ผู้ใช้:Alisa Tanok/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ชื่อ : นางสาวอลิสา ทานอก
ชื่อเล่น : หน่อย
ที่อยู่ปัจจุบัน : 361 ม.1 ต.บ้านเหลื่อม อ.บ้านเหลื่อม จ.นครราชสีมา 30350
การศึกษา :ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (นครราชสีมา) สาขาวิชาระบบสารสนเทศ ชั้นปีที่ 3
ตำแหน่งงานด้านไอทีที่สนใจ  : นักวิเคราะห์ระบบ (Systems Analysis : SA) เพราะต้องการใช้ความรู้ความสามารถทางด้านคอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนาระบบให้มีประสิทธิมากยิ่งขึ้น
ข้อคิดเตือนใจ : หนึ่งครั้งที่ผิดพลาด อาจไม่มีโอกาสได้แก้ไข ดังนั้นก่อนที่จะทำอะไร ก็ควรไตร่ตรองดูให้ดี

ความแตกต่างระหว่างรอม กับ แรม[แก้]

บางคนอาจสงสัยว่าระหว่าง Rom และ Ram ว่าแตกต่างกันอย่างไร อันนี้มีคำตอบ ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องมีหน่วยความจำจึงจะสามารถทำงานได้ โดยหน่วยความจำที่ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะต้องมี 2 ส่วน คือ

รอม (ROM: Read Only Memory)[แก้]

เป็นหน่วยความจำที่ไม่มาสามรถที่จะแก้ข้อมูลภายในได้ แต่สามารถที่จะอ่านข้อมูลได้อย่างเดียว และ สามารถเก็บข้อมูลได้ แม้ว่าจะไม่มีไฟเลี้ยงก็ตาม ( เมื่อเปิดเครื่องก็จะอยู่เหมือนเดิม แต่ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ทำให้ ROM สามารถแก้ไขข้อมูลได้ แต่ก็ต้องมีความรู้ด้านนี้พอสมควร ) ส่วนมากมักใช้เก็บข้อมูล เป็นโปรแกรม จะเก็บแบบถาวร คือข้อมูลยังอยู่โดยไม่ต้องมีไฟเลี้ยง มักเขียนครั้งเดียวเพื่อไว้อ่านครั้งต่อๆ ไปโดยจะเขียนทับซ้ำไม่ได้ในการทำงานปกติ ยกเว้นสั่งเขียนผ่านอุปกรณ์เขียน เมื่อจะแก้หรือเปลี่ยนข้อมูลใหม่
มักจะใช้เพื่อเก็บโปรแกรมเริ่มต้นระบบ เมื่อเปิดสวิตซ์เครื่อง เช่น BIOS ของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือรวมถึงใช้เก็บโปรแกรมทำงานทั้งหมด ในอุปกรณ์ที่ต้องการเก็บโปรแกรมทำงานไว้ในเครื่องแบบถาวร เช่น เครื่องคิดเลข

  • คุณสมบัติคือ เก็บข้อมูลแบบถาวร แต่ความเร็วต่ำ ขนาดไม่ใหญ่มากนัก และไม่มีการแก้ไขข้อมูลบ่อย

แรม ( RAM ) Random Access Memory[แก้]

ถือเป็นหน่วยความจำของระบบ ( System Memory ) ซึ่งสามารถเขียนข้อมูลลงไปได้ตลอดเวลา ใช้เป็นที่เก็บข้อมูลแบบชั่วคราว โปรแกรมหรือชุดคำสั่งจะทำงานได้ก็ต่อเมื่อมันถูกโหลดลงในแรมเสียก่อน แต่เพราะว่าแรมนั้นไม่สามารถที่จะเก็บข้อมูลได้เมื่อไม่มีไฟมาเลี้ยงตัวมัน ( เมื่อเปิดเครื่องก็จะหายไป ) เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลขณะทำงาน ปิดสวิตซ์ข้อมูลก็หาย ใช้เป็นหน่วยความจำขณะในทำงาน สามารถเข้าถึงตำแหน่งต่างๆ ของข้อมูลใน RAM ได้โดยไม่ต้องอ่านตามลำดับเหมือนเทป หรือ CD มีประโยชน์เหมือนกระดาษทดของเครื่อง แต่สามารถโหลดโปรแกรมเข้าไปไว้ใน RAM เพื่อเรียกใช้งานได้ เช่นโปรแกรมในส่วนที่ ROM ไม่มี เพื่อให้การทำงานของเครื่องเร็วขึ้น

