นพพร อินสีลอย (กิ่งซาง)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กิ่งซาง ก.ศักดิ์ลำพูน
ชื่อจริงนพพร อินสีลอย
ฉายากะเหรี่ยงทมืฬ
เกิด24 มิถุนายน พ.ศ. 2526 (40 ปี)
จังหวัดลำพูน ประเทศไทย
ผู้จัดการกู้เกียรติ ประภัสสรกุล
พีรพล ธีระเดชพงษ์

นพพร อินสีลอย หรือที่รู้จักกันในนาม กิ่งซ่าง ก.ศักดิ์ลำพูน ต่อมาเปลี่ยนเป็น กิ่งซาง มาโนโปรวิช กะเหรี่ยงทมิฬ แชมป์มวยไทย 7 สี[1][2] อดีตยอดนักมวยไทยชื่อดังเป็นอีกหนึ่งนักชกที่แฟนมวยให้ความศรัทธานิยมชมชอบเพราะชกสนุกคุ้มค่าตัวไม่เคยทำให้ใครๆต้องผิดหวัง หลังจากที่เลิกราสังเวียนชีวิตของเขาก็มีแต่ความเจริญก้าวหน้าโดยปัจจุบันรับราชการเป็นครูนับว่าเป็นแบบอย่างที่ดีที่นักชกรุ่นหลังควรจะศึกษาเรียนรู้

ประวัติ[แก้]

กิ่งซาง ก.ศักดิ์ลำพูน หรือกิ่งซาง มาโนโปรวิช เชื้อสายกะเหรี่ยง มีชื่อจริงว่า นพพร อินสีลอย เกิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2526 ที่บ้านแม่ปันเดง ตำบลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน โดยเป็นบุตรชายเพียงคนเดียวของคุณพ่อบุญธรรม คุณแม่นฤมล อินสีลอย ที่มีอาชีพรับจ้างทั่วไปสำหรับจุดเริ่มต้นที่มาชกมวยก็เนื่องจากเห็นเพื่อนเป็นนักมวยจึงอยากเป็นเช่นนั้นบ้างก่อนที่จะเริ่มต้นฝึกปรือเพลงยุทธ์นานร่วมปีจากนั้นก็ได้มีโอกาสขึ้นชกภายใต้ชื่อ "กิ่งซาง ลูกปันเด็ง" ปรากฏว่าพ่ายแพ้ได้ค่าตัว 120 บาท ช่วงนั้นเรียนอยู่ม.1ครับซึ่งน้องชายครูได้นำมาฝาก หลังจากนั้นก็ได้มีโอกาสขึ้นชกอีกประมาณ14ครั้ง ต่อมาทาง "หนานกู้" กู้เกียรติ ประภัสสรกุล ไปเห็นผมชกแล้วเกิดชอบใจที่เป็นมวยที่ชกสนุกจึงพาเข้ามาชกที่เวทีเมืองกรุง ซึ่งครั้งแรกก็ได้มีโอกาสชกรอบเสาร์บ่ายก่อน จากนั้นป๋าชุ้น เกียรติเพชร ก็ให้การสนับสนุนจัดผมชกเรื่อยมาจนเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น ริ่มสตาร์ทจากค่าตัว 2 พันบาทจากนั้นกิ่งซาง ก.ศักดิ์ลำพูน ก็เริ่มสร้างฟอร์มไต่เต้าจากมวยโนเนมจนกระทั่งกลายเป็นบิ้กเนม โดยมวยดังร่วมสมัยที่เคยปะทะฝีมือกันมาก็มี เพชรทวี ส.กิตติชัย,ดวงพิชิต อ.ศิริพร, "ไอ้ตาดุ" นฤนาท เซ็งซิมอิ้วยิ้ม,วันฉลอง ศิษย์ซ้อน้องหรือพีเคแสนชัยฯในปัจจุบัน,วิสันต์เล้ก ส.ทศพลฯลฯโดยค่าตัวสูงสุดที่ได้รับคือ 7.5 หมื่นบาท ได้มีโอกาสชิงแชมป์ถึง 3 ครั้งครับคือรุ่น 115 และ 118 ปอนด์ช่อง 7 สีแต่ปรากฏว่ากินแห้วไม่เคยสมหวังเลยสักครั้งเดียว ...แต่อย่างไรก็ตามผมมาประสบความสำเร็จได้คู่มวยดุเดือดแห่งปีตอนชกกับอาวุธเล้ก ว.สุนทรนนท์ ได้รับเงินสด 1 ล้านบาทแบ่งกันคนละครึ่งกับอาวุธเล็ก หลังจากที่กรำศึกมาอย่างโชกโชนมาถึงปี 55 ทางด้านกิ่งซาง ก็ประกาศอำลาสังเวียนแบบถาวรโดยไฟท์สุดท้ายเป็นฝ่ายปราชัยให้กับวังจั่นน้อย ศิษย์อุ๊อุบล "เหตุที่ต้องเลิกมวยเป็นเพราะสภาพร่างกายเริ่มไม่ไหว อีกอย่างช่วงนั้นก็สามารถสอบบรรจุครูได้ด้วย ปัจจุบันกิ่งซาง เป็นครูระดับ 6 สอนอยู่ที่ ร.ร.บ้านแม่จ๊าง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

การศึกษา[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-01. สืบค้นเมื่อ 2018-05-27.
  2. https://www.thairath.co.th/content/1291996
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๓[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๓๖, ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