นไปที่ความคล่องตัวแต่ไม่การป้องกันการถูกยิง แทงหรือฟันได้เลย ในขณะที่พลทหารญี่ปุ่นนั้นจะใส่เกราะที่ทำจากหนัง แผ่นโลหะ หรือ โซ่ถัก ซึ่งถึงแม้จะไม่สามารถต้านทานลูกธนู หรือกระสุนปืนได้ แต่สามารถป้องกันตัวจากดาบหรือหอกได้ดี สำหรับประสิทธิภาพของตัวดาบแล้ว แม้ในปัจจุบัน ดาบญี่ปุ่นนั้น ยังเป็นที่ยอมรับจากทั่วโลกในแง่ของความคมและมีประสิทธิภาพในยุทธภูมิ


จุดเริ่มต้นของสงคราม ๗ ปี “การเมืองที่จมประเทศชาติ”

หลังโทโยโทมิ ฮิเดโยชิ สามารถรวมประเทศญี่ปุ่นได้สำเร็จ ชาวเกาหลีหลายฝ่ายก็เริ่มวิตกว่าพวกเขาอาจจะถูกรุกรานได้ บรรดาขุนนาง(นักการเมือง)ทั้งจากฝั่งตะวันออก และตะวันตกจึงถูกส่งไปญี่ปุ่นในฐานะทูตอย่างเป็นทางการหลายต่อหลายครั้ง ฉากหน้าเพื่อการเจริญสัมพันธ์ไมตรี แต่เบื้องหลังแล้ว พวกเขาถูกส่งไปเพื่อหาข่าวว่า แท้จริงแล้ว ญี่ปุ่นกำลังเตรียมการรุกรานเกาหลีจริงหรือไม่? 

น่าเสียดาย เหล่าทูตที่ส่งไปนั้น หาได้มีใครที่ทำเพื่อประเทศชาติของตนเลย แต่ทำไปเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มตัวเองเท่านั้น สิ่งที่พวกนี้นำกลับมารายงานถวายพระเจ้าซอนโจนั้น เป็นรายงานเพื่อผลประโยชน์ของฝ่ายตนเท่านั้น

เมื่อได้ก็ตามที่นักการเมืองนักปกครองเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องมากกว่าประโยชน์ส่วนรวมแล้วไซร้ ประเทศชาติรัฐนั้น ย่อมพบกับความวิบัติในไม่ช้านาน

ในสมัยก่อนเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ เองก็เช่นกัน ถึงแม้จะไม่ใช่ความแตกแยกทางการเมือง แต่ช่วงนั้นมีการสู้รบภาพในเพื่อชิงราชบัลลังค์กันบ่อยมากจนทำให้อยุธยาต้องเสียกำลังพลไปโดยใช่เหตุเป็นจำนวนมาก จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่พม่าสามารถตีกรุงศรีอยุธยาให้แตกได้ในที่สุด หรือแม้แต่ในเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์(วสการพราหมณ์)เองก็เป็นตัวอย่างที่ดี

นอกจากนี้ ประดาผู้ลากมากดีส่วนใหญ่ของเกาหลีเองก็เชื่อว่าญี่ปุ่นไม่น่าจะต้านทานกองกำลังผสมโจซอน(เกาหลี)-หมิง(จีน)ได้ อา! ความประมาทเป็นหนทางของความตายจริงจริง

ปี ๑๕๙๑ ฝ่ายญี่ปุ่นเริ่มการเคลื่อนไหวทางการเมืองเป็นครั้งแรกโดยฮิเดโยชิส่งทูตไปยังเกาหลีเพื่อขอเคลื่อนกองทัพผ่านเกาหลีไปรุกรานจีน ซึ่งสร้างความประหลาดใจให้พระเจ้าซอนโจมาก (ไอ้ซิม ไหนเอ็งบอกว่าท่านลิง*(ฮิเดโยชิ) มันจะไม่รุกรานเรารึจีนไงวะ) พระองค์ตัดสินพระทัยเข้าข้างจีนตามสนธิสัญญาที่มีให้ต่อกัน ส่งพระราชสารไปยังจักรดิพรรดิว่านลี่ แห่งราชวงค์หมิง และมีพระบรมราชโองการให้เตรียมการรับมือญี่ปุ่น

