ปฏิทินไทเดิม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การนับวันที่[แก้]

การนับวันที่ใช้การสังเกตรูปร่างของดวงจันทร์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยดวงจันทร์จะมีทั้งเต็มดวง(เดือนเพ็ญ)และจะค่อยๆเหลือเป็นเสี้ยวเล็กลงไปจนกระทั่งมองไม่เห็น(เดือนมืด)เรียกว่าข้างแรม และเพิ่มขึ้นอีกจนกระทั่งเต็มดวงอีกครั้งเรียกว่าข้างขึ้น ซึ่งใช้เวลาประมาณ 30 วันหรือเท่ากับ 1 เดือน การนับวันที่แบบไทเดิมในรอบ 1 เดือนมีดังนี้

  1. วันแรม ๑ ค่ำ
  2. วันแรม ๒ ค่ำ
  3. วันแรม ๓ ค่ำ
  4. วันแรม ๔ ค่ำ
  5. วันแรม ๕ ค่ำ
  6. วันแรม ๖ ค่ำ
  7. วันแรม ๗ ค่ำ
  8. วันแรม ๘ ค่ำ
  9. วันแรม ๙ ค่ำ
  10. วันแรม ๑๐ ค่ำ
  11. วันแรม ๑๑ ค่ำ
  12. วันแรม ๑๒ ค่ำ
  13. วันแรม ๑๓ ค่ำ
  14. วันแรม ๑๔ ค่ำ
  15. วันแรม ๑๕ ค่ำ
  16. วันขึ้น ๑ ค่ำ
  17. วันขึ้น ๒ ค่ำ
  18. วันขึ้น ๓ ค่ำ
  19. วันขึ้น ๔ ค่ำ
  20. วันขึ้น ๕ ค่ำ
  21. วันขึ้น ๖ ค่ำ
  22. วันขึ้น ๗ ค่ำ
  23. วันขึ้น ๘ ค่ำ
  24. วันขึ้น ๙ ค่ำ
  25. วันขึ้น ๑๐ ค่ำ
  26. วันขึ้น ๑๑ ค่ำ
  27. วันขึ้น ๑๒ ค่ำ
  28. วันขึ้น ๑๓ ค่ำ
  29. วันขึ้น ๑๔ ค่ำ
  30. วันขึ้น ๑๕ ค่ำ

การนับวันในสัปดาห์[แก้]

อาทิตย์ ๑ จันทร์ ๒ อังคาร ๓ พุธ ๔ พฤหัส ๕ ศุกร์ ๖ เสาร์ ๗

การนับเดือน[แก้]

การนับเดือน นับตามตัวเลขทั้ง 12 เดือน ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงใช้กันอยู่ ดังนี้

  1. เดือนอ้าย ตรงกับช่วงเดือนตุลาคม(ล้านนาและลาวใช้เดือนเกี๋ยง)
  2. เดือนญี่(เดือนยี่) ตรงกับช่วงเดือนพฤศจิกายน
  3. เดือนสาม ตรงกับช่วงเดือนธันวาคม
  4. เดือนสี่ ตรงกับช่วงเดือนมกราคม
  5. เดือนห้า ตรงกับช่วงเดือนกุมภาพันธ์
  6. เดือนหก ตรงกับช่วงเดือนมีนาคม
  7. เดือนเจ็ด ตรงกับช่วงเดือนเมษายนซึ่งถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของคนไท
  8. เดือนแปด ตรงกับช่วงเดือนพฤษภาคม
  9. เดือนเก้า ตรงกับช่วงเดือนมิถุนายน
  10. เดือนสิบ ตรงกับช่วงเดือนกรกฎาคม
  11. เดือนสิบเอ็ด ตรงกับช่วงเดือนสิงหาคม
  12. เดือนสิบสอง ตรงกับช่วงเดือนกันยายน

การนับปี[แก้]