  • คุณสมบัติ เก็บข้อมูลได้เฉพาะเมื่อมีไฟเลี้ยง ความเร็วสูง สามารถมีขนาดใหญ่ๆ ได้ เพื่อใช้กับงานที่มีข้อมูลมากๆ

ROM และ RAM โดยวัตถุประสงค์ และทั่วไปจะเป็นองค็ประกอบเพื่อจะถูกใช้งานโดยหน่วยประมวลผล (Processing Unit) จะรวมกันทำงานเป็นคอมพิวเตอร์ ทั้งขนาดจิ๋ว ขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ เช่น เครื่องชั่งน้ำหนัก เครื่องวัด เครื่องคิดเลข เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ไปจนถึงซูเปอร์คอมพิวเตอร์

  • นอกจากนั้นยังสามารถประยุืกต์ใช้งานอื่นมากมาก เช่น


- ใช้ ROM เก็บตารางการเปิด-ปิดไฟในวงจรไฟวิ่งแบบต่างๆ โดยไม่ต้องมี Processor Unit และ RAM
- ใช้ RAM ทำเป็น Solid State Disk ใช้เก็บข้อมูลแบบ Hard disk โดยทำวงจรไฟเลี้ยงสำรอง เพื่อให้เก็บข้อมูลไว้ได้ตอนปิดเครื่อง ทำให้ได้ Hard Disk ความเร็งสูงสุดยอด เป็นต้น คราวนี้คงจะหายสงสัยว่า Rom กับ Ram มันแตกต่างกันอย่างไง

เทคนิคการป้องกัน Spyware ด้วยวิธีที่ง่าย[แก้]


Spyware คือโปรแกรมที่ลักลอบเข้ามาฝังตัวในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราขณะเล่นอินเทอร์เน็ต ท่องไปตามเว็บต่างๆ เก็บข้อมูลส่วนตัวหลาย ๆ อย่างได้แก่ ชื่อ - นามสกุล , ที่อยู่ , E-Mail Address และอื่น ๆ ซึ่งอาจจะรวมถึงสิ่งสำคัญต่าง ๆ เช่น Password หรือ หมายเลข บัตรเครดิต Spyware จะทำการส่งข้อมูลดังกล่าวไปในเครื่องปลายทางที่โปรแกรมได้ระบุเอาไว้ ดังนั้นข้อมูลต่าง ๆ ในเครื่องของเราอาจไม่เป็นความลับอีกต่อไป

เครื่องคอมพิวเตอร์มี Spyware มาได้อย่างไร[แก้]


1. ผู้ใช้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซท์ต่าง ๆ พอเว็บไซท์บอกให้ดาวน์โหลดโปรแกรมก็ดาวน์โหลดตามที่เขาบอกโดยไม่อ่านว่าเป็นอะไร
2. ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรีที่เรียกว่า Freeware มาใช้ โปรแกรมฟรีนั้นมีใช้ก็ดี แต่ก็ควรดูให้ดีเพราะโปรแกรมฟรีหลายตัวจะมีสปายแวร์ติดมาด้วยเป็นของแถม
3. เปิดโปรแกรมที่ส่งมากับอีเมล์ โดยอาจถูส่งในรูปของ Forward mail หรือ เป็น link ให้คลิก

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ติด Spyware[แก้]


1. การติดต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ตช้าผิดปกติ พวกสปายแวร์จะเป็นตัวถ่วงหรืออุดเส้นทางในการเชื่อมต่อเข้ากับกินเตอร์เน็ตของเรา
2. ค่าเว็บไซด์เริ่มต้นหน้าแรกเปลี่ยนไป ปกติเรามักจะกำหนดให้เว็บไซต์ใดเว็บไซต์หนึ่งที่เราใช้งานบ่อย ๆ เป็นค่าเริ่มต้น ทุกครั้งในการเปิดหน้าต่างบราวเซอร์ แต่ Spyware จะเปลี่ยนไปยังหน้าอื่นที่เราไม่ต้องการ และไม่สามารถเข้า URL อื่นได้จนกว่าจะโหลดเสร็จ
3. ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ลดลง เช่น ฮาร์ดดิสก์ทำงานหนักและตลอดเวลา จนการเข้าถึงไฟล์ต่าง ๆ ช้าลงอย่างเห็นได้ชัด
4. มี Pop up ขึ้นมาบ่อยครั้งที่เข้าเว็บ
5. ทูลบาร์มีแถบปุ่มเครื่องมือเพิ่มขึ้น
6. หน้า Desktop มีไอคอนประหลาดๆ เพิ่มขึ้น
7. เมื่อเปิด Internet Explorer หน้าเว็บแรกที่พบ จะไม่ใช่เว็บที่เราเคยเห็นมาก่อน
8. เว็บใดที่เราไม่สามารถเข้าได้ หน้าเว็บโฆษณาของ Spyware จะมาแทนที่