(ถ้าสังเกตจะเห็นว่าข้อความที่พาดพิงถึงฮิเดโยชิจะเป็นศัพท์สามัญ นั่นก็เพราะว่า ตำแหน่งโชกุนนั้น ไม่ใช่ตำแหน่งกษัตริย์ หรือจักรพรรดิ แต่หมายถึงผู้สำเร็จราชการแทนองค์พระจักรพรรดิ อีกทั้งญี่ปุ่นเองก็มีราชวงค์ของสมเด็จพระจักรพรรดิมาก่อนมาแต่ก่อนมีระบบโชกุนเกิดขึ้น จนแม้ทุกวันนี้ ญี่ปุ่นก็ยังเป็นพระจักรพรรดิราชวงค์เดิมตั้งแต่ก่อตั้งประเทศ)

  • สมัยที่โนบุนากะยังไม่สิ้น ฮิเดโยชิมักจะถูกล้อว่าหน้าเหมือนลิง แต่พอฮิเดโยชิขึ้นเป็นโชกุนแล้วนั้น ใครที่เรียกฮิเดโยชิว่าลิงนั้น มักจะป่วย เป็นโรคหัวไม่อยู่กับตัวทั้งสิ้น

การรุกรานเกาหลีรอบที่หนึ่ง

กองทัพญี่ปุ่นระลอกแรกยกพลขึ้นบกมา ๒ กองพล นำโดยนายพล คาโต้ คิโยมาสะ และนายพล โคนิชิ ยูกินากะ ในวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๑๕๙๒ ทั้งสองกองพลเข้าปะทะกับกองพลเกาหลีที่ป้อมปูซาน และทาเดจิน ในวันรุ่งขึ้น ซึ่งกองพลเกาหลีแตกพ่ายกลับไป จากนั้นกองทัพญี่ปุ่นสามารถรุกคืบขึ้นไปเรื่อยๆจนถึงกรุงฮันซอง(ปัจจุบันคือโซล)และยึดได้ในที่สุด

พระเจ้าซอนโจต้องถอยร่นไปอยู่ที่เมืองเปียงยางหนึ่งวันก่อนเสียกรุง ไม่มีการปะทะที่ฮันซองเนื่องจากฝ่ายเกาหลีเผาเสบียงขนข้าวของหนีไปหมดแล้ว

ว่ากันว่า ระหว่างที่พระเจ้าซอนโจพยายามเสด็จหนีขึ้นไปเปียงยางซึ่งอยู่ทางตอนเหนือ ระหว่างทางพระองค์ต้องเสร็จข้ามแม่น้ำ Imjim แต่เนื่องจากเวลานั้นมืดมาก ขบวนเสด็จไม่รู้ว่าอีกฝั่งอยู่ตรงไหนจึงต้องเผาบ้านหลังหนึ่งเพื่อที่จะได้มีแสงสว่าง ซึ่งบ้านที่ได้เผาไปนั้นเป็นบ้านของ Yi I, Yulgok อดีตนักปราชญ์ผุ้เคยถวายคำเตือนเรื่องการรุกรานญี่ปุ่นนั่นเอง และบ้านหลังนี้เป็นบ้านที่เขาสร้างไว้เพื่อที่จะได้เอาไว้ใช้ช่วยเหลือพระเจ้าซอนโจในยามลี้ภัยนั่นเอง


รุกแต่ภาคเหนือ ใครว่ากองทัพเรือไม่สำคัญ

กองพลที่เข้ายึดกรุงฮัมซองได้คือกองพลของโคนิชิ ยูกินากะ ซึ่งสร้างความอิจฉาให้คาโต้ คิโยมาสะมาก เขาจึงวางแผนกรีฑาทัพขึ้นเหนือเพื่อบุกเข้าแผ่นดินจีน เขายึดเมืองยุทธศาสตร์ทางบกไว้ได้หลายเมือง และสุดท้ายเขาได้ปะทะกับกองทัพบกทางเหนือของเกาหลี ซึ่งเป็นกองกำลังชั้นเยี่ยมของเกาหลี และนี่เป็นครั้งแรกที่เกาหลีมีชัยเหนือกองทัพญี่ปุ่น

