ธรีวันเดอส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธรีวันเดอส์
ใบปลิวธรีวันเดอส์เวอร์ชันอาร์เคด
ใบปลิวธรีวันเดอส์เวอร์ชันอาร์เคด
ผู้พัฒนาแคปคอม
ผู้จัดจำหน่ายอาร์เคด: แคปคอม
เพลย์สเตชัน, แซตเทิร์น: ซิงเอนเตอร์เทนเมนต์
กำกับคิฮาจิ-โอ
ออกแบบอูดาโตชิ
โปรแกรมเมอร์โคมะจัง
แต่งเพลงมาซากิ อิซูตานิ
เครื่องเล่นอาร์เคด, เพลย์สเตชัน, เซกา แซตเทิร์น
วางจำหน่ายอาร์เคด
20 พฤษภาคม ค.ศ. 1991
เพลย์สเตชัน, แซตเทิร์น
ค.ศ. 1998
แนวแพลตฟอร์เมอร์, เกมยิงเลื่อนฉาก, ปริศนา
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว, หลายผู้เล่น
ระบบอาร์เคดซีพี ซิสเตม

ธรีวันเดอส์ (อังกฤษ: Three Wonders) วางจำหน่ายในญี่ปุ่นในชื่อ วันเดอส์ 3 (ญี่ปุ่น: ワンダー3) เป็นวิดีโอเกม ค.ศ. 1991 ที่พัฒนาและเผยแพร่โดยแคปคอม และเปิดตัวครั้งแรกสำหรับอาร์เคดโดยใช้แพลตฟอร์มแคปคอมเพลย์ซิสเตม (ซีพีเอส1)[1] เกมดังกล่าวประกอบด้วยเกมที่เกี่ยวข้องสามเกม ได้แก่ มิดไนต์วานเดอเรอส์: เควสต์ฟอร์เดอะแชเรียต (Midnight Wanderers: Quest for the Chariot) หรือที่รู้จักในญี่ปุ่นว่ารูสเตอส์: แชเรียตโอะนางาชิเตะ (ルースターズ ~チャリオットを探して~), แชเรียต: แอดเวนเจอร์ธรูเดอะสกาย (Chariot: Adventure through the Sky) หรือที่รู้จักในญี่ปุ่นในชื่อแชเรียต: เท็งกุเอโนะทาบิ (チャリオット ~天空への旅~) และดอนต์พูล (Don't Pull) ซึ่งเป็นวิดีโอเกมแพลตฟอร์เมอร์, เกมยิงเลื่อนฉาก และเกมปริศนาตามลำดับ ซึ่งได้รับการพอร์ตสู่ระบบเพลย์สเตชัน และเซกา แซตเทิร์น ใน ค.ศ. 1998 และเผยแพร่โดยซิงเอนเตอร์เทนเมนต์ ธรีวันเดอส์ยังรวมอยู่ในแคปคอมคลาสสิกส์คอลเลกชัน วอลุม 2 ในเพลย์สเตชัน 2 และเอกซ์บอกซ์ รวมถึงแคปคอมคลาสสิกส์คอลเลกชัน รีมิกซ์ ในเพลย์สเตชัน พอร์เทเบิล

รูปแบบการเล่น[แก้]

มิดไนต์วานเดอเรอส์[แก้]

เป็นเกมแพลตฟอร์มที่พบผู้เล่นควบคุมฮอบบิทชื่อลู และผู้เป็นเพื่อนร่วมทางของเขาชื่อศิวะ เพื่อวิ่ง, ปีนป่าย และยิงใส่ศัตรู

แชเรียต[แก้]

เป็นเกมยิงเลื่อนฉากที่มีตัวละครจากมิดไนต์วานเดอเรอส์ แต่อยู่ในเกมที่คล้ายคลึงกับกราดิอุส

ดอนต์พูล[แก้]