สรุปการทำงาน หรืออาการของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มี Spyware[แก้]


1. มีป้ายโฆษณาเล็ก ๆ ปรากฏขึ้นมา (Adware) หรือที่เรียกว่า pop – up เมื่อเปิดบราวเซอร์อินเตอร์เน็ต ทำให้มีการโหลดอินเตอร์เน็ตช้าลง
2. ขโมยข้อมูลส่วนตัวในเรื่องคอมฯ ของคุณ โดยเฉพาะ username , password ทำให้ไม่สามารถเข้าใช้งานได้
3. เก็บข้อมูลการเข้าเว็บไซต์ต่าง ๆ และเว็บที่คุณชื่นชอบ ส่งไปยังผู้ที่ต้องการ
4. เว็บเริ่มต้นในการทำงาน ถูกเปลี่ยนไป
5. มีโปรแกรมใหม่ ๆ ถูกติดตั้งขึ้นมาโดยที่ไม่ได้มีการติดตั้ง
6. ค้นหาข้อมูลใน Search Engine จะมีความแตกต่างออกไปจากเดิม

วิธีป้องกัน Spayware เบื้องต้น[แก้]


1. ระมัดระวังเรื่องการ Download โปรแกรมจากเว็บไซต์ต่าง ๆ โดยเฉพาะโปรแกรม Freeware
2. ระวังอีเมลล์ ที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการแจกโปรแกรมฟรี เกี่ยวกับการกำจัด Spyware
3. ขณะใช้งานอินเตอร์เน็ต ถ้ามีหน้าต่างบอกให้คลิกปุ่ม Yes ควรอ่านรายละเอียดให้ดี อาจมี Spyware แฝงอยู่ แนะนำให้คลิก No ไว้ก่อน เพื่อความปลอดภัย
4. เมื่อมีหน้าต่าง pop-up ขึ้นมา แนะนำให้คลิก "X" (หมายถึง Close หรือปิดหน้าต่าง) แทนการคลิกปุ่มใด ๆ และโดยเฉพาะบริเวณป้ายโฆษณา นั่นอาจหมายถึงคุณกำลังยืนยันให้มีการติดตั้ง Spyware แล้ว
5. ตรวจสอบ และกำจัด spyware อย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง
6. ใช้งานอินเตอร์เน็ตเฉพาะเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ โดยเฉพาะการให้ข้อมูลสำคัญ เพื่อลงทะเบียน ถ้าไม่มีความจำเป็น ไม่ควรทำการลงทะเบียน
7. เมื่อมีการ Request ให้ติดตั้งโปรแกรม ควรหลีกเลี่ยงและตรวจสอบก่อนคลิกปุ่มใด ๆ โดยอ่านข้อความอธิบายก่อนที่จะทำการคลิก ถ้าจำเป็นต้องติดตั้ง ให้อ่าน คำแนะนำให้รอบคอบ
8. ใช้โปรแกรมตรวจสอบ Spyware เพื่อให้โปรแกรมรายงาน และทำการลบโปรแกรมที่อาจเป็น Spyware ทิ้ง

Spybot - Search & Destroy โปรแกรมกำจัด Spyware ขั้นพื้นฐาน[แก้]


1. Download โปรแกรม คลิก http://www.safer-networking.org
2. ดับเบิ้ลคลิกเพื่อเรียกใช้งานโปรแกรม Spybot- Search & Destroy
3. คลิกปุ่ม Create register backup
4. คลิกปุ่ม Search for updates
5. คลิกเมนู Search & Destroy
6. คลิกปุ่ม Check for problems โปรแกรมจะเริ่มตรวจสอบ และแสดงรายละเอียด Spyware ที่ค้นพบ
7. คลิกเครื่องหมาย " ถูก " หัวข้อที่ต้องการลบ
8. คลิกปุ่ม Fix selected problems ตามด้วยปุ่ม Yes เพื่อลบสปายแวร์ออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์

วิธีการกำจัดไวรัสจากThumb Driveที่ง่ายที่สุด[แก้]


เทคนิดดีๆ ลองทำดูได้ ไม่ใช่เรื่องไสยศาสตร์แต่อย่างใด แต่การกด Shift เป็นการปิดการทำงานของ Auto Run นั่นเองครับ

