ทฤษฎีมูลค่าแรงงาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ทฤษฎีมูลค่าแรงงาน (อังกฤษ: Labor theory of value) เป็นทฤษฎีเศรษฐศาสตร์นอกหลักการว่าด้วยมูลค่าแรงงาน อธิบายว่าทุกสิ่งไม่สามารถสร้างมูลค่าได้ด้วยตัวมันเองหากปราศจากการลงแรงของมนุษย์ มูลค่าทางเศรษฐกิจของสินค้าและบริการนั้น ไม่ได้ถูกกำหนดตามความพอใจของผู้ขาย แต่สามารถวัดได้ในขั้นตอนการผลิตโดยวัดจากชั่วโมงการทำงานของกรรมกรที่ระดับจำเป็น แนวคิดนี้เป็นที่ถกเถียงของนักเศรษฐศาสตร์สำนักมาคส์มาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าแนวคิดนี้จะเคยถูกยกขึ้นมาเสนอก่อนหน้านั้นแล้วโดยนักเศรษฐศาสตร์เสรีนิยม อาทิ อดัม สมิธ และ เดวิด ริคาร์โด

นิยามของมูลค่าแรงงาน[แก้]

เมื่อกล่าวถึงความหมายของมูลค่าแรงงาน มูลค่า นั้นหมายถึง จำนวนชั่วโมงการทำงานอันจำเป็น (บางตำราคือ เวลาทำงานอันจำเป็นทางสังคม Socially-necessary labour-time) ในการผลิตสินค้าและบริการขึ้นมา ซึ่งทั้งเดวิด ริคาร์โด[1] และคาร์ล มาคส์ ได้พยายามจะอธิบายกิจกรรมเชิงแรงงานทั้งหมดที่เป็นนามธรรมให้เป็นจำนวนเชิงรูปธรรมขึ้นมา เพื่อที่จะพัฒนาทฤษฎีราคาที่แท้จริงหรือราคาโภคภัณฑ์ธรรมชาติ[2] ในขณะที่ทฤษฎีมูลค่าแรงงานของอดัม สมิธ ไม่ได้ต้องการจำนวนเชิงรูปธรรมเหล่านั้นเลย ทฤษฎีของสมิธนั้นใกล้เคียงกับทฤษฎีอรรถประโยชน์ (Utility theory) ที่เขาได้อธิบายไว้ว่า โภคภัณฑ์นั้นมีค่าเท่ากับอะไรก็ตามที่ถูกแรงงานเอาไปแลก (มูลค่าแลกเปลี่ยน) หรือเท่ากับอะไรก็ตามที่ถูกแรงงานเก็บรักษาไว้เพื่อบริโภคเอง (มูลค่าใช้สอย) หรือหมายถึงทั้งสองอย่าง ซึ่งมูลค่านี้เองที่ทำให้เกิดอุปสงค์และอุปทานในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง

มูลค่าแรงงานถูกอธิบายไว้ด้วยสมการ:

โดยที่
  • คือมูลค่าของปัจจัยทุน อันได้แก่มูลค่าที่เกิดจากต้นทุนหรือวัตถุดิบที่ใช้ในขั้นตอนการผลิตในช่วงเวลาหนึ่ง
  • คือจำนวนเวลาที่แรงงานใช้ในการเตรียมและผลิต (เวลาเฉลี่ยของแรงงานที่ผลิตสิ่งเดียวกันทั้งระบบ) จนสินค้าหรือบริการเสร็จสมบูรณ์ มักมีหน่วยเป็นชั่วโมงการทำงาน
  • คือมูลค่าของสินค้าที่ออกมา ณ เวลานั้น

ตัวอย่าง; มูลค่า (W) ของไข่เจียว 1 ฟอง ประกอบด้วยมูลค่าของทุน (c = ไข่ดิบ 1 ฟอง, ค่าแก็ส, ค่าเสื่อมกระทะ) กับมูลค่าแรงงาน (L = เวลาเฉลี่ยที่สังคมใช้ในการตีและเจียวไข่ 1 ฟอง) โดยเฉลี่ยแล้ว สังคมใช้เวลาในการตีและเจียวไข่ฟองละ 2 นาที แต่คนที่ใช้เวลาตีและเจียวไข่ 4 นาทีจะอ้างว่าไข่เจียวเขาจะต้องแพงกว่าไม่ได้ ต้องใช้มาตรฐานของสังคมมาเป็นตัวกำหนดมูลค่าแรงงาน เวลาโดยเฉลี่ยที่สังคมใช้ในการผลิตสิ่งใดสิ่งหนึ่งนี้เองที่เรียกว่า จำนวนชั่วโมงการทำงานอันจำเป็น

อ้างอิง[แก้]

  1. It is now interpreted that Ricardo's theory of value is not the labor theory of value, but the cost of production theory of value. See David Ricardo#Value theory
  2. e.g. see - Junankar, P. N., Marx's economics, Oxford : Philip Allan, 1982, ISBN 0-86003-125-X or Peach, Terry "Interpreting Ricardo", Cambridge: Cambridge University Press, 1993, ISBN 0-521-26086-8