ปรากฏการณ์คนมุง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปรากฏการณ์คนมุง (อังกฤษ: bystander effect) หรือความเฉยชาของคนมุง (อังกฤษ: bystander apathy) เป็นทฤษฎีจิตวิทยาสังคมซึ่งระบุว่าปัจเจกบุคคลมีโอกาสเสนอความช่วยเหลือผู้เสียหายลดลงหากมีผู้อื่นอยู่ด้วย ทฤษฎีนี้มีการเสนอครั้งแรกในปี 1964 และการวิจัยโดยเฉพาะในห้องปฏิบัติการพบปัจจัยหลากหลายเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เช่น จำนวนคนมุง ความกำกวม ความเป็นปึกแผ่นของกลุ่ม และการซึมผ่านของความรับผิดชอบที่ส่งเสริมการปฏิเสธร่วมกัน ทฤษฎีนี้เกิดขึ้นจากการฆ่าคิตตี จีโนวีสซึ่งมีรายงานข่าวไม่ถูกต้องว่ามีคนมุงอยู่ 38 คนโดยไม่เข้าสอด การวิจัยสมัยหลังสนใจเหตุการณ์ "โลกความเป็นจริง" ที่จับได้ในกล้องนิรภัย และมีการตั้งคำถามถึงความคงทนและผลไปในทางเดียวกันของปรากฏการณ์นี้[1] การศึกษาใหม่ ๆ ยังแสดงให้เห็นว่าปรากฎการณ์นี้ยังสามารถวางนัยทั่วไปถึงสถานที่ทำงานด้วย โดยผู้ใต้บังคังบัญชามักละเลยไม่แจ้งความคิด ความกังวลและความเห็นต่อผู้บังคับบัญชา[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. Philpot, Richard; Liebst, Lasse Suonperä; Levine, Mark; Bernasco, Wim; Lindegaard, Marie Rosenkrantz (2020). "Would I be helped? Cross-national CCTV footage shows that intervention is the norm in public conflicts" (PDF). American Psychologist (ภาษาอังกฤษ). 75 (1): 66–75. doi:10.1037/amp0000469. hdl:10871/37604. ISSN 1935-990X. PMID 31157529. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-03-11. สืบค้นเมื่อ 2021-06-27.
  2. Hussain, Insiya; Shu, Rui; Tangirala, Subrahmaniam; Ekkirala, Srinivas (2019). "The Voice Bystander Effect: How Information Redundancy Inhibits Employee Voice". Academy of Management Journal. 62 (3): 828–849. doi:10.5465/amj.2017.0245. ISSN 0001-4273.