เป็นเกมปริศนาที่คล้ายกับเกมอย่างซีรีส์เอ็กเกอร์แลนด์, เพนโกะ และเกมปริศนาของแคปคอมเองอย่างไพเรตชิปฮิเงมารุ ที่ให้ผู้เล่นควบคุมกระต่ายชื่อดอน (ผู้เล่นคนที่ 1) หรือกระรอกชื่อพูล (ผู้เล่นคนที่ 2) โดยการผลักบล็อกเพื่อบดขยี้เหล่ามอนสเตอร์

โครงเรื่อง[แก้]

มิดไนต์วานเดอเรอส์[แก้]

สองนักพเนจรเที่ยงคืน ได้แก่ ลูและศีวะ ได้ออกอาละวาดไปทั่วอาณาจักรของศัตรู เนื่องจากผู้คนของพวกเขากลายเป็นรูปปั้นไม้จากเวทมนตร์ที่ชั่วร้ายมารังควาญ นักพเนจรเที่ยงคืนทั้งสองแทรกซึมเข้าไปในปราสาทเพื่อกำจัดไกอาผู้ซึ่งเตรียมการบุกรุก และเพื่อปลดปล่อยยานศึกที่จะช่วยทำให้ประชากรของพวกเขาคืนสภาพกลับมา

แชเรียต[แก้]

ลูและศิวะขี่ยานศึกพาดปีกเครื่องบินซีเลสเชียล เพื่อต่อสู้กับหน่วยชั่วร้ายที่นำโดยลาร์ ที่คุกคามดาวเคราะห์บ้านเกิดของพวกเขา และช่วยเจ้าหญิงแห่งแอสทรา

ดอนต์พูล[แก้]

กระต่ายชื่อดอนและกระรอกชื่อพูล ได้นำทางผ่านเขาวงกตจำนวนมากเพื่อขจัดเหล่ามอนสเตอร์

การพัฒนาและการตลาด[แก้]

ธรีวันเดอส์ได้รับการวางจำหน่ายในระบบอาร์เคดเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1991 รวมถึงได้มีการวางแผนและพรีวิวเวอร์ชันสำหรับแคปคอมเพาเวอร์ซิสเตมเชนเจอร์แต่ไม่เคยวางจำหน่าย[2] เกมดังกล่าวได้รับการพอร์ตสู่ระบบเพลย์สเตชัน และเซกา แซตเทิร์น ใน ค.ศ. 1998 และเผยแพร่โดยซิงเอนเตอร์เทนเมนต์

การตอบรับ[แก้]

ในประเทศญี่ปุ่น เกมแมชชีนฉบับวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ได้ระบุว่าธรีวันเดอส์เป็นหน่วยอาร์เคดบนโต๊ะที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดอันดับห้าของปี[3] ส่วนนิตยสารรีโทรเกมเมอร์ได้ยกย่องธรีวันเดอส์ในฐานะทางเลือกแทนไบโอเมคานิคอลทอย[4] ขณะที่นิตยสารเกมแฟนได้วิจารณ์เวอร์ชันเพลย์สเตชันว่าด้อยกว่าเกมอาร์เคดดั้งเดิม เนื่องจากคุณภาพกราฟิกที่แปลงมาไม่ดี[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Three Wonders". Hardcore Gaming 101.
  2. "カプコン アーケードオリジナルボード CPSシリーズ+CPSチェンジャー 限定販売決定!!". Club Capcom (ภาษาญี่ปุ่น). No. 2. Capcom. Spring 1994.
  3. "Game Machine's Best Hit Games 25 - テーブル型TVゲーム機 (Table Videos)". Game Machine (ภาษาญี่ปุ่น). No. 408. Amusement Press, Inc. 1 August 1991. p. 25.
  4. "Converted Alternative - 3 Wonders". Retro Gamer. No. 74. Imagine Publishing. p. 20.
  5. "R Review - Three Wonders". Retro Gamer. Vol. 6 no. 6. June 1998. p. 91.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]