ผู้ใช้:เอื้อง/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระยาเบิก กษัตริย์ปกครองเมืองเขลางค์พระองค์สุดท้ายในยุคแรกของเขลางค์นคร ประวัติ

:ตามประวัติในพงศาวดารโยนกกล่าวไว้ว่า ในปี จ.ศ.๖๒๔ (พ.ศ.๑๘๐๕) พระยาเม็งราย[1] ได้สร้างเมืองเชียงรายขึ้น และทรงเห็นว่าล้านนาไทยนี้ แยกเป็นหลายวงศ์ ควรรวบรวมเป็นแผ่นดินเดียวกันเสีย ดำริแล้วจึงยกทัพไปตีเมืองมอบไร เมืองฝาง เมืองเชียงของและเมืองเชิง ต่อมาจะตีเมืองหริภุญชัย เพราะทรงเห็นว่าเป็นเมืองที่คับคั่งเมืองหนึ่ง แต่ขุนนางของพระยาเม็งราย ชื่อขุนฟ้า ได้คัดค้านว่าคงจะเป็นการยาก  เพราะกำลังข้าศึกของเมืองหริภุญชัยนั้นเข้มแข็งนัก ควรใช้อุบายยุยงให้แตกกันเสียก่อนจึงจะสามารถเข้าตีชิงเมืองได้โดยง่าย  ครั้นแล้วพระยาเม็งรายจึงทำอุบายเนรเทศขุนฟ้าให้ออกจากเมืองฐานขบถ ขุนฟ้าจึงแฝงตัวเข้าไปอยู่เมืองหริภุญชัยและใช้อุบายต่างๆ ขอรับราชการอยู่กับ พระยายีบาเจ้าเมืองหริภุญชัยนานถึง ๗ ปี ได้ทำอุบายต่างๆ ให้พระยายีบากฎขี่ราษฎร จนชาวเมืองพากันเกลียดชังพระยายีบา 
:ครั้นแล้ว พระยาเม็งรายก็ยกทัพไปตีเมืองหริภุญชัยได้โดยง่าย เมื่อปี จุลศักราช ๖๔๓ (พ.ศ.๑๘๒๔) ส่วนพระยายีบาหนีมาอยู่กับ พระยาเบิกเจ้าเมืองเขลางค์[2] ผู้เป็นโอรส โดยที่พระยาเบิกได้หาหนทางที่จะตีชิงเมืองหริภุญชัยถวายคืนแก่พระราชบิดา ส่วนพระยาเม็งรายรู้ข่าว ก็ได้ให้เจ้าขุนสงคราม ผู้เป็นโอรสทรงช้างชื่อแก้วไชยมงคล ออกรับศึก ทั้งสองได้ทำยุทธหัตถีกันที่ บ้านขัวมุงขุนช้างพลายปานแสนพล ติดน้ำมันหน้าหลังไสเข้าชนกับ ช้างที่นั่งของเจ้าขุนสงคราม ๆได้ล่างแทงถูกพระยาเบิก พระยาเบิกก็เกี่ยวช้างแล่นหนี ฝ่ายกองทัพของพระยาเบิกมีมาก ก็ช่วยป้องกันช้างพระที่นั่งออกมาได้
:แต่ภายหลังเจ้าขุนสงครามได้รวมทัพเป็นกองใหญ่ และยกทัพติดตามจนกระทั่งมาทันพระยาเบิกที่เขตแม่ตาน ชายแดนหริภุญชัยกับเมืองเขลางค์นคร ทั้งสองฝ่ายได้รบพุ่งกันอีกจนเป็นที่สุดความสามารถ เจ้าขุนสงครามจับกุมตัวพระยาเบิกได้จึงปลงพระชนน์ในที่นั้น และเมื่อเหล่าทหารชาวเขลางค์นครทราบข่าว ก็พยายามเข้าชิงพระศพขอพระยาเบิก หมายจะนำกลับไปประกอบพิธีให้สมพระเกียรติ หากแต่ฝ่ายทหารของเจ้าขุนสงครามติดตามมาอย่างกระชั้นชิด เมื่อเข้าเขตเขลางค์จึงได้ทำการฝังพระศพของพระยาเบิกชั่วคราว ที่ชายป่าริมฝั่งแม่น้ำตาน...ฯ
:ด้วยจิตใจอันกล้าหาญและเต็มเปี่ยมไปด้วยความกตัญญูกตเวทิตาของพระยาเบิกในครั้งนั้น จึงทำให้เป็นที่เลื่องลือและนับถือของผู้ที่ทราบข่าว และในภายหลังต่อมาจึงได้รับการขนานนามว่า “เจ้าพ่อขุนตาน” ตามชื่อสถานที่ๆพระองค์เสียชีวิต

