ผู้ใช้:นางสาวสุภัสสรา คำพันธ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


              ========ประวัติส่วนตัว=============
  • ชื่อ นางสาวสุภัสสรา คำพันธ์ ชื่อเล่น กล้วย
  • ที่อยู่ 62 หมู่ 8 ตำบล หินโคน อำเภอ ลำปลายมาศ จังหวัด บุรีรัมย์ รหัสไปรษณีย์ 31130


--ประวัติการศึกษา--

  • ระดับประถมศึกษา :โรงเรียนจันทราวาส คุรุราษฎร์วิทยา
  • ระดับมัธยมศึกษา :โรงเรียนลำปลายมาศ
  • ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ : วิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์
  • ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง :มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลีสาน นครราชสีมา
  • ปัจจุบัน :มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลีสาน นครราชสีมา


--ตำแหน่งงานที่สนใจ--

  • Web Content ทำหน้าที่ดูแลข้อมูลก่อนนำมาใส่ลงเว็บไซต์
  • Web Master / Web Manager ทำหน้าที่ดูแลและควบคุมเว็บ



---บทความ---
เรื่องที่1 F1 ถึง F12 รู้ไหมว่ามันทำอะไรได้บ้าง?

ไฟล์:แป้นพิม.png
  • F1

มักจะใช้เป็นคีย์ช่วยเกือบทุกโปรแกรมจะเปิดหน้าจอ ป้อนการตั้งค่า CMOS Windows Key + F1 จะเปิดตัวช่วยของ Microsoft Windows เปิดบานหน้าต่างงาน 

  • F2

ใน Windows จะใช้ในการเปลี่ยนชื่อไอคอนหรือไฟล์ Alt + Ctrl + F2 เปิดเอกสารใหม่ในโปรแกรม Microsoft Word . Ctrl + F2 จะแสดงหน้าต่างตัวอย่างก่อนพิมพ์ใน Microsoft Word เข้าสู่การป้อนการตั้งค่า CMOS หรือ Bios

  • F3

เปิดคุณลักษณะการค้นหาในหลายๆโปรแกรมรวมถึง Microsoft Windows ใน MS - DOS หรือ Windows ของบรรทัดคำสั่ง F3 จะทำซ้ำคำสั่งสุดท้าย Shift + F3 จะมีการเปลี่ยนแปลงข้อความใน Microsoft Word

  • F4

เปิดพบหน้าต่าง ทำซ้ำการกระทำล่าสุด ( Word 2000 ขึ้นไป ) Alt + F4 จะปิดโปรแกรมที่ใช้งานอยู่ใน Microsoft Windows Ctrl + F4 จะปิดหน้าต่างที่เปิดอยู่ในหน้าต่างที่ใช้งานในปัจจุบันใน Microsoft Windows

  • F5

ในทุกเบราว์เซอร์อินเทอร์เน็ต F5 จะรีเฟรชหรือโหลดหน้าเว็บหรือหน้าต่างเอกสาร เปิดหน้าค้นหา แทนที่ และไปที่หน้าต่างใน Microsoft Word เริ่มสไลด์โชว์ใน PowerPoint

  • F6

ย้ายเคอร์เซอร์ไปที่ Address bar ใน Internet Explorerและ Mozilla Firefox . Ctrl + Shift + F6 เปิดไปยังเอกสารอื่น ๆ ใน Microsoft Word

  • F7

ปกติจะใช้เพื่อตรวจสอบการสะกดและไวยากรณ์ตรวจสอบเอกสารในโปรแกรม Microsoft เช่น Microsoft Word, Outlook, ฯลฯ Shift + F7 ทำงานตรวจสอบบนคำที่ไฮไลต์ เปิดการใช้งานเลือนหน้าต่างด้วยปุ่มลูกศรบนคีย์บอร์ดใน Mozilla Firefox

  • F8

แป้นฟังก์ชันที่ใช้ในการเข้าสู่เมนูเริ่มต้น Windows, นิยมใช้ในการเข้าถึง Windows แบบ Safe Mode .

