ญะฮ์มี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ญะฮ์มี (อาหรับ: جهمي) เป็นศัพท์ที่มีความหมายเชิงดูหมิ่นที่นักวิชาการอิสลามยุคแรกใช้กล่าวถึงผู้ติดตามของญะฮม์ อิบน์ ศ็อฟวาน (เสียชีวิตใน ฮ.ศ. 128/ ค.ศ. 746)[1] มัซฮับทั้งสี่ปฏิเสธแนวคิดของญะฮ์มี และอะฮ์มัด อิบน์ ฮันบัล อิหม่ามคนที่ 4 ถูกผู้นำมุสลิมเบียดเบียนจากการที่ท่านไม่ยอมรับแนวคิดญะฮ์มี

ตัวแทน[แก้]

ญะฮม์ อิบน์ ศ็อฟวาน เกิดที่ซามาร์กันต์ ตอนแรกอาศัยที่เตร์มึส และต่อมาที่อัลกูฟะฮ์ที่ซึ่งเขาพบกับญัด อิบน์ ดิรฮัม ผู้กลายเป็นผู้ติดตามและนักเทศน์แนวคิดนี้ หลังกลับมายังบ้านเกิดแล้ว เขามีส่วนในการก่อกำเริบต่อผู้ว่าอุมัยยะฮ์แห่งโฆรอซอน จนถูกจับและประหารชีวิตที่เมร์ว[2] หนึ่งในบรรดานักเทศน์ ญะฮ์มี ที่โด่งดังได้แก่บิชเราะฮ์ อัลมะรีซี (เสียชีวิตใน ค.ศ. 833) ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9 กลุ่มญะฮ์มีปฏิบัติการในแนฮอแวนด์ แต่บางส่วนถูกบังคับให้ยอมรับคำสอนของอัชอะรี[3]

ความเชื่อ[แก้]

มุมมองหลายอย่างของญะฮ์มีถูกฝ่ายซุนนีมองว่านอกรีต และบางส่วนถึงขั้นถูกขับไล่ออกจากสังคมอิสลามโดยทั่วไป ดังนั้น กลุ่มญะฮ์มีจึงปฏิเสธพระนามและคุณลักษณะของอัลลอฮ์ ซึ่งเป็นการศรัทธาที่สำคัญของหลักคำสอนของมุสลิมสายดั้งเดิม ในปัญหาการตีความแนวคิด "อีมาน" กลุ่มญะฮ์มีมีความคล้ายกับอัลมุรญิอะฮ์ และโต้แย้งว่าความศรัทธาเป็นความรู้ของอัลลอฮ์เท่านั้น และความไม่ศรัทธาเป็นความโง่เขลาของพระองค์ พวกเขายังถือว่าสวรรค์และนรกจะหายไปไม่ช้าก็เร็ว ซึ่งขัดแย้งทั้งในกุรอานและซุนนะฮ์ของศาสดามุฮัมมัด

ในหลักการพรหมลิขิต กลุ่มญะฮ์มียึดมั่นว่าบุคคลไม่มีเจตจำนงเสรีและถูกบังคับให้กระทำเช่นนั้น และตั้งคำถามถึงความเป็นธรรมชาติของอัลลอฮ์ กลุ่มญะฮ์มีเป็นพวกสรรพเทวนิยม และกล่าวว่าพระองค์มีอยู่ทุกที่และอาศัยอยู่ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด นอกจากนี้ พวกเขายังปฏิเสธความเป็นไปได้ที่มุสลิมที่มีธรรมะจะได้พบอัลลอฮ์ในสวรรค์[ต้องการอ้างอิง]

อ้างอิง[แก้]

  1. Hoover, J. (1 September 2004). "Perpetual Creativity in the Perfection of God: Ibn Taymiyya's Hadith Commentary on God's Creation of this World". Journal of Islamic Studies. 15 (3): 287–329. doi:10.1093/jis/15.3.287.
  2. "Ibn Safwan // New Philosophical Dictionary". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-04. สืบค้นเมื่อ 2013-06-30.
  3. Prozorov, S.M. (1991). al-Jahmiyya // Islam: Encyclopedic Dictionary. p. 64. ISBN 5-02-016941-2.