ข้ามไปเนื้อหา

ฉบับร่าง:นากาจิมะ เอ6เอ็ม2-เอ็น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก นากาจิมะ เอ6เอ็ม2-เอ็น)
เอ6เอ็ม2-เอ็น
เอ6เอ็ม2-เอ็น
หน้าที่ เครื่องบินทุ่นลอยน้ำสกัดกั้น/ขับไล่ทิ้งระเบิด
ประเทศผู้ผลิต  ญี่ปุ่น
ผู้ผลิต นากาจิมะแอร์คราฟท์คอมปะนี
เที่ยวบินแรก 7 ธันวาคม 1941
เริ่มใช้ 1942
ผู้ใช้หลัก กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น
จำนวนที่ถูกผลิต 327
พัฒนาจาก มิตซูบิชิ เอ6เอ็ม ซีโร่

นากาจิมะ เอ6เอ็ม2-เอ็น (อังกฤษ: Nakajima A6M2-N) เป็นเครื่องบินลอยน้ำที่นั่งเดี่ยว ซึ่งมีพื้นฐานมาจากมิตซูบิชิ เอ6เอ็ม ซีโร่ รุ่น 11 ชื่อรหัสที่ฝ่ายสัมพันธมิตรใช้เรียกเครื่องบินลำนี้คือ รูฟ

การออกแบบและการพัฒนา[แก้]

เครื่องบินลอยน้ำรุ่นเอ6เอ็ม2-เอ็น พัฒนาต่อยอดจากมิตซูบิชิ เอ6เอ็ม ซีโร่ ออกแบบมาเพื่อสนับสนุนการโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบกเป็นหลัก เครื่องบินลำนี้ถูกสร้างขึ้นจากฐานลำตัวของมิตซูบิชิ เอ6เอ็ม2 รุ่น 11 โดยดัดแปลงหางและติดตั้งเรือท้องแบนเพิ่มเติม มีการผลิตทั้งหมด 327 ลำรวมถึงลำต้นแบบด้วย

ประวัติการปฏิบัติการ[แก้]

เครื่องบินลำนี้ถูกนำมาใช้งานในปี 1942 เรียกว่า "ซุยเซ็น 2" (Hydro fighter type 2) และมีบทบาทในปฏิบัติการป้องกันทางทหารที่หมู่เกาะอะลูเชียนและหมู่เกาะโซโลมอนเท่านั้น เครื่องบินเหล่านี้มีประสิทธิภาพในการโจมตีเรือตรวจการณ์ของอเมริกาในเวลากลางคืน

เครื่องบินรุ่นเอ6เอ็ม2-เอ็น ลำสุดท้ายถูกกองทัพฝรั่งเศสในอินโดจีนนำมากลับมาใช้ ภายหลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เครื่องบินลำนี้ประสบอุบัติเหตุหลังจากผ่านการซ่อมแซมครั้งใหญ่[1]

ประจำการ[แก้]

ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส

คุณลักษณะ (นากาจิมะ เอ6เอ็ม2-เอ็น)[แก้]

มิติของเอ6เอ็ม2-เอ็น
  • ผู้สร้าง: นากาจิมะแอร์คราฟท์คอมปะนี (ประเทศญี่ปุ่น)
  • ประเภท: เครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิด
  • เครื่องยนต์: 1 × Nakajima NK1C Sakae 12
  • กางปีก: 12 เมตร
  • ยาว: 10.1 เมตร
  • สูง: 4.3 เมตร
  • พื้นที่ปีก: 22.44 ตารางเมตร
  • น้ำหนักเปล่า: 1,912 กิโลกรัม
  • น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด: 2,880 กิโลกรัม
  • อัตราเร็วสูงสุด: 435 กิโลเมตร/ชั่วโมง ที่ระดับความสูง 5,000 เมตร
  • รัศมีทำการรบ: 1,148 กิโลเมตร
  • อาวุธ: ปืนใหญ่อากาศ Type 99-1 Mk.3 ขนาด 20 มม. 2 กระบอก / ปืนกล Type 97 ขนาด 7.7 มม. 2 กระบอก
  • ระเบิด: ระเบิดขนาด 60 กก. 2 ลูก

ดูเพิ่ม[แก้]

การพัฒนาที่เกี่ยวข้อง
อากาศยานที่เทียบเท่า

อ้างอิง[แก้]

  1. Dorr and Bishop 1996, p. 249.

บรรณานุกรม[แก้]

  • Dorr, Robert F. and Chris Bishop. Vietnam Air War Debrief. London:Aerospace |Publishing, 1996. ISBN 1-874023-78-6.
  • Francillon, R.J. Japanese Aircraft of the Pacific War. London:Putnam, 1970. ISBN 0-370-00033-1.
  • Green, William. War Planes of the Second World War, Volume Six: Floatplanes. London: Macdonald & Co., (Publishers) Ltd., 1962.
  • Green, William and Gordon Swanborough. The Complete Book of Fighters. New York: Smithmark, 1994. ISBN 0-8317-3939-8.
  • Jackson, Robert. Combat Legend: Mitsubishi Zero. Ramsbury, Marlborough, Wiltshire, UK: Airlife Publishing, 2003. ISBN 1-84037-398-9.
  • Janowicz, Krzystof. Mitsubishi A6M2-N Rufe (Kagero Famous Airplanes 4) (in Polish/English). Lublin, Poland: Kagero, 2004. ISBN 83-89088-42-8.
  • Mikesh, Robert C. Warbird History: Zero, Combat & Development History of Japan's Legendary Mitsubishi A6M Zero Fighter. Osceola, Wisconsin: Motorbooks International, 1994. ISBN 0-87938-915-X.
  • Sakaida, Henry. Imperial Japanese Navy Aces, 1937–45. Botley, Oxford, UK: Osprey Publishing Ltd., 1999. ISBN 1-85532-727-9.
  • Gunston,Bill. The Illustrated Encyclopedia of Combat Aircraft of World War II. London, UK: Salamander Books Ltd., 1978 ISBN 0-89673-000-X

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Nakajima A6M2-N Rufe