  • F9

เปิดแถบเครื่องมือวัดใน Quark 5.0

  • F10

ใน Microsoft Windows เปิดใช้งานแถบเมนูของโปรแกรมที่เปิดอยู่ Shift + F10 เป็นเช่นเดียวกับการคลิกขวาบนไอคอนที่ไฮไลต์ไฟล์หรือการเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ต การเข้าถึงการกู้คืนพาร์ทิชันที่ซ่อนอยู่ ของ HP และ Sony คอมพิวเตอร์ ป้อนการตั้งค่า CMOS .

  • F11

โหมดเต็มหน้าจอในเบราว์เซอร์อินเทอร์เน็ต CTRL + F11 การเข้าถึง การกู้คืนพาร์ทิชันที่ซ่อนอยู่ในคอมพิวเตอร์ของ Dell การเข้าถึงการกู้คืนพาร์ทิชันที่ซ่อนอยู่บน eMachines, Gateway, และคอมพิวเตอร์ Lenovo 

  • F12

เปิดหน้าที่ทำการบันทึกใน Microsoft Word SHIFT + F12 บันทึกเอกสาร Microsoft Word Ctrl + Shift + F12 พิมพ์เอกสารใน Microsoft Word

เรื่องที่2 ICT กับเศรษฐกิจพอเพียง


เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงชีวิต ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา[1][2] และถูกพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ[3] เศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทต่อการกำหนดอุดมการณ์การพัฒนาของประเทศ โดยปัญญาชนในสังคมไทยหลายท่านได้ร่วมแสดงความคิดเห็น อย่างเช่น ศ.นพ.ประเวศ วะสี, ศ.เสน่ห์ จามริก, ศ.อภิชัย พันธเสน, และศ.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา โดยเชื่อมโยงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับวัฒนธรรมชุมชน ซึ่งเคยถูกเสนอมาก่อนหน้าโดยองค์กรพัฒนาเอกชนจำนวนหนึ่งนับตั้งแต่พุทธทศวรรษ 2520 และได้ช่วยให้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในสังคมไทยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจและสาขาอื่น ๆ มาร่วมกันประมวลและกลั่นกรองพระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9[3][4] และได้จัดทำเป็นบทความเรื่อง "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" และได้นำความกราบบังคลทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2542 โดยทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทานและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำบทความที่ทรงแก้ไขแล้วไปเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ได้รับการเชิดชูเป็นอย่างสูงจากองค์การสหประชาชาติ ว่าเป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ[5] และสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน[6] โดยมีนักวิชาการและนักเศรษฐศาสตร์หลายคนเห็นด้วยกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง แต่ในขณะเดียวกัน บางสื่อได้มีการตั้งคำถามถึงการยกย่องขององค์การสหประชาชาติ รวมทั้งความน่าเชื่อถือของรายงานศึกษาและท่าทีขององค์การ

...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมีพอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป หากมุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชนโดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่าง ๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด...

เรื่องที่3  การใช้ ICT พัฒนาและบริหารกำลังคนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ


สรุปบทความการใช้ ICT พัฒนาและบริหารกำลังคนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบราชการ        วารสารวิทยบริการ ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2548 หน้า 48-61

     ของ  ดร.ปรัชญนันท์  นิลสุข  (ค.ด.เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา)

                    นโยบายของรัฐให้ความสำคัญในการนำ ICT  เข้ามาใช้ในการบริหารจัดการและการบริการ  ในหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ   รวมไปถึงการพัฒนาบุคลากรทางด้านต่าง ๆ โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามาใช้ให้มากขึ้น   การพัฒนาบุคลากร การบริหารจัดการและการบริการของรัฐสามารถนำเอา ICT เข้ามาใช้ได้ในทุกด้านซึ่งแต่ละประเด็นล้วนมีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน   อันจะส่งผลไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบราชการโดยรวม  แม้จะยังมีปัญหาอุปสรรคอยู่มากในหลาย ๆ ด้าน   แต่ระบบราชการคงไม่สามารถหลีกเลี่ยงการนำ ICT  เข้ามาช่วยในงานทุกส่วน   เพื่อความทันสมัย ความสะดวกและรวดเร็วในการพัฒนาระบบราชการจะเกิดประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก   ถ้าได้นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามาใช้โดยเฉพาะพัฒนาข้าราชการอันเป็นหัวใจของระบบราชการทั้งหมด 

