ผู้ใช้:เจนรินทร์ สุขสุทธิ์/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การบริหารภาครัฐ(สิงคโปร์)[แก้]

ประวัติประเทศสิงคโปร์[แก้]

         ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ตามบันทึกของชาวจีนในศตวรรตที่3 ได้กล่าวว่าสิงคโปร์เป็นเกาะที่เรียกว่า "Pu Luo Chaung (ผูลัวจง)" มาจากภาษามาเลย์ว่า "Pulau Ujong (ปูเลาจง) ซึ่งแปลว่า เกาะปลายสุด นอกจากนี้เกาะนี้ยังมีชื่อว่า "Singapura (สิงกะปุระ) แปลว่า ดินแดนสิงโต เป็นชื่อมาจากเจ้าชายที่ชื่อ Srivijava ที่เห็นว่าเกาะสิงคโปร์มีลักษณะคล้ายสิงโต แม้ว่าจะไม่มีสิงโตที่นั่นเลยก็ตาม แล้วชื่อนี้ก็เปลี่ยนเป็น "Singapore (สิงคโปร์)" ตามการออกเสียงในภาษาอังกฤษ ในอดีตที่ตั้งของประเทศสิงคโปร์อยู่ตอนใต้สุดของช่องแคบยะโฮร์และเชื่อมกับช่องแคบมะละกา จึงทำให้สิงคโปร์มีควมสัมพันธ์เชิงพาณิชย์ และสามารถขยายเส้นทางเดินเรือระหว่างเอเชียไปจนถึงทวีปยุโรป จากการที่พื้นที่ของประเทศสิงคโปร์ซึ่งจัดได้ว่าเป็นศูนย์การค้าจึงทำให้เป็นที่หมายปองของมหาอำนาจต่างๆ[1]
            สิงคโปร์มีบทบาทและความสำคัญมากขึ้นในประวัติศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ปี ค.ศ.1819 เป็นต้นมา เมื่อชาวอังกฤษคือเชอร์ โทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ ได้ก่อตั้งท่าเรื่ออังกฤษในสิงคโปร์ จึงทำให้สิงคโปร์เป็นท่าเรือที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ในช่วงสงครามโลกครั้งที่2 สิงคโปร์ได้ถูกยึดครองโดยญี่ปุ่น ในปีค.ศ. 1942-1945 ภายหลังสิงคโปร์ก็กลับมาอยู่ในการควบคุมของอังกฤษ โดยสิงคโปร์ได้รับสิทธิ์จากอังกฤษในการปกครองตนเองมากขึ้น ต่อมาในปี 1959 สิงคโปร์ได้เป็นรัฐในการปกครองตนเองเต็มที่ (Self-governing state) และได้เกิดการเลือกตั้งภายในประเทศ ซึ้งผลการเลือกตั้งปรากฏว่า นาย ลี กวน ยิว ชนะการเลือกตั้งจาก พรรคกิจประชา และได้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตนแรกของสิงคโปร์[2]
            ปัจจุบันนับตั้งแต่ก่อตั้งประเทศสิงคโปร์เป็นเวลา 48 ปี สิงคโปร์มีผู้นำการปกครองเพียง 3 คนเท่านั้น ผู้นำคนแรกคือนายลี กวน ยิว (Lee Kuan Yew) มีระยะเวลาในการปกครองประเทศ 25 ปี นับตั้งแต่ปี 1965-1990 ซึ่งเป็นยุคแห่งการสร้างชาติหลังจากที่ได้รับเอกราชและจัดตั้งสาธารณรัฐ ผู้นำคนที่ 2 คือนายโก๊ะ จ๊ก ตง (Goh Chok Tong) นับตั้งแต่ปี 1990-2004 เป็นยุคที่เศรษฐกิจรุ่งเรืองที่สุดแม้ว่าจะมีวิกฤตทางเศรษฐกิจมากแค่ไหนก็ตาม และผู้นำคนที่ 3 คือนายลี เซียน ลุง (Lee Hsien Loong) ซึ่งเป็นบุตรของนายลี กวน ยิว ปกครองตั้งแต่ปี 2004 จนถึงปัจจุบัน เริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2547 และได้รับการยกย่องว่าเป็น "ผู้นำที่มีอำนาจบารมี" [3]

ความหมายของการบริหารภาครัฐ[แก้]

