ผู้ใช้:Alisa nokkhaw

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮีเลียม
  ฮีเลียม(Helium)เป็นธาตุที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส มีลักษณะเป็นทรงกลม มีขนาดเล็กกว่าธาตุอื่นๆ มีเลขอะตอม 2 เป็นธาตุแรกของหมู่ 0 ในตารางธาตุ จัดเป็นแก็สเฉื่อย น้ำหนักอะตอม 4.0026 amu จุดหลอมเหลว 1.0 kที่ 25 atm จุดเดือด 4.216 k ที่ 1 atm ความหนาแน่น 0.1785 g/l ที่ 1 atm เลขออกซิเดชันสามัญ 0 เป็นโลหะอัลคาไลน์เอิรท์มีความหนาแน่นมากที่สุด
ฮีเลียมเป็นธาตุหายากมากบนโลก อะตอมของมันเบาเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมเป็นแรงวัลเดอร์วาล เกิดจากขั้วอะตอมที่ตรงกันข้ามมาชิดกัน มีแรงดึงดูดอย่างอ่อนระหว่างอะตอม อิเล็กตรอน และโมเลกุล มีสถานะภาพอ่อนแอกว่าธาตุอื่นๆ ดังนั่นก๊าซฮีเลียมสามารถทำอุณหภูมิถึงจุดวิกฤติได้ และจุดเดือดของฮีเลียมจึงต่ำที่สุดในธาตุทั้งหมดที่มีความหนาแน่นน้อยมาก มีสถานะเป็นแก็สอย่างเดียว

ประวัติการค้นพบ[แก้]

  Lockyer นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ เขาเป็นคนแรกที่เห็นฮีเลียม ทำการทดลองโดยการส่องกล้องโทรทัศน์ขนาด 6 นิ้ว ตรงไปที่ดวงอาทิตย์แล้วตรวจสเปกตรัมก็ได้เห็นเส้นแสงสีเหลืองเส้นหนึ่ง ปรากฎในสเปกตรัมของแสงอาทิตย์ แต่เมื่อ lockyer ได้แสดงความคิดเห็นการทดลองให้กับนักวิทยาศาสตร์ท่านอื่นฟัง ปรากฎว่านักวิทยาศาสตร์ท่านอื่นๆต่างหัวเราะเยาะ ต่อมา P.J.C.Janssen ก็ได้กล่าวย้ำอีกครั้งว่าแสงที่ปรากฎในสเปกตรัมของดวงอาทิตย์นั้นเกิดขึ้นจริง และหลังจากนั้นก็ทำให้ก๊าสฮีเลียมเป็นที่ยอมรับในหมู่นักวิทยาศาสตร์ และlockyer ตั้งชื่อธาตุใหม่นี้ว่า Heliumจากคำกรีก Heliosหมายถึงดวงอาทิตย์

คุณสมบัติของฮีเลียม[แก้]

แบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่

  1. ฮีเลียมไม่ติดไฟไม่ว่าจะอยู่ในบรรยากาศหรือความกดดันใดๆจึงไม่ทำให้เกิดการระเบิดในบอลลูน
  2. อะตอมของฮีเลียมใหญ่และหนักกว่าอะตอมของไฮโดรเจนมันจึงไม่รั่วไหลออกมาจากถุงที่บรรจุไว้รวดเร็วเท่าไฮโดรเจน

ฮีเลียมเหลว[แก้]

  ฮีเลียมมีอุณหภูมิต่ำใกล้ศูนย์องศาสัมบูรณ์กำลังมีบทบาทในการศึกษาเอกภพ ได้พบว่าฮีเลียมของเหลวชนิด 3He มีคุณสมบัติของเอกภพ 3 มิติ ดังนั้นจึงสามารถนำมาทดลองศึกษาธรรมชาติของแรงโน้มถ่วงและหลุมดำ และเมื่อ 30 ปีก่อนนี้ Stepen Hawking ได้แสดงให้ทุกคนเห็นว่า เมื่อเขาได้นำทฤษฎีครอนตรัมมาใช้กับหลุมดำ พลังงานบางส่วนก็สามารถเล็ดลอดออกมาจากหลุมดำได้ดังนั้นจึงสูญเสียมวลโดยการแพร่รังสี Hawking แต่รังสีนี้มีความเข้มน้อยมาก จึงทำให้หลุมดำที่หนักต้องใช้เวลานานเป็นหมื่นล้านปี จึงจะสลายตัวหมด และในเวลาอยู่ในสภาพของเหลว และถ้าอุณหภูมิลดต่ำถึง 2.18 องศาสัมบูรณ์ ฮีเลียมเหลวจะกลายเป็นของเหลวยวดยิ่ง สามารถไหลผ่านรูเล็กได้ๆ

การใช้ประโยชน์[แก้]

  1. มีความหนาแน่นต่ำ
  2. มีจุดเดือดต่ำมาก
  3. มีความสามารถในการละลายต่ำ
  4. เฉื่อยต่อปฏิกิริยา
  5. ไม่ติดไฟ

อันตรายต่อสุขภาพ[แก้]

  • สัมผัสทางการหายใจ-ทำให้มีอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน อาจทำให้เสียชีวิตได้
  • สัมผัสทางผิวหนัง-มีอาการเหมือนน้ำแข็งกัด ทำให้ผิวซีดเป็นสีขาว
  • สัมผัสถูกตา-มีอาการเหมือนน้ำแข็งกัด

[1] [2] [3] [4] [5] [6]

  1. http://www.rmutphysics.com/charud/naturemystery/sci2/helium/helium3.htm
  2. http://msds.pcd.go.th/searchName.asp?vID=1570
  3. http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9520000122615
  4. http://student.mahidol.ac.th/~u4903013/
  5. http://www.kr.ac.th/tech/detchm48/table40.html
  6. http://www.rmutphysics.com/charud/naturemystery/sci2/helium/helium3.htm