ความสำคัญของบทความการใช้ ICT  พัฒนาและบริหารกำลังคนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบราชการ ได้แก่

1  การใช้ ICT  เพื่อพัฒนาบุคลากร 

2 การใช้ ICT  เพื่อการบริหารกำลังคน 

3 การใช้  ICT  เพื่อพัฒนาการบริการ 

บทบาทของ ICT

    1. เป็นเครื่องมือในการจัดการเอกสารและข้อมูลต่างๆที่องค์กรจะต้องใช้ 
    2. เป็นเครื่องมือเพื่อการประยุกต์ใช้ เช่นใช้ในการจัดทำฐานข้อมูล (Database)  และคลังข้อมูลขนาดใหญ่ (Data Warehouse)   เป็นเครื่องมือในการประมวลผลข้อมูลในรูปแบบต่างๆ)
    3. เป็นเครื่องมือในการสื่อสารประชาสัมพันธ์ด้วยระบบอินเตอร์เน็ต (Internet)  อินทราเน็ต (Intranet)  เอ็กซทราเน็ต (Extranet) และเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) เป็นต้น

                ICT ยังทำให้มีการเชื่อมโยงสัมพันธ์กันใกล้ชิดขึ้นระหว่างหน่วยงานต่างๆไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ เอกชน ชุมชน ทั้งในระดับประเทศและระดับโลก โดย ICT กลายเป็นตัวชี้นำที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆขึ้น ซึ่งเมื่อ ICT เปลี่ยนรูปแบบจากเดิมที่มนุษย์จะติดต่อกันทางจดหมาย , ไปรษณีย์ ,  รับรู้ข่าวสารทางหนังสือพิมพ์ , การพูดคุยบอกเล่ากันตามร้านกาแฟ ร้านน้ำชา ร้านขนม ศูนย์การค้า , สวนสาธารณะ โดยมีศูนย์กลางการกระจายข่าวและข้อคิดเห็นอยู่ที่หนังสือพิมพ์นั้น แต่ในปัจจุบันรูปแบการสื่อสารได้เปลี่ยนแปลงไปด้วยการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีทางการสื่อสาร (Communication Technology) เช่น T.V. , Computer , ดาวเทียม เป็นต้น จึงทำให้เกิดการแพร่กระจายของข่าวสารอย่างง่ายดายและรวดเร็ว โดยรูปแบบของการสื่อสารเป็นลักษณะการรวมตัวกันเป็นกลุ่มไซเบอร์ (Cyber Group)  เพื่อแสดงและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในลักษณะกระดานสนทนา , การเขียนจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ( e-mail) , การใช้  Weblog ในการบอกเล่าเรื่องราวอย่างต่อเนื่อง หรือแม้แต่การซื้อขายสินค้าที่มีบาร์โค้ดของสินค้าที่นอกจากจะทำให้ผู้ขายสามารถตรวจสอบยอดขายและเสริมสินค้าตามจุดขายต่างๆได้ตรงกับความต้องการของผู้ซื้อ จะเห็นว่า ICT เข้ามาเกี่ยวข้องกับวิถีการดำรงชีวิตในระดับบุคคลนั้น ถือเป็นยุคของ “ชีวิตดิจิตอล” (Digital Life)

ที่มา:http://www.prachyanun.com

LAN THECHNOLOGY
1. แบบบัส ( BUS Topology ) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนสายสัญญาณหลักเส้นเดียว ที่เรียกว่า BUS ทีปลายทั้งสองด้านปิดด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Teminator ไม่มีคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์เครื่องใดหยุดทำงาน ก็ไม่มีผลกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในเครือข่าย