การนับปีของไทเดิม นับตามลำดับปีของราชวงศ์ของพระมหากษัตริย์ เจ้ามหาชีวิต หรือเจ้าฟ้ามาตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น

ปีที่ ๙ แห่งราชวงศ์เชียงราย

ปีนักษัตร[แก้]

ปีนักษัตรของไท หรือ ปีหนไทย จะคล้ายคลึงกับจีน ญี่ปุ่น และชาติอื่นๆในเอเชีย คือ ใช้สัตว์ 12 ชนิดเป็นสัญลักษณ์ ใช้คำไทเดิมซึ่งชาวล้านนา ล้านช้าง ไทใหญ่ยังใช้อยู่ แต่ในปัจจุบันไทยใช้คำเขมรดังนี้ [1]

  1. ปีไจ้ คือ ปีชวด
  2. ปีเปล้า หรือ ปีเป้า คือ ปีฉลู
  3. ปียี หรือ ปียี่ คือ ปีขาล
  4. ปีเหม้า หรือ ปีเม้า คือ ปีเถาะ
  5. ปีสี คือ ปีมะโรง
  6. ปีไส้ หรือ ปีไส คือ ปีมะเส็ง
  7. ปีสง้า หรือ ปีซง้า คือ ปีมะเมีย
  8. ปีเม็ด หรือ ปีมด คือ ปีมะแม
  9. ปีสัน คือ ปีวอก
  10. ปีเร้า, ปีเล้า หรือ ปีเฮ้า คือ ปีระกา
  11. ปีเส็ด คือ ปีจอ
  12. ปีไค้ หรือ ปีไก๊ คือ ปีกุน

นอกจากนี้ ยังมีการใช้ชื่อศกไทยโบราณ ที่ เป็นชื่อบอกเลขตัวท้ายของจุลศักราชควบคู่ปีนักษัตร ซึ่งมี 10 ชื่อ

  1. กาบ คือ ฉศก หรือ ศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข 6
  2. ฮับ หรือ ดับ คือ สัปตศก หรือ ศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข 7
  3. ฮวาย หรือ รวาย คือ อัฏฐศก หรือ ศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข 8
  4. เมิง คือ นพศก หรือ ศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข 9
  5. เปิก หรือ เปลิก คือ สัมฤทธิศก หรือ ศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข 0
  6. กัด คือ เอกศก หรือ ศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข 1
  7. กด คือ โทศก หรือ ศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข 2
  8. ฮวง, รวง ลวง หรือ ฮ้วง คือ ตรีศก หรือ ศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข 3
  9. เต่า คือ จัตวาศก หรือ ศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข 4
  10. กา หรือ ก่า คือ เบญจศก หรือ ศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข 5

ซึ่งในการเรียกชื่อปีนักษัตร จะมีเกณฑ์นับปีและศกไทย มีกำหนด 60 ปี เท่ากับ 1 รอบ โดยเรียกชื่อศกแล้วตามด้วยชื่อปีนักษัตรดังนี้

