ซินท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซินท์
กำกับดิ๊ก มาส
เขียนบทดิ๊ก มาส
อำนวยการสร้างตอม เด โมล
ดิ๊ก มาส
นักแสดงนำฮึบ สตาเพล
เอจเบิร์ต ยัง วีเบอร์
คาโฮ เลนเซน
เบิร์ต ลูเปส
กำกับภาพคาโด ฟัน เคนเนพ
ตัดต่อเบิร์ต ริเคลฮูเซน
ดนตรีประกอบดิ๊ก มาส
ผู้จัดจำหน่ายอา-ฟิล์ม
วันฉาย31 ตุลาคม ค.ศ. 2010 (เทศกาลภาพยนตร์เรเซอร์รีลแฟนทาสติค)
11 พฤศจิกายน ค.ศ. 2010 (เนเธอร์แลนด์)
ความยาว85 นาที
ประเทศเนเธอร์แลนด์
ภาษาดัตช์

"ซินท์" (ดัตช์: Sint) หรือ "เซนต์" (อังกฤษ: Saint ในสหรัฐ) เป็นภาพยนตร์สยองขวัญดัตช์แนวตลกมืดมน ค.ศ. 2010 ที่เกี่ยวกับซินเตอร์คลาส ซึ่งเป็นตัวละครเปรียบได้กับซานตาคลอส ที่มีในประเทศที่พูดภาษาอังกฤษ กำกับภาพยนตร์โดย ดิ๊ก มาส ซึ่งเป็นการหวนกลับคืนสู่ภาพยนตร์สยองขวัญเช่นเดียวกับที่เขาเคยกำกับมาก่อนอย่าง เดอลิฟท์ (ค.ศ. 1983) และ อัมสเทอดัมเน็ด (ค.ศ. 1988)[1] โดยเป็นเรื่องบิดเบือนจากประเพณีนิยมของซินเตอร์คลาส โดยกำหนดให้เป็นผีตนหนึ่งที่กระทำการสังหารผู้คนเป็นจำนวนมากในคืนฉลองประจำปีที่เกิดขึ้นพร้อมกับพระจันทร์เต็มดวง

เนื้อเรื่องย่อ[แก้]

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 1492 แก๊งกลุ่มหนึ่งที่นำโดยอดีตบาทหลวงนิคลาสได้ถูกสังหารโดยกลุ่มชาวบ้านผู้ซึ่งไม่ต้องการที่จะถูกขโมยทรัพย์สินจากแก๊งอีกต่อไป ซึ่งในปีที่แก๊งได้ล้มหายตายจากไปนั้นเกิดขึ้นพร้อมกับคืนที่มีพระจันทร์เต็มดวง พวกมันได้กลับคืนมาอีกครั้งในฐานะของผีฆาตกร

ผู้คนต่างไม่ทราบถึงอาเพศนี้ และเทศกาลฉลองประจำปีของประเพณีซินเตอร์คลาสที่มีขึ้นในวันที่ 5 ธันวาคม ซึ่งบรรดาผู้ใหญ่ทั้งหลายต่างไม่เชื่อว่ามีซินเตอร์คลาสอยู่จริงแต่พวกเขาก็ทำให้เด็กเล็กๆเชื่อว่าซินเตอร์คลาสเป็นบุคคลผู้ใจดี สวาเต ปีเตน ซึ่งเป็นผู้ช่วยมิได้มีสีผิวดำโดยสัญชาติ หากแต่เป็นผลที่เกิดจากเพลิงไหม้ที่พวกเขาได้ถูกสังหาร ซินเตอร์คลาสยังมีไม้เท้าโครไซเออร์มีขอบที่แหลมคมและใช้เป็นอาวุธ ในวันที่ 5 ธันวาคม ซินเตอร์คลาส และ สวาเต ปีเตน จะมิได้มีความโดดเด่นเมื่อเทียบกับเหล่าผู้คนเป็นจำนวนมากที่แต่งตัวเป็นพวกเขาเพื่อการเฉลิมฉลอง

ครั้งสุดท้ายที่แก๊งปีศาจหวนกลับมาคือปี ค.ศ. 1968 ผู้คนหลายร้อยรายถูกฆ่าตาย รวมถึงครอบครัวของเด็กน้อยที่มีชื่อว่า พัวร์เอท ผู้ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจในปัจจุบัน ซึ่งบรรดาเจ้าหน้าที่ต่างมีส่วนร่วมต่อเหตุการณ์นี้ และพวกเขาตลอดจนคริสตจักรโรมันคาทอลิคล้วนต่างได้มีส่วนต่อการเก็บความลับของนิคลาสเอาไว้

เนื่องด้วยเกิดคืนพระจันทร์เต็มดวงในวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 2010 พัวร์เอทจึงเกิดความกังวลเป็นอย่างมาก และได้แนะให้ห้ามทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับซินเตอร์คลาสทั้งหมด รวมถึงให้มีการเพิ่มการเฝ้าระวัง แต่นั่นก็มิได้มีการดำเนินการอย่างจริงจัง ทั้งยังมีการส่งตัวให้ออกไป

