ตา-เซติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตา-เซติ (ด้านบนสุด) ที่ "วิหารน้อยขาว" ในคาร์นัก
แผนที่ของเขตปกครองทั้งหมดในอียิปต์บน

ตา-เซติ (ดินแดนแห่งธนู หรือ ตา-เคนทิต, ชายแดน หรือ พรมแดน) เป็นเขตปกครองเขตแรกของอียิปต์บน ซึ่งเป็นหนึ่งใน 42 เขตปกครองในสมัยอียิปต์โบราณ[1][2][3][4][5][6] ตา-เซติเป็นเขตพื้นที่ชิดชายแดนกับดินอดนทางนิวเบียและชื่อนี้ยังใช้เพื่ออ้างถึงนิวเบียอีกด้วย[7][8][9][10]

N16
T9A
R12
N24
ตา-เซติ
ไฮเออโรกลีฟอียิปต์

ประวัติ[แก้]

ในทุกเขตปกครองจะถูกดูแลโดยผู้ปกครองท้องถิ่น (ผู้ว่าราชการท้องถิ่น) ซึ่งขึ้นโดยตรงกับฟาโรห์[2][3][4][5]

พื้นที่ของเขตปกครองนี้ประมาณ 2 ชา-ตา (ประมาณ 5.5 เฮกตาร์ / 4.8 เอเคอร์ โดย 1 ชา-ตาเท่ากับ 2.75 เฮกตาร์ / 2.4 เอเคอร์) และประมาณ 10,5 อิเทรู (ประมาณ 112 กม. / 69,6 ไมล์ 1 อิเทรู เท่ากับ ยาวประมาณ 10.5 กม. / 6.2 ไมล์)[11]

เมืองหลักของเขตปกครองนี้ (Niwt) คือ อาบู / แอลเลเฟนไทน์ (ส่วนหนึ่งของเมืองอัสวานในปัจจุบัน) และเมืองอื่น ๆ ได้แก่ ป'อาอาเลก / ฟิเล (หรือ เมืองฟิเลในปัจจุบัน), ซูเนต / ไซยีน (หรือ เมืองอัสวานในปัจจุบัน) และ ปา-เซเบก / โอมโบอิ (หรือ เมืองคอม โอมโบในปัจจุบัน)[2][3][4][5][6] โดยทุกเมืองหลัก (Niwt) จะมีวิหาร (Het net) ที่อุทิศให้กับเทพสูงสุดและจวนผู้ปกครองท้องถิ่น (Heqa het)[1]

เทพหลักของเขตปกครองคือเทพฮอรัส และเทพอื่นๆ ได้แก่ อานูเคต, อาเรนสนูฟิส, ฮาธอร์, ไอซิส, คนุม, มันดูลิส, ซาเทต และโซเบค[2][3][4][5][6] ปัจจุบันพื้นที่นี้เป็นส่วนหนึ่งของเขตผู้ว่าการอัสวาน

ยังคงพยายามศึกษาเกี่ยวกับชาวตา-เซติและอัตลักษณ์ของพวกเขา และในปัจจุบัน จากสิ่งที่ทราบกันเชื่อกันว่าพวกเขาใช้ภาษากลุ่มนีโล-ซาฮารัน[12]

ผู้ปกครองท้องถิ่นแห่งตา-เซติ[แก้]

ต่อไปนี้เป็นลำดับวงศ์ตระกูลบางส่วนของผู้ปกครองท้องถิ่นแห่งตา-เซติในสมัยช่วงราชวงศ์ที่สิบสอง โดยนามของผู้ปกครองท้องถิ่นจะถูกขีดด้วยเส้นใต้[13]

ซาเรนพุตที่ 1เคมาซาเทตโฮเทป ♀
ซาเรนพุตที่ 2เซไมย์
ซัต-ทเจนิ ♀
เฮกาอิบที่ 3อเมนิเซเนบ

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-09. สืบค้นเมื่อ 2010-07-14.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์), Egypt Ancient.net, accessdate=2010-07-14
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 [1], Egypt tourist authority, accessdate=2010-07-14
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-02. สืบค้นเมื่อ 2010-07-14.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์), Ancient Egyptian religion, Philae.net, accessdate=2010-07-14
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 [2], Reshafim.org, accessdate=2010-07-14
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 [3], Aldokan.com, accessdate=2010-07-14
  6. 6.0 6.1 6.2 [4], Digital Egypt for Universities, accessdate=2010-07-14
  7. Ancient Nubia: A-Group 3800–3100 BC
  8. Ancient Nubia: A Brief History. livescience.com
  9. "The Fitzwilliam Museum: Kemet". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-14. สืบค้นเมื่อ 2022-07-09.
  10. Newton, Steven H. (1993). "An Updated Working Chronology of Predynastic and Archaic Kemet". Journal of Black Studies. 23 (3): 403–415. doi:10.1177/002193479302300308. JSTOR 2784576. S2CID 144479624.
  11. [5], Faszination Ägypten (in German), accessdate=2010-07-14
  12. Christopher Ehret, The Civilizations of Africa: A History to 1800, University Press of Virginia, 2002.
  13. "Burial chamber discovered". Ahram Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-07. สืบค้นเมื่อ 2017-03-25.
  • Helck, Wolfgang; Westendorf, Wolfhart: Lexikon der Ägyptologie. Wiesbaden: Harrassowitz 1977. ISBN 3-447-01876-3

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]