ผู้ใช้:จุฑารัตน์ น./ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ครีมกันแดด (Sunscreen)[แก้]

       ปัจจุบันมีครีมกันแดด (Sunscreen) ให้เลือกใช้มากมายหลายยี่ห้อ ซึ่งหลาย ๆ คนอาจจะสงสัยว่าครีมกันแดดแต่ละยี่ห้อ แต่ละรุ่นมีความแตกต่างกันอย่างไร วันนี้เรามีคำตอบมาให้ค่ะ ก่อนอื่นมาทำความรู้จักครีมกันแดดกันก่อนนะคะ ครีมกันแดด คือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารกันแดดซึ่งใช้สำหรับทาผิวหนัง เพื่อปกป้องผิวหนังจากรังสีอัลตราไวโอเลตหรือรังสียูวี (Ultraviolet Radiation: UV) ครีมกันแดด แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

1. ครีมกันแดดชนิดเคมี (Chemical sunscreen)

2. ครีมกันแดดชนิดกายภาพ (Physical sunscreen)

3. ครีมกันแดดชนิดผสม (Chemical-Physical sunscreen)

       ครีมกันแดดชนิดเคมี (Chemical sunscreen) สารกันแดดในกลุ่มนี้จะทำหน้าที่ป้องกันรังสี UV โดยการดูดซับรังสีไว้ไม่ให้สามารถทะลุผ่านเข้ามาทำอันตรายต่อผิวหนัง

       • ข้อดีของสารกลุ่มนี้คือสามารถดูดกลืนรังสีไว้ได้ทั้งหมดทำให้ป้องกันรังสี UV ได้เป็นอย่างดี

       • ข้อเสียคือสารกันแดดในกลุ่มนี้อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังโดยเฉพาะคนที่มีผิวแพ้ง่าย และต้องทาครีมทิ้งไว้ 30 นาทีก่อนออกแดดเพื่อให้สารออกฤทธิ์ทำงาน และต้องทาซ้ำทุก 2 ชั่วโมง ล้างทำความสะอาดยากกว่าครีมกันแดดชนิดกายภาพ ตัวอย่างสารกลุ่มนี้ที่พบบ่อยจะเป็น 2-Ethylhexylmethoxycinnamate (Parsol MCX) Benzophenone-3 (Oxybenzone) และ Butylmethoxydibenzoylmethane (Avobenzone) เป็นต้น

       ครีมกันแดดชนิดกายภาพ (Physical sunscreen) สารกันแดดกลุ่มนี้จะเคลือบอยู่บนผิวหนังแล้วทำการสะท้อนหรือกระจายรังสี UV จึงทำให้สามารถป้องกันรังสี UV ได้

       • ข้อดีของสารกลุ่มนี้คือ มีความปลอดภัยสูงกว่าและมีโอกาสเกิดการแพ้ได้น้อยกว่าครีมกันแดดชนิดเคมีเนื่องจากไม่ถูกดูดซึมผ่านผิวหนัง อีกทั้งยังสามารถออกแดดได้ทันทีหลังทา โดยไม่ต้องทาซ้ำถ้าเนื้อครีมไม่หลุดจากผิว และยังล้างทำความสะอาดง่ายอีกด้วย

       • ข้อเสียคือ สารกันแดดกลุ่มนี้จะมีขนาดอนุภาคใหญ่ เนื้อครีมมีความหนา ไม่โปร่งแสง เวลาทาลงบนผิวอาจทำให้แลดูไม่เป็นธรรมชาติ ทำให้เกิดอาการวอกได้ ดังนั้นผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีส่วนผสมของสารกลุ่มนี้มักนิยมใช้สารที่มีอนุภาคขนาดเล็ก หรือที่รู้จักกันว่า micronized form เพื่อไม่ให้เกิดปื้นขาวและสามารถกระจายตัวบนผิวได้ง่าย การทำให้อยู่ในรูป micronized form ยังช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวในการสะท้อนหรือกระจายรังสี UV ได้อีกด้วย ตัวอย่างของสารกลุ่มนี้ได้แก่ Zinc oxide และ Titanium dioxide

