ต้นข้าว ปาณินท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ศาสตราจารย์ ดร. ต้นข้าว ปาณินท์ สถาปนิกหญิงชาวไทย และศาสตราจารย์ที่ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ต้นข้าวเป็นลูกสาวของสองศิลปิน คือ อาจารย์อนันต์ ปาณินท์ ศิลปินแห่งชาติสาขาจิตรกรรม กับ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ อรศิริ ปาณินท์ สถาปนิก นักวิชาการ อดีตคณบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และศิลปินแห่งชาติ

การศึกษา[แก้]

ศ.ดร.ต้นข้าว ปาณินท์ เป็นอาจารย์และสถาปนิก จบการศึกษาสถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร หลังจากนั้นเดินทางไปศึกษาต่อปริญญาโทการออกแบบสถาปัตยกรรม จากมหาวิทยาลัย Houston สหรัฐอเมริกา รวมทั้งปริญญาโทและเอกทางด้านทฤษฎีสถาปัตยกรรม จากมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย โดยในช่วงที่กำลังศึกษาปริญญาเอก มีโอกาสทำงานเป็นสถาปนิกและอาจารย์มหาวิทยาลัยควบคู่กันด้วย หลังจากเรียนจบปริญญาเอก อาจารย์ต้นข้าว ได้เดินทางกลับมายังประเทศไทย และได้เริ่มทำงานเป็นอาจารย์ประจำที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พร้อมกับการทำงานออกแบบ ได้มีผลงานทางวิชาการ บทความ หนังสือ ตีพิมพ์ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ รวมทั้งผลงานออกแบบอาคารในประเทศไทยอีกมากมาย ภายใต้ชื่อ Research Studio Panin [ต้องการอ้างอิง]

ผลงานแต่งและแปลหนังสือทางสถาปัตยกรรม[แก้]

พ.ศ. 2564

  • หนังสือแปล สถาปัตยกรรมใหม่และบาวเฮาวส์ (แปลจาก The New Architecture and the Bauhaus)

พ.ศ. 2563

  • หนังสือ Art-i-Fact เรื่องเล่าจากข้าวของ

พ.ศ. 2561

  • หนังสือ ปฐมบท ทฤษฎีสถาปัตยกรรม

พ.ศ. 2560

  • หนังสือแปล ปีเตอร์ สมิธสัน บทสนทนากับนักเรียน (แปลจาก Peter Smithson Conversations with Students)
  • หนังสือแปล บทสนทนากับ มีส ฟาน เดอร์ โรห์ (แปลจาก Conversations with Mies van der Rohe)

พ.ศ. 2559

  • หนังสือแปล ปีเตอร์ อดอล์ฟ โลส บทสนทนากับความว่างเปล่า (แปลจาก Adolf Loos, Spoken into the Void)

พ.ศ. 2558

  • หนังสือแปล เลอ คอร์บูซิเอร์ บทสนทนากับนักเรียน (แปลจาก Le Corbusier Conversations with Students)
  • หนังสือแปล ปรากฏกาล ชีวิตของงานสถาปัตยกรรมผ่านกาลเวลา (แปลจาก On Weathering, the Life of Building in Time)
  • หนังสือแปล หลุยส์ คาห์น บทสนทนากับนักเรียน (แปลจาก Loius I. Kahn Conversations with Students)

พ.ศ. 2554

  • หนังสือชื่อ Tracing the City: The Transformation of Spatial Structure and Human Interaction within the City from the 19th Century โดยสำนักพิมพ์ VDM Verlag, Germany.

พ.ศ. 2553

  • หนังสือชื่อ THEORIA คนและความคิดทางสถาปัตยกรรม โดยสำนักพิมพ์ สมมติ, กรุงเทพ.

พ.ศ. 2552

  • หนังสือชื่อ Architectural Spatiality โดยสำนักพิมพ์ VDM Verlag, Germany.

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]