ปริซึมกลาน–ฟูโก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปริซึมกลาน–ฟูโก เบี่ยงเบนแสงโพลา ไรซ์ p และส่งผ่านแสงโพลาไรซ์ s แกนเชิงแสงของปริซึมตั้งฉากกับระนาบของภาพ

ปริซึมกลาน–ฟูโก (Glan–Foucoult prism) หรือ ปริซึมกลาน–แอร์ (Glan–air prism) เป็นปริซึมประเภทหนึ่งที่ใช้สำหรับเป็นโพลาไรเซอร์ มีลักษณะคล้ายคลึงกับปริซึมกลาน–ทอมป์สัน ยกเว้นตรงที่ว่าปริซึมแคลไซต์ที่ตั้งฉากกันสองอันจะถูกแยกออกจากกันด้วยช่องว่างอากาศแทนที่จะยึดไว้ด้วยกัน[1] การสะท้อนกลับทั้งหมด ของแสงโพลาไรซ์ p ที่ช่องว่างอากาศทำให้มีเพียงแสงโพลาไรซ์ s เท่านั้นที่สามารถผ่านปริซึมออกไปได้โดยตรง

การออกแบบ[แก้]

เมื่อเปรียบเทียบกับปริซึมกลาน–ทอมป์สัน แล้ว ปริซึมกลาน–ฟูโกมีมุมการมองเห็นที่แคบกว่า แต่เนื่องจากปริซึมชนิดนี้ใช้ช่องว่างอากาศแทนที่จะใช้สารยึดเกาะ จึงสามารถทนความรับอาบรังสีได้มากกว่าโดยไม่เกิดความเสียหาย ดังนั้นจึงสามารถใช้ปริซึมชนิดนี้กับลำแสงเลเซอร์ได้ ปริซึมชนิดนี้ยังมีรูปร่างสั้น (สำหรับรูรับแสงค่าหนึ่ง ๆ) กว่าการออกแบบของ ปริซึมกลาน–ทอมป์สัน และมุมเบี่ยงเบนของลำแสงที่ส่งออกไปสามารถเข้าถึงเกือบ 90° ซึ่งอาจได้เปรียบในบางกรณี โดยปกติแล้ว ปริซึมกลาน–ฟูโกจะไม่ได้ถูกใช้เป็นตัวแยกลำแสงโพลาไรซ์ เนื่องจากแม้ว่าลำแสงที่ส่งผ่านนั้นจะโพลาไรซ์เต็มที่ แต่ลำแสงสะท้อนจะไม่เป็นเช่นนั้น

การเกิดโพลาไรเซชัน[แก้]

ปริซึมกลาน–เทย์เลอร์ ก็เป็นปริซึมอีกชนิดที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ยกเว้นว่าแกนผลึกและทิศทางการแพร่กระจายนั้นจะตั้งฉากกับในปริซึมกลาน–ฟูโก ส่งผลให้เกิดการส่งผ่านที่สูงขึ้นและทำให้โพลาไรเซชันของแสงสะท้อนที่ดีขึ้น[2] ปริซึมกลาน–ฟูโกที่ทำจากแคลไซต์มักไม่เป็นที่นิยมใช้ ส่วนใหญ่ถูกแทนที่ด้วยปริซึมกลาน–เทย์เลอร์และปริซึมแบบอื่น ๆ ที่ทันสมัยกว่า

ปริซึมอิตเทรียมออร์โธวาเนเดต (YVO4) ซึ่งออกแบบโดยยืนพื้นจากปริซึมกลาน–ฟูโก มีโพลาไรเซชันของลำแสงสะท้อนที่ดีกว่า และขีดจำกัดความเสียหายสูงกว่า เมื่อเทียบกับปริซึมกลาน–ฟูโกที่ทำจากแคลไซต์ หรือ ปริซึมกลาน–เทย์เลอร์[3] ปริซึม YVO4 นั้นมีราคาแพงกว่า แต่ก็ทำให้สามารถรับลำแสงในช่วงมุมตกกระทบที่จำกัดมากได้

อ้างอิง[แก้]

  1. Bennett, Jean M. (1995). "Polarizers". ใน Bass Michael, Ed. (บ.ก.). Handbook of Optics Volume II (2nd ed.). McGraw-Hill. pp. 3.11–3.12. ISBN 0-07-047974-7.
  2. J.-Y. Fan; และคณะ (2003). "A study on transmitted intensity of disturbance for air-spaced Glan-type polarizing prisms". Optics Communications. 223 (1–3): 11–16. arXiv:physics/0211045. Bibcode:2003OptCo.223...11F. doi:10.1016/S0030-4018(03)01618-3. S2CID 119094515.
  3. US patent 3914018, Deshazer, Larry G., "Yttrium orthovanadate optical polarizer", issued 1975-10-21, assigned to Union Carbide Corp.