ปลาข้อมือนาง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาข้อมือนาง
สถานะการอนุรักษ์

ไม่มีข้อมูล  (IUCN 3.1)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Cypriniformes
วงศ์: Cyprinidae
สกุล: Folifer
Wu, 1977
สปีชีส์: F.  brevifilis
ชื่อทวินาม
Folifer brevifilis
(Peters, 1881)
ชื่อพ้อง[1]
  • Barbus bonvaloti Vaillant, 1893
  • Barbus brevifilis Peters, 1881 [ชื่อดั้งเดิม]
  • Barbus longirostrum Kimura, 1934
  • Barbus szechwanensis Tchang, 1931
  • Labeobarbus brevifilis (Peters, 1881)
  • Tor brevifilis (Peters, 1881)
  • Tor brevifilis brevifilis (Peters, 1881)
  • Tor brevifilis hainanensis Wu, 1977

ปลาข้อมือนาง (เวียดนาม: cá ngựa bắc; ชื่อวิทยาศาสตร์: Folifer brevifilis) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)

จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Folifer[1] โดยสันนิษฐานว่า มาจากภาษาละตินคำว่า foli หมายถึง "ใบไม้" และ ifer หมายถึง "แบก" รวมความแล้วหมายถึงลักษณะของปากของปลาชนิดนี้ที่อยู่ด้านล่าง และ brevis หมายถึง "เล็ก, น้อย" และ filum หมายถึง "หนวด" หรือ "เส้นด้าย" อันหมายถึง หนวดที่ลักษณะสั้นมาก[2]

มีลำตัวกลมเรียวยาว แบนข้างเล็กน้อย ใต้คางมีติ่งเนื้อ 1 ชิ้น ดูแลเหมือนหนวดขนาดสั้น เกล็ดเล็ก ลำตัวสีเงินแวววาวอมเขียว ด้านบนมีสีคล้ำเล็กน้อย ข้างแก้มมีแต้มสีเหลือง ครีบจางใส ครีบหลังสูง ก้านครีบอันใหญ่สุดมีจักละเอียดที่ขอบด้านท้าย

มีความยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร เป็นปลาที่หากินตะไคร่น้ำตามก้อนหินใต้พื้นน้ำและโขดหิน พบกระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำที่ไหลแรงและสะอาดในหลายประเทศ เช่น ตอนใต้ของจีน, เวียดนาม, ลาว ในประเทศไทยพบเฉพาะลุ่มแม่น้ำสาละวินบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอนและตาก[3] และยังมีรายงานพบที่เกาะไหหลำและฮ่องกงอีกด้วย โดยตัวอย่างต้นแบบแรกถูกส่งมาจากฮ่องกงไปยังจีนเพื่อทำการอนุกรมวิธาน

มีการจับขายเป็นปลาสวยงาม แต่พบได้น้อยและเลี้ยงดูยากมาก[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Folifer brevifilis (Peters, 1881)". WoRMS taxon details. สืบค้นเมื่อ 28 December 2015.
  2. 2.0 2.1 "Folifer brevifilis (PETERS, 1881)". seriouslyfish.com. สืบค้นเมื่อ 28 December 2015.
  3. ชวลิต วิทยานนท์. คู่มือปลาน้ำจืด. กรุงเทพฯ : สารคดี, 2547. 195 หน้า. หน้า 140. ISBN 9744841486

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]