ครีมกันแดดชนิดผสม (Chemical-Physical sunscreen) สารกลุ่มนี้ได้พัฒนาขึ้นมาใหม่ เป็นสารกันแดดที่ทำหน้าที่ทั้งสะท้อนและดูดซับรังสียูวีได้ทั้งสองอย่างในตัวเอง ดังนั้น จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่รวมข้อดี และลดข้อด้อยของครีมกันแดดทั้งสองประเภทข้างต้น ซึ่งปัจจุบัน ครีมกันแดดที่วางจำหน่ายส่วนมากจะเป็นชนิดนี้

รังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) หรือ ยูวี (UV) รังสียูวีมี 3 ชนิด ได้แก่ รังสี UVA , UVB และ UVC

       ► UVA มีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 320-400 นาโนเมตร สามารถทะลุทะลวงลึกเข้าสู่ชั้นไขมันของผิวหนัง กระตุ้นเซลล์เม็ดสีให้สร้างเม็ดสี (melanin pigment) เพิ่มมากขึ้น ให้ผิวหนังแห้งจนก่อให้เกิดริ้วรอยหรือผิวเหี่ยวย่นก่อนวัยอันควร ทำให้เกิดฝ้า กระ ผิวหมองคล้ำ อีกทั้งยังก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังบางชนิดได้อีกด้วย

       ► UVB มีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 290-320 นาโนเมตร รังสีนี้จะทำลายผิวแค่ผิวหนังชั้นนอก หรือผิวหนังกำพร้าเท่านั้น อันตรายน้อยกว่า UVA ทำให้ผิวไหม้แดด (Sunburn) ทำให้ผิวหนังหมองคล้ำ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ นอกจากนี้อาจทำให้เกิดริ้วรอย และปัญหาฝ้า กระตามมาด้วย

       ► UVC มีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 220-290 นาโนเมตร เป็นพลังงานความยาวคลื่นที่ถูกชั้นโอโซนทำลาย ซึ่งช่วงคลื่นเหล่านี้มีระดับพลังงานสูง หากผ่านมาถึงผิวโลกจะเป็นอันตรายต่อมนุษย์มาก ปัจจุบันชั้นโอโซนถูกทำลายลงไปมากทำให้อัตราการแผ่รังสี UVC ลงมาถึงผิวโลกมากขึ้น

       แสงแดดที่มาถึงพื้นโลกจะมีคลื่นแสงยาวกว่า 290 นาโนเมตร ดังนั้น UVC มักมาไม่ถึงผิวโลก ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องปกป้องผิวจาก UVA และ UVB7

ประสิทธิภาพสารกันแดด SPF และ PFA ต่างกันอย่างไร ?

       ► SPF ย่อมาจากคำว่า Sun Protection Factor เป็นค่าประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UVB หรือค่าความสามารถในการป้องกันรังสี UVB ไม่ให้เกิดอาการแดงของผิวหนัง ซึ่งจะบอกค่าเป็นจำนวนเท่าของเวลาที่ผิวคนเราสามารถทนต่อแสงได้ระหว่างผิวหนังที่ทาครีมกันแดดกับผิวหนังที่ไม่ได้ทาครีมกันแดด โดยค่า SPF ยิ่งสูงก็ยิ่งแสดงว่าครีมกันแดดนั้นมีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสียูวีได้มากขึ้นด้วย แต่ค่า SPF ตั้งแต่ 30 ขึ้นไปจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UV-B ได้ไม่แตกต่างกัน

       ► PFA หรือ Protection Factor of UVA คือ ค่าที่แสดงถึงความสามารถของผลิตภัณฑ์ในการป้องกันการดำคล้ำของผิวหนังที่เกิดจากการสัมผัสรังสียูวีเอ และค่า PA หรือ Protection Grade of UVA คือ ค่าที่สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องสำอางแห่งประเทศญี่ปุ่นได้กำหนดขึ้นแทนการใช้ค่า PFA โดยฉลากเครื่องสำอางประเภทผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดจะต้องแสดง โดยค่า PFA และ ค่า PA จะมีอยู่ด้วยกัน 4 ระดับ แบ่งออกเป็น