ไฟล์:การเชื่อต่อแบบบัส.jpg

ข้อดี ของการเชื่อแบบบัส คือ สามารถติดตั้งได้ง่าย เนื่องจากเป็นโครงสร้างเครือข่ายที่ไม่ซับซ้อน การเดินสายเพื่อต่อใช้งาน สามารถทำได้ง่าย ประหยัดค่าใช้จ่าย กล่าวคือ ใช้สายส่งข้อมูลน้อยกว่า เนื่องจากสามารถเชื่อมต่อกับสายหลักได้ทันที ง่ายต่อการเพิ่มสถานีใหม่เข้าไปในระบบ โดยสถานีนี้สามารถใช้สายส่งข้อมูลที่มีอยู่แล้วได้ ข้อเสียของการเชื่อแบบบัส คือ

1. ถ้ามีสายเส้นใดเส้นหนึ่งหลุดไปจากสถานีใดสถานีหนึ่ง ก็จะทำให้ระบบเครือข่ายนี้หยุดการทำงานลงทันที

2. ถ้าระบบเกิดข้อผิดพลาดจะหาข้อผิดพกลาดได้ยาก โดยเฉพาะถ้าเป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่

2. แบบดาว ( Star topology ) เป็นการเชื่อมต่อสถานีหรือจุดต่าง ๆ ออกจากคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางหรือคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่เรียกว่า File Server แต่ละสถานีจะมีสายสัญญาณเชื่อมต่อกับศูนย์กลาง ไม่มีการใช้สายสัญญาณร่วมกัน เมื่อสถานีใดเกิดความเสียหายจะไม่มีผลกระทบกับสถานีอื่น ๆ ปัจจุบันนิยมใช้อุปกรณ์ HUB เป็นตัวเชื่อมต่อจากคอมพิวเตอร์แม่ข่ายหรือคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง

ข้อดีของการเชื่อมแบบดาว คือ ง่ายต่อการใช้บริการ เพราะมีศูนย์กลางอยู่ที่คอมพิวเตอร์แม่ข่ายอยู่เครื่องเดียวและเมื่อเกิดความเสียหายที่คอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นก็จะไม่มีผลกระทบอันใดเพราะใช้สายคนละเส้น

ข้อเสียของการเชื่อมแบบดาว คือ ต้องใช้สายสัญญาณจำนวนมาก เพราะแต่ละสถานีมีสายสัญญาณของตนเองเชื่อมต่อกับศูนย์กลางจึงเหมาะสมกับเครือข่ายระยะใกล้มาก กว่าการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล การขยายระบบก็ยุ่งยากเพราะต้องเชื่อมต่อสายจากศูนย์กลางออกมา ถ้าศูนย์กลางเสียหายระบบจะใช้การไม่ได้

3. แบบวงแหวน ( Ring Topology ) เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายเป็นรูปวงแหวนหรือแบบวนรอบ โดยสถานีแรกเชื่อมต่อกับสถาน สุดท้าย การรับส่งข้อมูลในเครือข่ายจะต้องผ่านทุกสถานี โดยมีตัวนำสารวิ่งไปบนสายสัญญาณของแต่ละสถานี ต้องคอยตรวจสอบข้อมูลที่ส่งมา ถ้าไม่ใช่ของตนเองต้องส่งผ่านไปยังสถานีอื่นต่อไป

ข้อดีของการเชื่อมแบบวงแหวน คือ ใช้สายสัญญาณน้อยกว่าแบบดาว เหมาะกับการเชื่อมต่อด้วยสายสัญญาณใยแก้วนำแสง เพราะส่งข้อมูลทางเดียวกันด้วยความเร็วสูง

ข้อเสียของการเชื่อมแบบวงแหวน คือ ถ้าสถานีใดเสียระบบก็จะไม่สามารถทำงานต่อไปได้จนกว่าจะแก้ไขจุดเสียนั้น และยากในการตรวจสอบว่ามีปัญหาที่จุดใดและถ้าต้องการเพิ่มสถานีเข้าไปจะพกหระทำได้ยากด้วย