วิธีนี้เราสามารถตรวจสอบและกำจัดไวรัสในThump Drive ได้แบบวิธีง่ายๆ โดยไม่ต้องใช้โปรแกรมอะไรเลยแต่วิธีนี้จะเป็นการตรวจสอบและกำจัดไวรัสใน Thump Drive เท่านั้น ซึ่งถ้าไวรัสเข้าเครื่องไปแล้วก็คงต้องใช้วิธีอื่นกำจัดไวรัสในเครื่องด้วยครับไม่งั้นก็ติดไปติดมาไม่จบซักที

วิธีการตรวจสอบไวรัส[แก้]

ขั้นแรกจะเป็นวิธีการตรวจสอบไวรัสใน Thump Drive ก่อน โดยให้เรากด Shift ค้างไว้ขณะเสียบ Thump Drive เข้าเครื่อง เมื่อเสียบThump Drive แล้วให้รอประมาณ 10 วินาทีจึงปล่อยปุ่ม Shift ที่ทำเช่นนี้เพื่อไม่ให้เกิดการAutoRunของอุปกรณ์ที่เราเชื่อมต่อ USB เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพราะไวรัสจะแพร่กระจายเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยการ AutoRun ไฟล์ไวรัสที่อยู่ภายใน Thump Drive หรืออาจปิดการทำงาน AutoRun ไปเลยก็ได้

จากนั้นเปิดไปที่ My Computerให้เราคลิกขวาที่ Drive USB ของเราถ้าขึ้น Open (ข้อความบนสุด) แสดงว่าไม่มีไวรัสใน Thump Drive แต่ถ้าขึ้นคำว่า Auto หรือ AutoPlay (ข้อความบนสุด)แสดงว่ามีไวรัสอยู่ภายใน ThumpDrive เพราะเมื่อ เราเสียบ Thump Driveเข้าไป เครื่องก็จะแสดงให้เรา Run ไฟล์ที่ไวรัสสร้างขึ้นมา หรือถ้าดับเบิ้ลคลิกแล้วขึ้นแบบรูปขวามือนี้ก็ แสดงว่ามีไวรัสอยู่เหมือนกัน

ต่อจากนี้จะเป็นวิธีการกำจัดไวรัสในThump Drive โดยให้เข้าไปที่ My Computerแล้วเลือกเมนู Tools --> Folder Options --> View - ให้เราเลือกติ๊ก Show hidden fileand folder - ติ๊กออกที่ Hide extensions for known filetypes - ติ๊กออกที่ Hide protected operating systemfile (Recommended) จากนั้นให้เราไปลบ Folder และ Fileแปลกปลอมที่เป็นเงาและไม่เป็นเงาทั้งหมด กด Shift + Delete ไปเลย

LAN TOPOLOGY[แก้]

เครือข่ายแบบบัส (bus topology)[แก้]

เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยสายเคเบิ้ลยาว ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ โดยจะมีคอนเน็กเตอร์เป็นตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เข้ากับสายเคเบิ้ล ในการส่งข้อมูล จะมีคอมพิวเตอร์เพียงตัวเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้ในช่วงเวลาหนึ่งๆ การจัดส่งข้อมูลวิธีนี้จะต้องกำหนดวิธีการ ที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกัน เพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน วิธีการที่ใช้อาจแบ่งเวลาหรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่ สัญญาณที่แตกต่างกัน การเซตอัปเครื่องเครือข่ายแบบบัสนี้ทำได้ไม่ยากเพราะคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์แต่ละชนิด ถูกเชื่อมต่อด้วยสายเคเบิ้ลเพียงเส้นเดียวโดยส่วนใหญ่เครือข่ายแบบบัส มักจะใช้ในเครือข่ายขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ในองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์ใช้ไม่มากนัก

  • ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบบัส คือ ใช้สื่อนำข้อมูลน้อย ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบโดยรวม แต่มี
  • ข้อเสียคือ การตรวจจุดที่มีปัญหา กระทำได้ค่อนข้างยาก และถ้ามีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมากเกินไป จะมีการส่งข้อมูลชนกันมากจนเป็นปัญหา

ข้อจำกัด คือ จำเป็นต้องใช้วงจรสื่อสารและซอฟต์แวร์เข้ามาช่วยเพื่อหลีกเลี่ยงการชนกันของสัญญาณข้อมูล และถ้ามีอุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่งเสียหาย อาจส่งผลให้ทั้งระบบหยุดทำงานได้

เครือข่ายแบบวงแหวน (ring topology)[แก้]

เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้วยสายเคเบิลยาวเส้นเดียว ในลักษณะวงแหวน การรับส่งข้อมูลในเครือข่ายวงแหวน จะใช้ทิศทางเดียวเท่านั้น เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งส่งข้อมูล มันก็จะส่งไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องถัดไป ถ้าข้อมูลที่รับมาไม่ตรงตามที่คอมพิวเตอร์เครื่องต้นทางระบุ มันก็จะส่งผ่านไปยัง คอมพิวเตอร์เครื่องถัดไปซึ่งจะเป็นขั้นตอนอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะถึงคอมพิวเตอร์ปลายทางที่ถูกระบุตามที่อยู่

  • ข้อดีของเครือข่ายแบบวงแหวนคือ ใช้สายเคเบิ้ลน้อย และถ้าตัดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เสียออกจากระบบ ก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบเครือข่ายนี้ และจะไม่มีการชนกันของข้อมูลที่แต่ละเครื่องส่ง
  • ข้อเสียการตรวจหาข้อผิดพลาดของระบบทำได้ยาก ในกรณีที่สายส่งข้อมูลเกิดเสียหายจะทำให้ระบบ ทั้งระบบไม่สามารถทำงานได้
  • ข้อจำกัด ถ้าเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย อาจทำให้ทั้งระบบหยุดทำงานได้

เครือข่ายคอมแบบดาว(Star Network)[แก้]

เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เข้ากับอุปกรณ์ที่เป็น จุดศูนย์กลาง ของเครือข่าย โดยการนำสถานีต่าง ๆ มาต่อร่วมกันกับหน่วยสลับสายกลางการติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ ด้วยการ ติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วนสลับสายกลางการทำงานของหน่วยสลับสายกลางจึงเป็นศูนย์กลางของการติดต่อ วงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานีต่าง ๆ ที่ต้องการติดต่อกัน

  • ข้อดี คือ ถ้าต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ก็สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบต่อเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในระบบ
  • ข้อเสีย คือ ค่าใช้จ่ายในการใช้สายเคเบิ้ลจะค่อนข้างสูง และเมื่อฮับไม่ทำงาน การสื่อสารของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบก็จะหยุดตามไปด้วย
  • ข้อจำกัด ถ้าฮับเสียหายจะทำให้ทั้งระบบต้องหยุดซะงัก และมีความสิ้นเปลืองสายสัญญาณมากกว่าแบบอื่นๆ

เครือข่ายแบบเมซ (Mesh Topology)[แก้]

โทโปโลยีเมซคือ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แบบสมบูรณ์ กล่าวคือ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่ายจะเชื่อมต่อถึงกันหมดโดยใช้สายสัญญาณทุกการเชื่อต่อ วิธีการนี้จะเป็นการสำรองเส้นทางเดินทางข้อมูลได้เป็นอย่างดี เช่น ถ้าสายสัญญาณเส้นใดเส้นหนึ่งขาด ก็ยังมีเส้นทางอื่นที่สามารถส่งข้อมูลได้ นอกจากนี้ยังเป็นระบบที่มีความเชื่อถือได้สูง แต่ข้อเสียก็คือ เครือข่ายแบบนี้จะใช้สัญญาณมาก ดังนั้น ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบก็เพิ่มขึ้น ในการเชื่อมต่อจริงๆ นั้นการเชื่อมต่อแบบเมซนั้นมีการใช้งานน้อยมาก

  • ข้อดี ในกรณีสายเคเบิ้ลบางสายชำรุด เครือข่ายทั้งหมดยังสมารถใช้ได้ ทำให้ระบบมีเสถียรภาพสูง นิยมใช้กับเครือข่ายที่ต้องการเสถียรภาพสูง และเครือข่ายที่มีความสำคัญ
  • ข้อเสีย สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และสายเคเบิ้ลมากกว่าการต่อแบบอื่น ๆ ยากต่อการติดตั้ง เดินสาย เคลื่อนย้ายปรับเปลี่ยนและบำรุงรักษาระบบเครือข่าย


WAN TOPOLOGY[แก้]

เครือข่ายแบบสลับวงจร (Circuit–Switching Network)[แก้]