  1. ปี กาบไจ๊ คือ ปีชวดฉศก
  2. ปี ฮับเป้า คือ ปีฉลูสัปตศก
  3. ปี รวายยี คือ ปีขาลอัฏฐศก
  4. ปี เมิงเม้า คือ ปีเถาะนพศก
  5. ปี เปิกสี คือ ปีมะโรงสัมฤทธิศก
  6. ปี กัดไส้ คือ ปีมะเส็งเอกศก
  7. ปี กดสง้า คือ ปีมะเมียโทศก
  8. ปี รวงเม็ด คือ ปีมะแมตรีศก
  9. ปี เต่าสัน คือ ปีวอกจัตวาศก
  10. ปี กาเร้า คือ ปีระกาเบญจศก
  11. ปี กาบเส็ด คือ ปีจอฉศก
  12. ปี ฮับไค้ คือ ปีกุนสัปตศก
  13. ปี รวายไจ๊ คือ ปีชวดอัฏฐศก
  14. ปี เมิงเป้า คือ ปีฉลูนพศก
  15. ปี เปิกยี คือ ปีขาลสัมฤทธิศก
  16. ปี กัดเม้า คือ ปีเถาะเอกศก
  17. ปี กดสี คือ ปีมะโรงโทศก
  18. ปี รวงไส้ คือ ปีมะเส็งตรีศก
  19. ปี เต่าสง้า คือ ปีมะเมียจัตวาศก
  20. ปี กาเม็ด คือ ปีมะแมเบญจศก
  21. ปี กาบสัน คือ ปีวอกฉศก
  22. ปี ฮับเร้า คือ ปีระกาสัปตศก
  23. ปี รวายเส็ด คือ ปีจออัฏฐศก
  24. ปี เมิงไค้ คือ ปีกุนนพศก
  25. ปี เปิกไจ๊ คือ ปีชวดสัมฤทธิศก
  26. ปี กัดเป้า คือ ปีฉลูเอกศก
  27. ปี กดยี คือ ปีขาลโทศก
  28. ปี รวงเม้า คือ ปีเถาะตรีศก
  29. ปี เต่าสี คือ ปีมะโรงจัตวาศก
  30. ปี กาไส้ คือ ปีมะเส็งเบญจศก
  31. ปี กาบสง้า คือ ปีมะเมียฉศก
  32. ปี ฮับเม็ด คือ ปีมะแมสัปตศก
  33. ปี รวายสัน คือ ปีวอกอัฏฐศก
  34. ปี เมิงเร้า คือ ปีระกานพศก
  35. ปี เปิกเส็ด คือ ปีจอสัมฤทธิศก
  36. ปี กัดไค้ คือ ปีกุนเอกศก
  37. ปี กดไจ๊ คือ ปีชวดโทศก
  38. ปี รวงเป้า คือ ปีฉลูตรีศก
  39. ปี เต่ายี คือ ปีขาลจัตวาศก
  40. ปี กาเม้า คือ ปีเถาะเบญจศก
  41. ปี กาบสี คือ ปีมะโรงฉศก
  42. ปี ฮับไส้ คือ ปีมะเส็งสัปตศก
  43. ปี รวายสง้า คือ ปีมะเมียอัฏฐศก
  44. ปี เมิงเม็ด คือ ปีมะแมนพศก
  45. ปี เปิกสัน คือ ปีวอกสัมฤทธิศก
  46. ปี กัดเร้า คือ ปีระกาเอกศก
  47. ปี กดเส็ด คือ ปีจอโทศก
  48. ปี รวงไค้ คือ ปีกุนตรีศก
  49. ปี เต่าไจ๊ คือ ปีชวดจัตวาศก
  50. ปี กาเป้า คือ ปีฉลูเบญจศก
  51. ปี กาบยี คือ ปีขาลฉศก
  52. ปี ฮับเม้า คือ ปีเถาะสัปตศก
  53. ปี รวายสี คือ ปีมะโรงอัฏฐศก
  54. ปี เมิงไส้ คือ ปีมะเส็งนพศก
  55. ปี เปิกสง้า คือ ปีมะเมียสัมฤทธิศก
  56. ปี กัดเม็ด คือ ปีมะแมเอกศก
  57. ปี กดสัน คือ ปีวอกโทศก
  58. ปี รวงเร้า คือ ปีระกาตรีศก
  59. ปี เต่าเส็ด คือ ปีจอจัตวาศก
  60. ปี กาไค้ คือ ปีกุนเบญจศก

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  1. "ผู้ช่วยศาสตราจารย์กรรณิการ์ วิมลเกษม, ศักราช ศก ปี วัน เดือน ฤกษ์ และยามในจารึกล้านนา, วารสารดำรงวิชาการ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (ม.ค. - มิ,ย. 45), หน้า 295 - 320" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-04-12. สืบค้นเมื่อ 2023-12-29.