เรื่องเล่าจากพระกรรมฐาน

:พระยาเบิกเป็นผู้ที่มีความสามารถในวิชาอันสูงส่งหรือชาวบ้านเรียกว่า ท่านเป็นผู้มีอิทธิฤทธิ[3] เหนือบุคคลธรรมดา ความจริงแล้วไม่มีใครสามารถทำอะไรท่านได้ ท่านเป็นนักรบที่เก่งฉจาก ทั้งฝีมือและการรบ มีวิชาคงกระพันชาตรี[4][5] ฟันแทงไม่เข้าและการแปรธาตุต่างๆ รวมทั้ง ทอง จากการสู้รบที่ต้องเป็นฝ่ายยอมจำนนแก่ทัพพระยามังราย ซึ่งเจ้าขุนสงครามเป็นแม่ทัพ และขุนฟ้า ทหารเอกที่มีความเก่งฉกาจไม่แพ้ ด้วยเหตุเพราะผู้ติดตามร่วมรบที่มีความสามารถ ความจงรักและภักดีได้ถูกจับกุมตัวเสียหลายคน และฝ่ายขุนฟ้าที่ติดตามพระยาเบิกมาทันต้องการจับกุมตัวพระองค์ เพื่อต้องการวิชาแปรธาตุจากท่าน ท่านทรงทราบหากวิชานี้ตกถึงมือผู้อื่น จะไม่เป็นผลดี ยิ่งตกอยู่ในมือผู้ที่มีจิตใจของความโลภโมโทสรร
:จึงทำทีตกลงกับฝ่ายตรงข้ามว่า จะยอมให้จับกุม เพื่อแลกเปลี่ยนชีวิตของข้าราชบริภารเหล่านั้น แต่ก็ทรงทราบอาจไม่เป็นเช่นนั้น แต่ไม่มีทางเลือกอื่น เมื่อยอมถูกจับกุมแล้ว ฝ่ายแม่ทัพก็สั่งฆ่าพวกข้าราชบริภารทั้งหมด เพื่อไม่ให้ใครได้ล่วงรู้สิ่งที่ตนเองพึงประสงค์ จึงฆ่าทหารฝ่ายตนเองเสียหมดเพื่อปิดปาก ส่วนพระยาเบิกเห็นเป็นเช่นนั้นจึงได้ตัดสินใจกระโดดหน้าผาปริดชีวิตตนเองที่ขุนตานเสีย  เพราะไม่มีใครสามารถฆ่าท่านได้ เพื่อไม่ให้คนที่มีจิตใจชั่วร้ายได้ครอบครองวิชานี้ ไปทำในสิ่งที่เป็นภัยต่อผู้อื่น

การปกครอง

เป็นการปกครองแบบเมตตาธรรม สันนิษฐานจากการอ้างอิงตามข้อมูลการวิจัยต่างๆ ว่าด้วยความเชื่อความศรัทธาจากชาวบ้าน มีประเพณีที่สืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่นจากจิตสำนึก ผ่านพิธีกรรมต่างๆ ด้วยจิตวิญญาณและความเชื่อของท้องถิ่น เพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีที่พระองค์ทรงทำเพื่อชาวเมืองเขลางค์นคร

ประเพณี

พิธีกรรมที่สำคัญคือ "พญาท้ายน้ำ"[6]

ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับเจ้าพ่อขุนตาน - เดือน ๕ ออก ๖ ค่ำ ถวายไก่ ๑๒ คู่ ณ หอเจ้าพ่อขุนตาน - เดือน ๖ ออก ๑๕ ค่ำ ถวายปลาส้าจากวังอี่นาครั้งละ ๒๘ ตัว ณ หอเจ้าพ่อขุนตาน - เดือน ๗ วันพญาวัน แห่หอผ้ากัณฑ์เทศน์เจ้าพ่อขุนตานไปถวายวัดห้างฉัตร - เดือน ๗ วันพญาวัน ถวายปลาส้าจากโหลงใหม่ครั้งละ๓๖ตัว ณ หอเจ้าพ่อขุนตาน - เดือน ๗ วันปากปี จุดบอกไฟถวายเจ้าพ่อ - เดือน ๘ ออก ๑๕ ค่ำ แห่หอผ้าไปถวายงานประเพณีวัดพระธาตุดอยน้อย(สันทราย) - เดือน ๘ แรม ๘ ค่ำ แห่หอผ้าไปถวายงานประเพณีวัดพระธาตุดอยนาย(ปางม่วง) - เดือน ๙ ออก ๑๔ ค่ำ ประเพณีแห่ช้างเผือกจากพญาท้ายน้ำ บ้านลำปางหลวง ไปแท่น ช้างเผือกเวียงลม - เดือน ๙ ออก ๑๕ ค่ำ ถวายไก่ ๑๒ คู่และจุดปอกไฟถวาย ณ หอเจ้าพ่อขุนตาน - เดือน ๑๐ แรม ๗ ค่ำ ถวายไก่ ๑๒ ตัว หมู ๑ ตัว พิธีไขประตูดอย ริมฝั่งน้ำแม่ตานใกล้ วัดพระธาตุดอยนาย(ปางม่วง) - เดือน ๑๐ แรม ๑๓ ค่ำ เลี้ยงเหล้า และไก่ ๒ ตัว แด่อารักษ์ผู้รักษาต้น และลำห้วยพิธีเลี้ยง ห้วยเลี้ยงฮ่อง ณ สบต่าง ๆ จำนวน ๕ สบ จนถึงเทือกเขา ขุนตาน - เดือน ๑๐ แรม ๑๔ ค่ำ ถวายไก่ ๑๒ ตัว หมู ๑ ตัว ณ สบลอง บ้านปางปง

- วันที่ ๑๒ พฤษภาคมทุกปี ประเพณีบวงสรวงเจ้าพ่อขุนตาน ณ อุทยานประวัติศาสตร์เจ้าพ่อขุนตาน เวียงตาน โดยมีวัตถุประสงค์คือ

        เพื่อเป็นการรำลึกถึงเกียรติคุณความดี และวีรกรรมของเจ้าพ่อขุนตาน
        เพื่อเป็นการร่วมแสดงพลังความสามัคคีของท้องถิ่น
        เพื่อเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นให้ดำรงสืบไป
        เพื่อเป็นสิริมงคลแด่บ้านเมือง ข้าราชการ เหล่าบรรดาผู้สืบตระกูล และประชาชนชาวลำปาง
        ข้อมูล   สภาวัฒนธรรมอำเภอห้างฉัตรกับสภาวัฒนธรรมตำบลเวียงตาล
  1. 1 พระยาเม็งราย ผู้ที่มาตีเมืองเชียงใหม่ในปีพ.ศ.๑๗๓๔ หลายส่วนจะบันทึกเป็นพระยามังราย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งพระองค์ ก่อนหลายสมัยนับเป็นพันปีได้ ซึ่งประวัติศาสตร์การตีเมืองจะคล้ายกัน
  2. 2เขลางค์ในภาษาบาลี สมัยก่อนเรียกว่าลัมภกัปปะ เวียงลคอร ละกอน หรือจาวละครซึ่งหมายถึงชาวนคร ,เรื่องประวัติจังหวัดลำปาง,(on-line), http://www.lampang.go.th/lamp.html
  3. 3 ภัทรา มาน้อย, ตอน"ความรู้สู่...วัฒนธรรม"(on-line) การจัดการความรู้อย่างอิสระ : ชุดการเรียนรู้สู่ชีวิต น้ำแม่ตาน แหล่งอาหาร แหล่งวัฒนธรรม, ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถ่ิน, จังหวัดลำปาง http://culturelampang-chit130512.blogspot.com/2010/01/blog-post_10.html
  4. 4ดวงสมร ขอบคำ , 10ม.ค.2553 (on-line) " โครงการสืบค้นประวัติศาสตร์วัฒนธรรม ตำนานเจ้าพ่อขุนตาน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนบ้านห้างฉัตร, จังหวัดลำปาง,http://culturelampang-chit130512.blogspot.com/2010/01/blog-post_10.html
  5. 5ประวัติเจ้าพ่อขุนตาน , 2554 (on-line) หน้า 2 http://www.lampang.go.th/public54/khuntan12may54.pdf
  6. 6ภัทรา มาน้อย "พญาท้ายน้ำ" สืบสานตำนานแห่ช้างเผือก, 29 มิถุนายน 2550,(on-line)http://www.lannacorner.net/lanna2012/article/article.php?type=A&ID=454