การทำงานของ Circuit Switch เป็นเทคนิคที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลแบบหนึ่งโดยที่เมื่อต้องการส่งข้อมูลจะต้องสร้างเส้นทางเสียก่อน และฝั่งที่รับข้อมูลจะต้องตอบกลับมาก่อนว่าพร้อมที่จะรับข้อมูลแล้วจึงจะเริ่มรับส่งข้อมูลได้ และเมื่อสร้างเส้นทางในการรับส่งข้อมูลเรียบร้อย ตลอดเวลาของการสื่อสารจะใช้เส้นทางเดิมตลอดและคนอื่นไม่สามารถใช้เส้นทางนี้ได้ และจากรูปจะเห็นว่าในระหว่างเส้นทางของการสื่อสารแบบ Circuit Switch จะมีการเชื่อมต่อทางกายภาพของวงจรแบบจุดต่อจุด และเมื่อรับส่งข้อมูลเสร็จจะต้องยกเลิกเส้นทางที่ใช้สื่อสาร เพื่อให้ผู้ใช้อื่นสามารถใช้เส้นทางในการสื่อสารได้ ค่าใช้จ่ายของการสื่อสารแบบ Circuit Switch จึงขึ้นอยู่กับระยะทาง และระยะเวลาที่ใช้เครือข่าย แต่จะไม่ขึ้นอยู่กับปริมาณของข้อมูล ตัวอย่างเครือข่ายที่ทำงานแบบ Circuit Switch เช่นเครือข่ายของโทรศัพท์เป็นต้น

  • ข้อดีของ Circuit Switch คือความเร็วในการส่งข้อมูลที่คงที่ มี Delay น้อย ซึ่ง Delay ที่เกิดขึ้นมีเพียง Propagation Delay คือเวลาที่ข้อมูลวิ่งอยู่ในสายสัญญาณ และ Delay ที่ Node ถึงถือว่าน้อยมาก เพราะที่ Node มีการเชื่อมต่อกันแบบ Point-to-Point และถึงแม้จะมีผู้ใช้งานในระบบมากความเร็วในการส่งข้อมูลก็ไม่ลดลง
  • ข้อเสียของ Circuit Switch คือ ต้องมีการเชื่อมต่อกันทุกๆจุดที่มีการติดต่อกัน ทำให้เสียเวลาบางส่วนในการติดต่อแต่ละครั้ง ซึ่งถ้าระหว่างเส้นทางมีจุดใดจุดหนึ่งหยุดทำงาน จะไม่สามารถหาเส้นทางที่จะทำงานต่อได้ และถ้ามีผู้ใช้งานพร้อมๆกัน มักจะทำให้เครือข่ายไม่ว่างได้

เครือข่ายแบบแพ็กเกตสวิตชิง (packet switching technology)[แก้]