            'การบริหารภาครัฐ หมายถึง กระบวนการการบริหารราชการ การกำหนดและการนำนโยบายของรัฐไปปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของรัฐ โดยการดำเนินงานของรัฐบาลเพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศและสามารถปฏิบัติงานในการให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการดำเนินกิจกรรมของรัฐ คือการให้บริการสาธารณะประโยชน์แก่ประชาชนโดยรวมถึงการป้องกันประเทศ การปกป้องชายแดน การศึกษาและการให้บริการทางด้านสาธารนูปโภค และโครงสร้างพื้นฐานสำหรับประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกสบายในการดำรงชีวิต และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น [4]

ระบอบการปกครอง[แก้]

               สิงคโปร์มีการปกครองโดยใช้ระบอบประชาธิปไตย แบบสาธารณะรัฐมีรัฐสภา โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล มีรัฐสภา ซึ่งเป็นระบบสภาเดี่ยว ทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ รัฐบาลเป็นผู้ใช้อำนาจบริหาร โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ และมีศาลสูงสุดเป็นผู้ใช้อำนาจตุลาการ สิงคโปร์นั้นได้รับเอาระบบรัฐสภาของอังกฤษมาใช้ในประเทศ แต่ก็ได้ปรับเปลี่ยนให้มีการสอดคล้องกับการเมืองภายในประเทศ ซึ่งนายกรัฐมนตรีมีบทบาทสำคัญในการบริหารประเทศ และมีรัฐสภาในการถ่วงดุลอำนาจในการอภิปรายไม่ไว้วางใจของรัฐบาล และมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ[5]
                    ฝ่ายบริหาร
               ในสิงคโปร์ผู้ที่ใช้อำนาจในการบริหาร ประกอบด้วย ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี
  ประธานาธิบดีของสิงคโปร์จะมาจากการเลือกตั้งของประชาชนและดำรงตำแหน่ง 6 ปี มีอำนาจในการแต่งตั้งและถอดถอนนายกรัฐมนตรี ประกาศยุบสภา และประกาศภาวะฉุกเฉิน ประธานาธิบดีจะลือกนายกรัฐมนตรีจากเสียงข้างมากในรัฐสภา นายกรัฐมนตรีจะมีอำนาจในการเลือกรัฐมนตรีเอง มีอำนาจในการโยกย้ายหรือปลดออกจากตำแหน่งได้ ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้ให้คำแนะนำประธานาธิบดีในการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีจากรัฐสภาตามความเห็นชอบของนายกรัฐมนตรีอีกด้วย ซึ่งคณะรัฐมนตรีจะมีอำนาจในการกำหนดและดำเนินนโยบายของรัฐ และคณะรัฐมนตรีของสิงคโปร์จะไม่สังกัดในกระทรวงใด[6]
                   ฝ่ายนิติบัญญัติ
               ระบบรัฐสภาของสิงคโปร์มีสภาเดียว (Unicameral Parliament) มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี โดยมีรัฐสภา (Parliament) และประธานาธิบดี (President) เป็นผู้ใช้อำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งสมาชิกจะมาจากการเลือกตั้ง แต่งตั้ง และไม่ได้มาจากเขตเลือกตั้งใด ซึ่งรัฐสภาจะมีอำนาจและหน้าที่หลักในการบัญญัติกฎหมาย การควบคุมการเงินการคลัง และการตรวจสอบความรับผิดชอบของคณะรัฐมนตรี ซึ่งการบัญญัติกฎหมายสมาชิกรัฐสภาจะเสนอร่างกฎหมายเพื่อให้รัฐสภาพิจารณา และต้องได้รับความเห็นชอบจากประธานาธิบดี ทั้งน้ประธานาธิบดีจะพิจารณาในความเห็นชอบตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีมากว่าดุลพินิจของตนเอง แต่ก็มีข้อยกเว้นในบางกรณีที่ประธานาธิบดีสามารถใช้ดุลพินิจในการตัดสินใจ ซึ่งในการร่างกฎหมายนั้นรัฐสภาจะพิจารณา 3 ครั้ง เมื่อมีการพิจรณาเป็นครั้ง 3 เพื่อตัดสินโดยเสียงข้างมากและต้องได้รับความเห็นชอบจากประธานาธิบดีก่อนจึงจะประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป[6]
                     ฝ่ายตุลาการ
                สถาบันตุลาการของสิงคโปร์เป็นอิสระจากฝ่ายบริหารและได้รับอิสระจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ถือเป็นฝ่ยที่มีอำนาจสูงสุด และถูกแทรกแซงได้ยาก โดยประกอบด้วย ศาลสุงสุด (High court) ศาลอุทธรณ์ (Court of Appeal) และศาลชั้นต้น (Court of Primary) 
            โดยประธานาธิบดีจะเป็นผู้แต่งตั้งคณะผู้พิพากษาและประธานศาลสูงสุด จากคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี สำหรับสิงคโปร์จะประกอบไปด้วยโครงสร้างของศาลชั้นต้นดังนี้
                      1. ศาลเขต (District Court)
                      2. ศาลแขวง (Magistrate Court)
                      3. ศาลคดีเด็กและเยาวชน (Juvenile Court)
                      4. ศาลครอบครัว (Family Court)
                      5. ศาลมรณกรรม (Coroner's Court)
                      6. ศาลพิจารณาข้อเรียกร้องย่อยๆ (Small Claims Tribunal)
                 สถาบันตุลาการมีอำนาจหน้าที่ที่สำคัญคือ การรักษากฎหมายให้สงบเรียบร้อย และให้เกิดความศ้กดิ์สิทธิ์ในการปกครองประเทศ และถ่วงดุลหรือคานอำนาจของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติไม่ให้ใช้อำนาจไปในทางที่ไม่ถูกต้อง และคงความอิสระไม่ให้ถูกครอบงำโดยฝ่ายอื่นๆ ซึ่งสิงคโปร์ได้รับการยกย่องว่าเป็นประเทศที่มีสถาบันตุลาการที่ดีที่สุดในเอเชีย[6]