4. โทโปโลยีแบบเมชหรือแบบตาข่าย (Mesh Topology)           รูปแบบเครือข่ายแบบนี้ ปกติใช้ในระบบเครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network) ลักษณะการสื่อสารจะมีการต่อสายหรือการเดินของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือโหนดไปยังโหนดอื่น ๆ ทุก ๆ ตัว ทำให้มีทางเดินข้อมูลหลายเส้นและปลอดภัยจากเหตุการณ์ที่จะเกิดจากการล้มเหลวของระบบ แต่ระบบนี้จะมีค่าใช้จ่ายมากกว่าระบบอื่น ๆ เพราะต้องใช้สายสื่อสารเป็นจำนวนมาก


ข้อดี ในกรณีสายเคเบิ้ลบางสายชำรุด เครือข่ายทั้งหมดยังสมารถใช้ได้ ทำให้ระบบมีเสถียรภาพสูง นิยมใช้กับเครือข่ายที่ต้องการเสถียรภาพสูง และเครือข่ายที่มีความสำคัญ

ข้อเสีย สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และสายเคเบิ้ลมากกว่าการต่อแบบอื่น ๆ ยากต่อการติดตั้ง เดินสาย เคลื่อนย้ายปรับเปลี่ยนและบำรุงรักษาระบบเครือข่าย

WAN THECHNOLOGY

ระบบ Circuit Switching Answers ลักษณะที่สำคัญของการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายเซอร์กิตสวิตซ์ก็คือ ก่อนจะเริ่มส่งข้อมูลจะต้องกำหนดเส้นทางการส่งข้อมูลก่อน โดยต้นทางจะมีการร้องขอ ( Reuest ) ว่าจะส่งข้อมูลให้ และปลายทางจะต้องตอบรับ ( Acknowledge ) ว่าพร้อมจะรับข้อมูลนั้น ดังนั้นจึงสูญเสียเวลาช่วงหนึ่งสำหรับการติดต่อนี้ก่อนเริ่มส่งข้อมูลกันจริง ๆ ตัวอย่างของเครือข่ายเซอร์กิตสวิตซ์ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดในปัจจุบันคือ เครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะ

เมื่อวงจร ( เส้นทาง ) ถูกกำหนดขึ้นแล้ว ( Establishment ) วงจรนั้นถือว่าไม่ว่างสำหรับการส่งข้อมูลจากเทอร์มินัลอื่น จนกว่าวงจรจะถูกยกเลิกการติดต่อ ( Disconnect ) ในระหว่างการส่งข้อมูล ( Data transfer ) ข้อมูลจะถูกส่งด้วยอัตราเร็วคงที่ และไม่มีเวลาประวิง ( Delay ) ระหว่างการส่งข้อมูล ข้อเสียของการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายเซอร์กิตสวิตซ์คือ เนื่องจากเทอร์มินัลอื่นไม่สามารถเข้ามาร่วมใช้สายเดียวกันในเวลาเดียวกันได้ และเวลาส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปกับการร้องขอและการตอบรับการส่งข้อมูล ดังนั้นค่าบริการในเครือข่ายเซอร์กิตสวิตซ์จึงขึ้นอยู่กับเวลาที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล จึงเหมาะสำหรับการส่งไฟล์ข้อมูลที่ต่อเนื่อง และใช้งานตลอดเวลา เช่นระบบ ATM ระบบการเงิน ตลาดหลักทรัพย์ บริการดาต้าเน็ต

ข้อจำกัดของ Cituit switching

Circuit Switching นั้นออกแบบมาเพื่อส่งข้อมูลทางเสียง ธรรมชาติของการใช้งานไม่ได้ออกแบบมาให้ใช้งานพร้อมกันอย่างเต็มประสิทธิภาพ เช่น ระบบโทรศัพท์ 100 เลขหมาย จะสามารถใช้งานพร้อมๆกันได้ไม่ถึง 50% อัตราการส่งข้อมูลจะเป็นตัวจำกัดอุปกรณ์ที่ต่อพ่วง เนื่องจากถูกออกแบบมาเพื่อส่งข้อมูลทางเสียงในอัตราที่สนุษย์สามารถรับรู้ได้ มีขีดจำกัดแน่นอนอยู่แล้วที่ระบบ Hardware ยากและลงทุนสูงในการ Upgrade