เป็นวิทยาการใช้ในการติดต่อสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายดิจิตอลความเร็วสูง แพ็กเกตสวิตชิงเป็นเทคนิคในการหาเส้นทางให้กับแต่ละ แพ็กเกต (packet) ที่มีจุดหมายปลายทางต่างกัน ปลายทาง คือ DTE ( Data Terminal Equipment ) อุปกรณ์ที่ช่วยถ่ายทอดข่าวสารคือ DCE ( Data Communication Equipment )
แพ็กเกตสวิตชิงใช้หลักการ Store & Forword การรับส่งข้อมูลจะเรียกหน่วยย่อยว่า "แพ็กเกต(Packet)" โดยจะทำงานแบบไม่ต้องรอให้ ข้อมูล (message) ครบทั้งหมดก่อนค่อยส่งข้อมูลออกไป ทั่วไปแล้ว แต่ละ Packet จะมีความยาวประมาณ 64 Byte (512 bits) ต่อหนึ่ง Packet ซึ่งเป็นข้อดีเพราะว่าแต่ละ Packet มีขนาดเล็ก ทำให้ชุมสายใช้เวลาน้อยในการส่งแต่ละ Packet ส่งผลให้การ รับ-ส่ง Packet เป็นไปได้อย่างรวดเร็วมากเหมาะกับการทำงาน On-Line ตลอดเวลาหรือ interactive ตลอดเวลาแต่ละ packet จะมีโครงสร้างง่ายๆ ประกอบไปด้วยส่วนที่ถูกเพิ่มเติม(Packer Overhead) และส่วนที่เป็นข้อมูลของผู้ใช้งาน (User Date) ส่วน Packer Overhead ประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับ Address (ฝั่งปลายทาง)ซึ่งแต่ละ node หรือแต่ละชุมสายที่ใช้งานรับส่งข้อมูลจำเป็นจะต้องใช้ ข้อมูลนี้ตลอดการรับส่ง Layer ของ การทำงานของ packet switching ทำหน้าที่จัดหาเส้นทาง จากเส้นทาง(ต้นทาง) ไปยังเส้นทาง(ปลายทาง) Packet Switching สามารถนำไปใช้ได้กับเครื่อง ATM (Asynchronous Transfer Mode) และสามารถนำไปใช้กับ โทรศัพท์มือถือได้ด้วยบริการที่เรียกว่า GPRS สำหรับการส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย Packet Switching ข้อมูลจะถูกส่งออกไปทีละ packet เรียง ลำดับตามกันถ้ามีข้อผิดพลาดใน packet ขึ้นทำให้การส่งข้อมูลในเครือข่าย Packet Switching สามารถ ทำงาน ได้เร็วมากจนดูเหมือนกับไม่มีการเก็บกักข้อมูลเลยสวิตชิ่งนั้นก็จะทำการร้องขอให้สวิตชิ่ง ก่อนหน้านั้นส่งเฉพาะ packet ที่มีความผิดพลาดนั้นมาให้ใหม่ และไม่จำเป็นจะต้องรอให้ผู้ส่งทำ การส่งข้อมูลมาให้ครบทุก packet แล้วจึงค่อยส่งข้อมูลไป Packet Switching นั้นมีประสิทธิภาพมากในการสื่อสาร การสื่อสารแบบเป็น Packet Switching มีประสิทธิภาพสูงทั้งในด้านกระบวนการทำงาน และการติดต่อระหว่างเครื่อง Server ทั้งสองเครื่องPacket Switching technology นี้ข้อมูลทั้งหมดจะถูกแบ่งเป็นส่วนย่อยๆ เรียกว่า packet แล้วทำการเพิ่มส่วนรายละเอียดที่จะบอกถึงลำดับของส่วนย่อยและ ผู้รับปลายทาง แล้วส่งไปยังทุกๆเส้นทางโดยกระจัดกระจายแยกกันไปโดย จะมีอุปกรณ์ที่แยกและตรวจสอบว่าสายที่จะส่งไปนั้นว่างถ้าว่างจึงส่งไป เมื่อส่วนย่อยของสารข้อมูลทั้งหมดมาถึงปลายทางฝั่งผู้รับก็จะนำมารวมกันเป็นข่าวสารชิ้นเดียวกันการส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย Packet Switching ข้อมูลจะถูกส่งออกไปทีละส่วนย่อยเรียงตามลำดับ ภายในการส่งข้อมูลในเครือข่าย Packet Switching สามารถทำงานได้รวดเร็วมากจนเหมือนกับไม่มีการเก็บข้อมูลเลย ถ้าเกิดผิดพลาดจะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ Layer ที่สูงกว่าจัดการให้ และจะไม่รอให้ผู้ส่งทำการส่งข้อมูลให้ครบทุกส่วนย่อยก่อนค่อยส่งข้อมูลไป
เทคโนโลยีของ Packet Switching Time Domain Multiplexing ระบบ TDM เป็นการมัลติเพล็กซ์ที่แต่ละช่องสัญญาณมีแบนด์วิดธ์แบบคงที่ (Fixed Bandwidth) ซึ่งจะใช้ งานได้ดีมากสำหรับการรับส่งที่ต้องการอัตราบิตที่ต่อเนื่อง (Continous Bit Rate : CBR) เช่น traditional voice and video แต่ถ้าจะใช้งานกับข้อมูลของระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีการจราจร(traffic) เป็นแบบ bursts traffic (ทราฟฟิกที่มีขนาดไม่คงที่คืออาจจะมีการเปลี่ยนแปลงขนาดอย่างฉับพลัน)

  • ข้อดีของ Packet Switching

-รับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูง และใช้เวลาในการ ส่งข้อมูลน้อยเหมาะสำหรับการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย LAN หลายๆ เครือข่ายเข้าด้วยกันเช่น WAN -มีความผิดพลาดในการรับส่งข้อมูลน้อยมากๆ -สามารถลดประสิทธิภาพคอมพิวเตอร์ให้มีขนาดเล็กลง และสามารถกระจายศูนย์ กลาง ประมวลผลได้ -สามารถรองรับการเชื่อมต่อกับเครือข่ายที่องค์กรใช้งาน เช่น ICP/IP -ควบคุมค่าใช้จ่ายได้คงที่แน่นอน -รับประกันความรวดเร็วในการส่งข้อมูล (Committed Information Rate ; CIR)