การบริหารราชการของสิงคโปร์[แก้]

                 การบริหารราชการ คือ การที่รัฐบาลออกนโยบายต่างๆและให้ข้าราชการนำไปปฏิบัติ ซึ่งระบบราชการของสิงคโปร์จะไม่มีการแบ่งเป็นการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ดังนั้นคณะรัฐมนตรีจึงมีบทบาทในการดูแล ควบคุมการทำงานของหน่วยงานราชการ เพื่อให้ระบบราชการสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้จะแบ่งการทำงานของหน่วยงานราชการเป็น 3 ประเภท ได้แก่ หน่วยงานกลาง กระทรวง และองค์การบริหารอิสระ [7]

บทบาทและหน้าที่ของการบริหารภาครัฐในประเทศสิงคโปร์[แก้]

                 การบริหารภาครัฐของประเทศสิงคโปร์มีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบายต่างๆภายในรัฐ และนำเอานโยบายไปปฏิบัติ โดยการกำหนดนโยบายจะคำนึงถึงประโยชน์และความพึงพอใจของประชาชนเป็นหลัก เพื่อให้การใช้นโยบายต่างๆเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน ซึ่งการบริหารภาครัฐจะมีความแตกต่างจากการบริหารงานของภาคเอกชน โดยเฉพาะการเน้นให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้นและไม่ขาดแคลนสิ่งอุปโภคบริโภค ซึ่งหน้าที่ของการบริหารภาครัฐ คือการที่ปฏิบัติงานเพื่อใยห้บรรลุวัตถุประสงค์ของนโยบายที่วางไว้ ดังนั้นหน้าที่ของภาครัฐ คือการทำให้เกิดความสงบสุขภายในระเทศ และทำให้ประเทศเจริญเติบโต อีกทั้งยังยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน การบริหารภาครัฐจึงเปรียบเสมือนเครื่องมือในการที่จะทำให้ประเทศพัฒนาให้เท่าเทียมกับประเทศอื่นๆไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาในด้านเศรษฐกิจ ด้านการท่องเที่ยว ด้านอุตสาหกรรม และด้านเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสาร ดังนั้นบทบาทหน้าที่ของภาครัฐ คือการสร้างความมั่นคงให้แก่ประเทศ ลดความขัดแย้งและทำให้เกิดความสามัคคีภายในประเทศ และปกป้องชีวิตของประชาชนภายในประเทศ รักษากฏหมายและกฎระเบียบ และให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
            การบริการสาธาณะต่างๆของสิงคโปร์ ข้าราชการจะต้องมีความพร้อมและความสามารถในการให้บริการแก่ประชาชนในด้านต่างๆ การบริหารภาครัฐจึงเป็นกรให้บริการทางสังคมและเศรษฐกิจแก่ประชาชนและสามารถดำเนินนโยบายเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ และตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน ซึ่งรัฐบาลสิงคโปร์ได้ทำหน้าที่ในการให้บริการประชาชนโดยได้พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาด้านอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพ โดยมีการกำหนดนโยบายสาธารณะต่างๆดังนี้
                    1. โครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค
               ประเทศสิงคโปร์ได้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้สิงคโปร์กลายเป็นประเทศที่มีการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ ด้านการคมนาคมขนส่งทางน้ำ ทางบก และทางอากาศ แม้ว่าสิงคโปร์จะเป็นประเทศที่มีพื้นที่เป็นเกาะเพียงเล็กๆเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่สิงคโปร์ก็ได้รับการยอมรับในระบบสาธารณูปโภคและระบบโทรคมนาคมในประเทศที่มีระบบการสื่อสารที่ดีที่สุดติดอันดับของโลก