Circuit switching เหมาะกับสัญญาณ Analog ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับโทรศัพท์และ ระบบเสียง มีการเชื่อมต่อแบบชั่วคราว และเป็น Full - duplex แบ่งได้ 2 ชนิด คือ

Space - division switches เป็นการแบ่งเส้นทางออกมาโดยกั้นด้วยช่องว่าง เป็นเครือข่ายแบบ Analog แบ่งได้อีก 2 ประเภท คือ 1. Crossbar switches จะมี Microswitches ที่ประกอบด้วย Transister การเชื่อมแต่ละจุดจะมีตัวโยกที่ทำหน้าที่ในการเชื่อม

2. Multistage switches เป็นการใช้ Switch หลายๆตัวมาประกอบกัน ในการส่งสามารถส่งไปทางไหนก็ได้ ซึ่งต่างจาก Crossbar ประโยชน์ ค่อนข้างจะตายตัว ข้อเสีย ต้องอาศัย Crosspoint มาก

Time - division switches จะมีเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องในการแบ่ง Time - division จะ ใช้ TDM กับ TSI เป็นตัวจัดการว่าเครื่องใดติดต่อกับเครื่องใด (TDM เข้า n ออก 1) และไม่มี Switch มาเกี่ยวข้อง แต่ใช้ Link เพียง Link เดียวเท่านั้น ถ้ามี TSI ใน Switch เมื่อ Data ผ่าน TSI จะมีการเรียงข้อมูลใหม่โดยเรียงตามเวลาในการส่ง การทำงานของ TSI

TSI เป็นคอมพิวเตอร์ 1 ชุดที่ประกอบด้วย Ram และ มีตัง Control unit เป็นตัวว่าจะส่งไปไหน

ข้อดี คือ ไม่จำเป็นต้องมี Crosspoint

ข้อเสีย คือ เกิดการ Delay ในช่วงเปลี่ยนการเชื่อม

Reference

http://www.midland-corp.com/ http://web.kku.ac.th

ระบบ Packet Switching Answers ในการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายแพ็กเกจสวิตซ์ ขนาดของบล็อคของข้อมูลจะถูกจำกัดขนาด จึงจำเป็นต้องแบ่งบล็อคข้อมูลออกเป็นแพ็กเกจ ( Packet ) เพื่อทำให้มีขนาดเล็กลง และทำให้สถานีสวิตซ์สามารถเก็บกักข้อมูลไว้ในหน่วยความจำ ( Buffer ) เป็นการชั่วคราวได้โดยไม่ต้องใช้ดิสก์สำรอง เครือข่ายแพ็กเกจสวิตซ์เป็นการรวมข้อดีของเครือข่ายเซอร์กิตสวิตซ์และเครือข่ายแมดเสดสวิตซ์เข้าด้วยกัน และกำจัดข้อเสียของเครือข่ายทั้ง 2 ชนิดด้วย แต่ลักษณะโดยทั่วไปแล้วเครือข่ายแพ็กเกจสวิตซ์จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับเครือข่ายแมสเสดสวิตซ์มากกว่า

สำหรับการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายแพ็กเกจสวิตซ์ ข้อมูลจะถูกส่งออกไปทีละแพ็กเกจเรียงลำดับตามกันไป โดยแต่ละสถานีจะเป็น Store-and-forward หากมีความผิดพลาดเกิดขึ้นในแพ็กเกจเมื่อใดสถานีสวิตซ์ชิ่งนั้นก็จะทำการร้องขอให้สถานีสวิตซ์ชิ่งก่อนหน้านั้นส่งเฉพาะแพ็กเกจที่มีความผิดพลาดนั้นมาให้ใหม่ และไม่จะเป็นจะต้องรอให้ผู้ส่งทำการส่งข้อมูลมาให้จนครบทุกแพ็กเกจแล้วจึงค่อยส่งข้อมูลไปให้สถานีอื่นต่อไป ซึ่งลักษณะการทำงานเช่นนี้จะทำให้การส่งข้อมูลในเครือข่ายแพ็กเกจสวิตซ์สามารถทำงานได้เร็วมากจนดูเสมือนไม่มีการเก็บกักข้อมูลเลย