อย่างไรก็ตาม คิโยมาสะวางแผนแก้แค้นโดยการส่งทหารราบบุกตีโอบกองพลเกาหลีทั้งสามด้านในยามค่ำคืนอย่างเงียบๆ และกวาดล้างกองพลนี้ได้ในที่สุด จากนั้นคิโยมาสะยกทัพข้ามแดนเกาหลี ตีเขตแดนของพวกจูเชน โดยไม่สนใจเมืองชายฝั่งและฐานทัพเรือเกาหลี และนั่นคือข้อผิดพลาดอันฉกาจฉกรรจ์ของกองทัพญี่ปุ่น


Yi Sun Shin Approaching, the Navy Strike Back

ถ้าวันนั้น ญี่ปุ่นยอมเสียเวลาเข้าตีและทำลายฐานทัพเรือของเกาหลี วันนี้เราคงไม่รู้จักเกาหลี ประวัติศาสตร์โลกเราคงจะเปลี่ยนไปอย่างใหญ่หลวง แต่เพราะความที่ญี่ปุ่นไม่เคยมีประสบการณ์ในการรบนอกดินแดนของตัวเองมาก่อน หรืออาจจะเพราะญี่ปุ่นเคยแต่รบโดยใช้กองทัพบกเป็นหลัก หรืออาจจะเพราะว่าญี่ปุ่นมั่นใจในศักยภาพและจำนวนกองเรือที่ตนเองมี ประมาทศักยภาพกองทัพเรือเกาหลีก็เป็นได้จึงทำให้ญี่ปุ่นแพ้พ่ายไปในที่สุด

นายพลลีซุนชินตัดสินใจส่งกองเรือของเขาออกปฏิบัติการลาดตระเวนล่าทำลายหลังจากที่เขาได้ข่าวเมืองปูซานแตก จุดประสงค์ของเขาคือ ป้องกันการยกพลขึ้นบกของญี่ปุ่นตลอดจนเส้นทางลำเลียงเสบียงจากญี่ปุ่นด้วย การปะทะครั้งแรกมีนี้ขึ้นที่ อ่าวโอ๊คโป


ยุทธนาวีอ่าวโอ๊กโป

๕ ตุลาคม ๑๕๙๒ เวลา ๐๒๐๐ (ตีสอง) นายพลลีซุนชินหะเบส(ถอน)สมอ ออกเรือจากยอสุ เพื่อเดินทางไปรวมพลที่ Tangpo ในวันที่๖ ตุลาคม โดยมีนายพล อีอกกิมารวมพลกันเขา ส่วนนายพล Won Gyun นั้นมาสายแบบสุดๆ

วันถัดมา กองทัพเรือเกาหลีเดินเรือถึงอ่าวโอ๊กโป ซึ่งขณะนั้นทหารญี่ปุ่นกำลังออกปล้นสะดม เข่นฆ่าคนเกาหลีอย่างมันมือทีเดียว สิ่งที่ได้เห็นสร้างความโกรธเคืองให้ลีซุนชินอย่างมาก เขาจึงเริ่มการโจมตี ทัพเรือญี่ปุ่นซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับบัชญาของ โทโด ทากาโทระ ญี่ปุ่นพยายามยิงตอบโต้ด้วยปืนที่มีแต่ไร้ผล ทหารหลายคนทิ้งอาวุธชุดเกราะแล้วโดดลงน้ำเพื่อเอาตัวรอด วันถัดมา กองเรือเกาหลีเข้าตีกองเรือญี่ปุ่นอีกครั้งแล้วก็ชนะอีกหน

ในการสู้รบครั้งนี้ ญี่ปุ่นเสียเรือรบอย่างน้อย ๔๐ลำ ตายราวๆ ๔,๐๐๐นาย ในขณะที่ฝ่ายเกาหลีมีทหารบาดเจ็บหนึ่งนาย หลังจากนั้นก็เป็นเพียงการรบย่อยที่ฮับปอ และชอกชินปอ