ดังที่พัวร์เอทได้คาดการณ์ไว้ พวกมันได้หวนกลับมาและสังหารผู้คนไปหลายร้อยราย ในขณะที่พวกมันล้วนต่างคงกระพันต่อคมกระสุน ซึ่งในท้ายที่สุดพวกมันก็ถูกไล่ล่าออกไปด้วยเปลวเพลิง โดยนอกเหนือจากพัวร์เอทแล้ว ยังมีแฟรงค์ที่เป็นตัวเอกของเรื่องราวนี้ด้วยเช่นกัน

ตัวละครหลัก[แก้]

  • เซนต์นิคลาส (ฮึบ สตาเพล) เป็นบาทหลวงที่ชั่วร้าย ซึ่งถูกสังหารไปเมื่อ 475 ปีก่อน และได้ก่อเหตุฆาตกรรมทุกๆ 23 ปีในวันที่ 5 ธันวาคม
  • แฟรงค์ (เอจเบิร์ต ยัง วีเบอร์) เป็นเด็กวัยรุ่นคนหนึ่งที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นนักฆ่า 5 ธันวา
  • นาตาชา (มาเดอลีฟ บลังเคน) เป็นเพื่อนสนิทของแฟรงค์
  • ลิซ่า (คาโฮ เลนเซน) เป็นแฟนใหม่ของแฟรงค์ที่เชื่อในตำนานบาทหลวงผู้ชั่วร้าย
  • โซฟี (เอสคา ทานีฮาทู) เป็นเพื่อนสนิทของลิซ่า
  • พัวร์เอท (เบิร์ต ลูเปส) - พัวร์เอทวัยหนุ่ม (นีล ฟาน เดน แบร์ก) เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้รอดชีวิตจากเหล่ามือสังหารของบาทหลวงในช่วง 40 ปีก่อน และไม่เชื่อเรื่องวันแห่งเทศกาลบาทหลวงนับแต่นั้นมา
  • แม่ของลิซ่า (ซินเทีย อับมา)
  • เจ้าหน้าที่ตำรวจ (เกส โบท)
  • ฮังโค (โยวี ฟาน เด เฟลเดน) เป็นเพื่อนสนิทของแฟรงค์
  • แซนเดอร์ (ยิม แดดเดส) เป็นเพื่อนของแฟรงค์

ประเด็นถกเถียง[แก้]

ในช่วงที่มิได้อนุญาตให้เยาวชนได้ชมภาพยนตร์ชุดนี้ ก็ได้เกิดความกังวลจากผู้ปกครองถึงโปสเตอร์ภาพยนตร์มากกว่า ดังที่ได้พบเห็นตามท้องถนนรวมถึงตามล็อบบี้ของโรงภาพยนตร์ ซึ่งได้แสดงให้เห็นถึงซินเตอร์คลาสที่ไร้ใบหน้าและมีลักษณะที่มุ่งร้าย บางคนมีความกังวลว่าเรื่องนี้อาจสร้างความสับสนรวมถึงความหวาดกลัวสำหรับเด็กเล็กที่ยังคงมีความเชื่อเรื่องซินเตอร์คลาส โดยได้มีการร้องเรียนทางกฎหมายขึ้นในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2010 โดยขอร้องให้นำโปสเตอร์ออกไปทั้งหมด ในกรณีของศาลภายหลัง ทาง ดิ๊ก มาส ซึ่งเป็นผู้กำกับ ได้โต้แย้งว่าหากพ่อแม่สามารถทำให้บุตรหลานของตนเชื่อว่ามีซินเตอร์คลาสอยู่จริงได้ พวกเขาก็ควรชี้แจงว่าบุคคลที่อยู่ในโปสเตอร์ไม่ได้มีอยู่จริง ศาลวินิจฉัยเห็นชอบต่อมาส โดยให้ข้อสังเกตว่ามิได้เผยให้เห็นใบหน้าในโปสเตอร์ได้เพียงพอ และได้ปฏิเสธต่อการร้องเรียนนี้[2][3][4]

อ้างอิง[แก้]

  1. Brandpunt - Het heerlijk avondje van Dick Maas - Brandpunt - KRO (ดัตช์)
  2. "Sint film poster worries classification body". Dutchnews.nl. สืบค้นเมื่อ 14 November 2010.
  3. "Beslissingen Reclame Code Commissie over de reclame-uitingen voor de film SINT". สืบค้นเมื่อ 14 November 2010. (ดัตช์)
  4. "College van Beroep bevestigt uitspraak: Poster voor de film Sint niet in strijd met Reclamecode". สืบค้นเมื่อ 14 November 2010. (ดัตช์)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]