ลักษณะอย่างหนึ่งที่สำคัญมากสำหรับเครือข่ายแพ็กเกจสวิตซ์คือ การเลือกการจัดวงจร ( เส้นทาง ) ของข้อมูลเป็นแบบ วงจรเสมือน ( Virtual Circuit )และแบบ วงจรดาต้าแกรม ( Datagram Circuit ) เครือข่ายอาจจะเลือกจัดวงจรแบบใดแบบหนึ่งเพื่อทำการส่งข้อมูลก็ได้ลักษณะที่สำคัญของการส่งข้อมูลแบบ วงจรเสมือนคือ เส้นทางของข้อมูลจากโหนดสู่โหนดในเครือข่ายจะถูกกำหนดขึ้นก่อนการส่งข้อมูล ข้อมูลแต่ละแพ็กเกจจะส่งเรียงลำดับตามหมายเลขของแพ็กเกจทำให้เราสามารถควบคุมการไหลของข้อมูลและการตรวจสอบความผิดพลาดของข้อมูลได้ง่าย

ส่วนการส่งข้อมูลแบบวงจรดาต้าแกรมนั้น เครือข่ายอาจจะกำหนดวงจร ( เส้นทาง ) ของข้อมูลก่อนหรือไม่ กำหนดก็ได้ หรืออาจจะทำการเลือกเส้นทางขณะที่ข้อมูลถูกส่งออกไปพร้อม ๆ กัน และแพ็กเกจของข้อมูลก็ไม่จำเป็นที่จะต้องส่งออกเป็นลำดับ ๆ เรียงกันไป ตัวอย่างการส่งข้อมูลโดยกำหนดเส้นทางข้อมูลแบบวงจรเสมือน และแบบวงจรดาต้าแกรม ดังรูป

ข้อดีของการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายแพ็กเกจสวิตซ์ ได้แก่

ก่อนเริ่มต้นการส่งข้อมูล วงจรไม่จำเป็นต้องมีการยืนยันการตอบรับจากคู่สายก่อน อย่างเช่น เครือข่ายเซอร์กิตสวิตซ์ ข้อมูลจะถูกส่งออกเป็นแพ็กเกจขนาดใหญ่นัก ถ้ามีความผิดพลาดเกิดขึ้นการส่งข้อมูลให้ใหม่จะไม่ทำให้เสียเวลามากนัก แพ็กเกจของข้อมูลมีลำดับเลขกำหนดไว้ที่แต่ละแพ็กเกจและจะทำการส่งเรียงลำดับกันไป ทำให้สามารถตรวจสอบความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ง่าย การกำหนดวงจรเสมือนหรือเส้นทางไม่จำเป็นจะต้องตายตัว ( Dynamic ) จึงมีความยืดหยุ่นกว่าเครือข่ายเซอร์กิตสวิตซ์ หลักการของ Packet Switching

ส่งข้อมูลออกไปในลักษณะ Packet ย่อยๆ ข้อมูลที่โตกว่าขนาดของ Packet จะถูกแบ่งเป็นส่วนย่อยๆหลายๆส่วน ทุก Packet ประกอบด้วย user's data และ control information control information จะใช้ในการ route เพื่อหาเส้นทางที่เหมาะสม ทุก packet ที่รับเข้ามาจะถูกเก็บ ประมวลผลบางอย่าง แล้วส่งต่อไปปลายทางที่เหมาะสม Reference

หนังสือการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ http:/www./web.kku.ac.th/