ยุทธนาวีที่ Sacheon

ลีซุนชินได้รับข่าวจาก Won Kyun ว่าญี่ปุ่นชุมนุมพลที่ Sacheon สำหรับลีซุนชินแล้ว นี่ถือเป็นข่าวสารที่สำคัญมากเพราะญี่ปุ่นอาจจะวางแผนโจมตี ยอซู ฐานทัพเรือของเขาก็เป็นได้ ดังนั้นเขาจึงวางแผนชิงลงมือก่อน

เขานัดพบกับ Won Kyun เพื่อวางแผนร่วมกันที่ช่องแคบโนเรียงและหาข่าวอย่างรัดกุม ที่นั่นมีหน้าผาขนาดใหญ่ที่มองลงมาได้ทั่วเมืองและทหารญี่ปุ่นก็ประจำการอยู่ทุกหนแห่งในตัวเมือง เรือรบญี่ปุ่นนั้น มีเรือรบขนาดยักษ์อยู่๔ลำและเรือเล็กอีกจำนวนมาก ลีรู้ว่าเขาไม่ควรจะเข้าตีตรงๆเพราะญี่ปุ่นอาจจะอยู่บนหน้าผาและระดมยิงลงมาได้ แม่ทัพลีรู้ว่าญี่ปุ่นกองนี้กล้าหาญชาญชัยและมีความหยิ่งผยองมาก เขาจึงวางแผนใช้ความจองหองของข้าศึกให้เป็นประโยชน์

กองเรือเกาหลีทำทีเป็นกลัวญี่ปุ่นและกลับลำหนีออกสู่ทะเลหลวง ซึ่งฝ่ายญี่ปุ่นก็ถอนสมอออกเรือไล่ล่าข้าศึกในทันทีโดยหารู้ไม่ว่าฝ่ายเกาหลีต้องการรบในที่กว้างซึ่งฝ่ายเขาเป็นฝ่ายได้เปรียบ และเวลานั้นเองก็ค่อนข้างมืด ทัศนะวิสัยแย่ด้วย

ยุทธนาวีนี้เป็นครั้งแรกที่ฝ่ายเกาหลีงัดเอาอาวุธลับที่แต่เดิมมีไว้เพื่อปราบโจรสลัดมาใช้ ทันทีที่ทั้งสองฝ่ายออกสู่ทะเลหลวง ฝ่ายเกาหลีกลับลำอย่างกะทันหันและเปิดฉากระดมยิงด้วยปืนใหญ่และธนู ฝ่ายญี่ปุ่นในคราวนี้นั้นเข้าต่อสู้อย่างกล้าหาญชาญชัย โต้ตอบฝ่ายเกาหลีอย่างถึงพริกถึงขิง แต่โชคร้ายที่ฝ่ายญี่ปุ่นไม่สามารถเข้าประชิดเรือเกาหลีได้เลยเพราะถูกระดมยิงอย่างหนักด้วยปืนใหญ่และธนู และรูปขบวนฝ่ายญี่ปุ่นเริ่มรวนอย่างหนักเมื่อ เรือเต่า(Turtle Ship หรือ “คอบุคซอน” หรือ 거북선) อาวุธลับของเกาหลีปรากฏตัวเข้าทำลายแนวรบของญี่ปุ่นและระดมยิงจากทุกทิศทาง

สองถึงสามชั่วโมงถัดมา การรบจบลงด้วยชัยชนะอย่างเด็ดขาดของเกาหลี เรือรบญี่ปุ่นทุกลำที่เข้ารบ(ประมาณ ๒๐ ถึง ๔๐ ลำ)ถูกส่งลงไปเฝ้าพระสมุทร(จม) มีทหารญี่ปุ่นรอดตายเพียงเล็กน้อย เรือเกาหลีเสียหายหนักเพียง ๔ ลำจาก ๒๖ ลำ ตัวลีซุนชินบาดเจ็บเล็กน้อย


(ยังไม่จบ)


อ้างอิง

Korean Hero, no date, Admiral Yi Sun-sin-A Korean Hero, viewed on 7 April 2007, <http://www.koreanhero.net/en/home.htm>

Yonsei University Press, no date, Biography of Admiral Yi Sun Shin, viewed on 7 April 2007, < http://www.geocities.com/yi_sun_shin_adm/yisunshin.html>