                   2. ระบบสาธารณสุข
                 รัฐบาลสิงคโปร์ได้จัดสวัสดิการให้แก่ประชาชนในด้านสุขภาพ โดยการจัดให้มีระบบสาธารณสุขที่ประชาชนทุกคนเข้าถึงได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว และได้จัดให้มีเงินกองทุนในการเลี้ยงชีพ โดยเป็นการจัดระบบประกันสังคมให้แก่ประชาชน
                   3. ระบบการศึกษา
                  สิงคโปร์จัดเป็นประเทศที่มีการศึกษาที่ดีและมีประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก ซึ่งรัฐบาลได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับกับการศึกษาของประชาชน เพราะการศึกษาสามารถวัดศักยภาพ และความรู้ อีกทั้งรัฐบาลในให้การสงเสริมและสนับสนุนให้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก
                     4. ระบบกฎหมาย
                   ประเทศสิงคโปร์ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย โดยมีอังกฤษเป็นต้นแบบของการปกครอง โดยใช้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บุคคลทุคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย และต้องปฏิบัติตนให้ถูต้องตามกฎหมาย มีความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันทุกคน เพราะทุกคนอยู่ภายใต้การบังคับกฎหมายเดียวกัน นอกจากนี้รัฐบาลยังได้กำหนดคุณลักษณะของข้าราชการในการเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในรัฐ ซึ่งได้ถูกจำแนกตามการศึกษา และความสามารถในด้านต่างๆ การเป็นข้าราชการในประเทศสิงคโปร์จะต้องก้าวหน้าในสายอาชีพของตนซึ่งก็คือการเลื่อนขั้น หรือการเลื่อนตำแหน่งงาน เพื่อให้ข้าราชการมีความมุ่งมั่นที่จะทำงานเพื่อพัฒนาประเทศและให้บริการแก่ประชาชนอย่างเป็นธรรม และปฏิบัติงานอย่างมีจริยธรรมในอาชีพ พร้อมทั้งพัฒนคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศให้ดีขึ้น[8]


เชิงอรรถ[แก้]

  1. วราภรณ์ จุลปานนท์,2555,หน้า 5
  2. เพ็ชรี สุมิตร,2557,หน้า 551
  3. โคริน เฟื่องเกษม,2557,หน้า 4
  4. ชาญชัย อาจินสมาจาร,2557,หน้า 2
  5. วิทยา มิตรศรัทธา,2555,หน้า 11
  6. 6.0 6.1 6.2 วิวัฒน์ เอี่ยมไพรวัน,2558,หน้า 22
  7. จิรประภา อัครบวร,25558,หน้า 54
  8. จิรประภา อัครบวร,2558,หน้า 20

อ้างอิง[แก้]

°วราภรณ์ จุลปานนท์.การเมืองในสิงคโปร์ Politics In Singapore.เล่มที่1.มหาวิทยาลัยรามคำแหง.2555. ISBN 978-616-513-815-4

°เพ็ชรี สุมิตร.ประวิติศาสตร์สิงคโปร์.เล่มที่1.มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์.2557. ISBN 978-616-7202-48-8

°โคริน เฟื่องเกษม.สถาบันการเมืองในประเทศอาเซียนบวกสามสาธารณรัฐสิงคโปร์.2557

°ชาญชัย อาจินสมาจาร.การบริหารภาครัฐ.2557

°วิทยา มิตรศรัทธา.ประเทศสิงคโปร์ The Republic of Singapore.บริษัทเจเนซิส มีเดียคอม จำกัด.2555. ISBN 978-616-763-442-5

°วิวัฒน์ เอี่ยมไพรวัน.การเมืองการปกครองประเทศในเอเชีย.มหาวิทยาลัยรามคำแหง.2528. ISBN 974-611427-1

°จิรประภา อัครบวร.ระบบบริหารราชการสาธารณรัฐสิงคโปร์.กรกนกการพิมพ์.2558. ISBN 978-616-548-150-2