OSI กับ TCP/IP

          OSI ได้แบ่งหน้าที่ของทั้ง 7 ชั้นทำให้การเชื่อมต่อรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์สองระบบทำได้ง่ายกว่า เมื่อก่อนมาก เนื่องจากทุกระบบจะใช้มาตรฐานเดียวกันอย่างไรก็ตามการกำหนดมาตรฐานของการสื่อสารข้อมูลนี้มีองค์การ ใหญ่ ๆ อยู่ 3 องค์กรคือ องค์การมาตรฐานสากล หรือ International Standards Organization (ISO),สถาบันวิศวกรไฟฟ้า และอิเล็คทรอนิคส์ของอเมริกา หรือ American Institution ofElectrical and Electronics Engineers (LEEE) และ สมาคมโทรคมนาคมสากล หรือInternational Telecommunication Union-Telecommunications (ITU-T ซึ่งชื่อเดิมคือ International Telegraph and Telephone Consultiative Committee หรือ CCITT ที่เรารู้จักกันดีนั่นเอง) ทั้ง 3 องค์กร นี้จะทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานของอุปกรณ์การสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ, ระบบสื่อสัญญาณ, เครือข่ายสาธารณะ และ ข้อข้อตกลงที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลเป็นต้น ซึ่งทำให้งานของแต่ละองค์กรมีความซ้ำซ้อนกนมากขึ้น แต่ก็เป็นผลดีที่ทำ ให้แต่ละมาตรฐานมีความร่วมมือกัน และเข้ากันได้กับมาตรฐานอื่น ๆที่กำหนดขึ้นในคนละองค์กร           เนื่องจาก OSI เกิดขึ้นมาหลังจากที่ TCP/IP ได้มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายไปแล้ว โดยTCP/P ใช้ในเครือข่าย ARPANET เป็นเครือข่ายแรก ซึ่งต่อมาได้ขยายการเชื่อมต่อไปทั่วโลกเป็นเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทำให้มาตรฐานของ TCP/P เป็นที่ยอมรับ กันอย่างกว้างขวาง และการที่ TCP/IP เป็นโปรโตคอลชนิดที่ให้ใช้ได้ฟรีไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ การใช้งานTCP/IP ก็ย่งมีจำนวนผู้ใช้เพิ่มมากขึ้นไปอีกจนถือเป็นมาตรฐานที่มีผู้ใช้รับส่งข้อมูลมากที่สุดในปัจจุบัน

          เมื่อ TCP/IP เป็นมาตรฐานที่เกิดขั้นก่อน OSI 7-Layer Model มาตรฐานของTCP/IP จึงไม่ใช่มาตราฐานเดียว กันกับของ OSI โดย TCP/IP จะมีการแบ่งจำนวนขั้นตอนที่ใช้รับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์สองระบบออกเป็น 4 ชั้น เท่านั้น หรือ เรียกว่าเป็นTCP/IP Stack โดยมีชื่อเรียกแตกต่างกันดังนี้

          ชั้นบนคือ Process Layer จะเป็น Application Protocol ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อกับผู้ใช้และให้บริการต่าง ๆ เช่น FTP, Telnet, SNMP ฯลฯชั้นถัดมาคือ Host-to-Host Layer จะควบคุมการรับส่งข้อมูลจากด้านส่งถึงด้านรับข้อมูล

          ชั้นถัดลงมาคือ Internetwork Layer ได้แก่ส่วนของโปรโตคอล IP ทำหน้าที่เชื่อต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบ เครือข่ายที่อยู่ชั้นล่างลงไป และทำหน้าที่เลือกเส้นทางการรับส่งข้อมูลผ่านอุปกรณ์เครือข่ายต่าง ๆ จนไปถึงผู้รับส่งข้อมูล

          ส่วนชั้นสุดท้ายคือ Network Interface จะทำหน้าที่เชื่อมต่อกับฮาร์ดแวร์ และควบคุมการรับส่งข้อมูลในระดับ ฮาร์ดแวร์ของเครือข่าย ซึ่งที่ใช้กันอยู่จะเป็นตามมาตรฐานของ IEEE เช่น IEEE 802.3 จะเป็นการเชื่อมต่อผ่าน LAN แบบ Ethernet LAN หรือ IEEE802. จะเป็ฯการเชื่อมต่อผ่าน LAN แบบ Token Ring เป็นต้น