ดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก (อังกฤษ: Near-Earth asteroids; NEA) คือดาวเคราะห์น้อยที่มีวงโคจรใกล้กับวงโคจรของโลก โดยมากมีวงโคจรอยู่ระหว่าง 0.983 ถึง 1.3 หน่วยดาราศาสตร์ จากดวงอาทิตย์[1] วงโคจรของดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกบางส่วนตัดกับวงโคจรของโลก ซึ่งอาจมีความเสี่ยงที่จะปะทะกันได้[2] ดาวเคราะน้อยเหล่านี้อยู่ใกล้พอที่จะเดินทางไปถึงโดยยานอวกาศได้ บางดวงสามารถไปถึงได้โดยใช้เชื้อเพลิงน้อยกว่าการไปดวงจันทร์เสียอีก[3] ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ดาวเคราะห์น้อยกลุ่มนี้เป็นเป้าหมายที่น่าสำรวจอย่างยิ่ง[4] มียานอวกาศไปเยือนดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกสองดวงแล้ว คือ ยานสำรวจ Near Earth Asteroid Rendezvous ขององค์การนาซา ไปสำรวจดาวเคราะห์น้อย 433 อีรอส[5] และยานสำรวจ Hayabusa ของ JAXA ได้ไปเยือน 25143 Itokawa[6] ดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก จัดว่าเป็นกลุ่มย่อยหนึ่งอยู่ในบรรดา วัตถุท้องฟ้าใกล้โลก

อ้างอิง[แก้]

  1. Morbidelli, Alessandro; Bottke, William F. Jr.; Froeschlé, Christiane; Michel, Patrick (January 2002). W. F. Bottke Jr.; A. Cellino; P. Paolicchi; R. P. Binzel (บ.ก.). "Origin and Evolution of Near-Earth Objects" (PDF). Asteroids III: 409–422. Bibcode:2002aste.book..409M. doi:10.2307/j.ctv1v7zdn4.33. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-09. สืบค้นเมื่อ 2017-11-09.
  2. Clark R. Chapman (May 2004). "The hazard of near-Earth asteroid impacts on earth". Earth and Planetary Science Letters. 222 (1): 1–15. Bibcode:2004E&PSL.222....1C. doi:10.1016/j.epsl.2004.03.004.
  3. Dan Vergano (February 2, 2007). "Near-Earth asteroids could be 'steppingstones to Mars'". USA Today. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-17. สืบค้นเมื่อ 2017-11-18.
  4. Rui Xu; Pingyuan Cui; Dong Qiao & Enjie Luan (March 18, 2007). "Design and optimization of trajectory to Near-Earth asteroid for sample return mission using gravity assists". Advances in Space Research. 40 (2): 200–225. Bibcode:2007AdSpR..40..220X. doi:10.1016/j.asr.2007.03.025.
  5. Donald Savage & Michael Buckley (January 31, 2001). "NEAR Mission Completes Main Task, Now Will Go Where No Spacecraft Has Gone Before". Press Releases. NASA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-17. สืบค้นเมื่อ 2017-11-09.
  6. Don Yeomans (August 11, 2005). "Hayabusa's Contributions Toward Understanding the Earth's Neighborhood". NASA/JPL Near Earth Object Program. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-09-05. สืบค้นเมื่อ 2017-11-07.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]