ปริซึมอับเบอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปริซึมอับเบอ (Abbe prism) เป็นองค์ประกอบทางทัศนศาสตร์ ที่ตั้งชื่อตามผู้ประดิษฐ์คือ แอ็นสท์ อับเบอ นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน เป็นประเภทที่คล้ายกับปริซึมเปลลิน–โบรกาโดยเป็นปริซึมสำหรับกระจายแสงไปในมุมคงที่

โครงสร้าง[แก้]

ปริซึมอับเบอ (ภาพไม่ได้วาดตามมาตราส่วน ใช้สำหรับการอ้างอิงเท่านั้น)

ปริซึมชนิดนี้เป็นก้อนกระจกแก้วมุมฉากที่มีมุมสามมุม 30°-60°-90° เมื่อใช้งาน ลำแสงจะเข้ามาจากพื้นผิว AB และหลังจากการหักเห แสงจะเกิดการสะท้อนกลับทั้งหมดจากพื้นผิว BC ไปยังพื้นผิว AC แล้วเกิดการหักเหออกจากพื้นผิว AC ปริซึมนี้ได้รับการออกแบบให้แสงที่ความยาวคลื่นเฉพาะค่าเบี่ยงเบนไป 60° (เทียบกับทิศทางเดิม) เมื่อออกจากปริซึม นี่คือมุมเบี่ยงเบนต่ำสุดที่จะเบี่ยงเบนได้ภายในปริซึมนี้ สำหรับความยาวคลื่นอื่น ๆ ของแสงจะเบี่ยงเบนไปในมุมที่กว้างกว่า อ้างอิงจากรูปด้านขวา สามารถทำการหมุนโดยมีจุด O เป็นจุดใด ๆ บนระนาบของภาพโดย AB เป็นแกนการหมุน เพื่อเลือกความยาวคลื่นที่จะให้เบี่ยงเบนไป 60° ได้

อนึ่ง อย่าสับสนระหว่างปริซึมของอับเบอชนิดนี้ที่ใช้สำหรับการกระจาย กับปริซึมชนิดอื่นที่มีชื่อของอับเบออยู่ ได้แก่

ซึ่งเป็นปริซึมสำหรับเปลี่ยนทิศทางแสง โดยไม่ได้ทำหน้าที่กระจายแสง

อ้างอิง[แก้]

  • Hecht, Eugene (2001). Optics (4th ed.). Pearson Education. ISBN 978-0-8053-8566-3.