  • ข้อเสียของ Packet Switching

-delay time ที่มากขึ้นเมื่อมีผู้ใช้งานมากขึ้น (กรณีที่ traffic ที่ผ่านเครือข่ายสูง) ซึ่ง -สามารถแก้ไข ได้โดยกการ เพิ่มจำนวนวงจรเชื่อมโยงระหว่างชุมสาย (หมายถึงวงจร -จริงที่จับต้องได้คือเป็น physical circuit )ให้ มากขึ้นใน -กรณีที่มี traffic ผ่านมากๆ หรือเพิ่ม capacity ของชุมสายให้สามารถรองรับปริมาณ traffic สูงๆ ได้ หรืออาจใช้การปรับเปลี่ยน parameter ต่างๆใน routing algorithm ในแต่ละชุมสายให้เหมาะสมกับปริมาณ traffic ซึ่งจะเป็นการกระจาย traffic ไปผ่านชุมสายต่างๆแทนที่จะไปผ่าน ชุมสาย ใดชุมสายหนึ่งโดยเฉพาะซึ่ง -อาจจะทำให้เกิดสภาวะคอขวด (bottle neck) หรือเกิดการ congestion ขึ้นภายในเครือข่ายได้

เครือข่ายแบบเมสเซจสวิตชิง (Message Switching)[แก้]

เป็นระบบการสื่อสารข้อมูลที่มีความชาญฉลาดมากขึ้น การทำงานในระบบผู้ส่งจะส่ง Message ไปยัง node แรก เมื่อ node แรกได้รับข้อมูลจะเก็บข้อมูล(ไว้ใน Buffer) และติดต่อไปยัง node ต่อไป เมื่อหาเส้นทางไปยัง node ต่อไปได้แล้ว ก็จะทำการส่งข้อมูลที่เก็บไว้ใน Buffer ออกไปยัง node นั้น และไปจนกว่าจะถึงปลายทางเรียกว่า Stort และ Forward ข้อดี:ระบบ Message Switching การใช้สายมีประสิทธิภาพมากขึ้น การติดต่อระหว่างผู้เรียกกับผู้ถูกเรียกมีการรับประกันเรื่องความถูกต้อง ข้อเสีย:มีการหน่วยเวลา (Delay) ระหว่างผู้เรียกกับผู้ถูกเรียกไม่เหมาะกับงานที่โต้ตอบทันทีเพราะมีการหน่วงเวลาสูงการส่งข้อมูลมีขนาดใหญ่ ทำให้มีการใช้ช่องสัญญาณเป็นเวลานาน รูปที่ 3 เมสเสจสวิตชิงมีการจับจองหนึ่งเส้นทางเพื่อถือครองในช่วงเวลาหนึ่ง
ขั้นตอนแรก S ได้มีการส่งผ่านเส้นทางไปยัง a จากนั้น a ก็จะมีการจัดเก็บข้อมูลไว้ชั่วคราว ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวเส้นทาง จาก S ไปยัง a นั้นจะถูกปลดออก ทำให้ผู้อื่นสามารใช้เส้นทางได้ จากนั้น a ก็จะส่งเมสเสจนั้นไปยัง c และทำเช่นนี้เรื่อยไปจนกระทั่งถึงปลายทาง T ซึ่งเป็นการถือครองเส้นทางในการส่งข่าวสารในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น

OSI model + TCP/IP model[แก้]

-- OSI Model - --------------- TCP/IP ------------------------
7 Application Application FTP,Telnet,HTTP,
SMTP,SNMP,DNS,etc
6 Presentation Application FTP,Telnet,HTTP,
SMTP,SNMP,DNS,etc
5 Session Application
Host-to-Host
TCP UDP
4 Transport Host-to-Host TCP UDP
3 Network Internet ICMP,IGMP
Ip
2 Data link Network Access Not Specified
1 Physical Network Access Not Specified

หน้าที่การทำงานของชั้นสื่อสาร[แก้]

ลำดับชั้น ชื่อชั้นสื่อสาร หน้าที่ของชั้นสื่อสาร
1. Physical เคลื่อนย้ายข้อมูลระดับบิตจากโหนดหนึ่งไปยังโหนดถัดไป
2. Data link เคลื่อนย้ายเฟรมจากโหนดหนึ่งไปยังโหนดถัดไป
3. Network ส่งมอบแพ็กเก็ตจากโฮสต์หนึ่งไปยังโฮสต์ปลายทาง
4. Transport ส่งมอบข่างสารจากโปรเซสต้นทางไปยังโปรเซสปลายทาง
5. Session ควบคุมการสื่อสารและการซิงโครไนซ์
6. Presentation แปลงข้อมูล เข้ารหัสข้อมูล และบีบอัดข้อมูล
7. Application จัดการงานบริการให้แก่ผู้ใช้