ช้างเผือก เกียรติทรงฤทธิ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ช้างเผือก เกียรติทรงฤทธิ์
ชื่อจริงสมชาย รอบแคว้น
รุ่นมิดเดิลเวท
ไลท์เฮฟวี่เวท
ครุยเซอร์เวท
เฮฟวี่เวท
ส่วนสูง1.75 m (5 ft 9 in)
เกิด13 ตุลาคม พ.ศ. 2509 (57 ปี)
อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
ชกทั้งหมด343
ชนะ277
ชนะน็อก178
แพ้61
เสมอ5

ช้างเผือก เกียรติทรงฤทธิ์ อดีตนักมวยไทยและนักมวยคิกบ็อกซิ่งและเค-วันชาวไทย เป็นนักมวยถนัดซ้าย มีชื่อจริงว่า สมชาย รอบแคว้น[1] เกิดเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2509 ที่อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

ช้างเผือกฝึกมวยตั้งแต่เด็กกับพ่อ และขึ้นชกครั้งแรกเมื่ออายุได้ 14 ปี หลังจากเข้าอยู่กับค่ายเกียรติทรงฤทธิ์ในกรุงเทพมหานคร โดยเริ่มจากรุ่นเล็กน้ำหนักไม่เกิน 108 ปอนด์ หรือไลท์ฟลายเวท ที่เวทีราชดำเนิน[2] ต่อมาเมื่อเขยิบขึ้นสู่รุ่นใหญ่ นักมวยรุ่นใหญ่ไม่ได้รับความนิยมในประเทศไทย ช้างเผือกจึงผันตัวเองเดินทางไปชกยังต่างประเทศ โดยถือว่าเป็นนักมวยไทยคนแรกที่ได้ขึ้นชกในรูปแบบเค-วัน[3] ที่ในหลายประเทศ เช่น ลาสเวกัส, ญี่ปุ่น, ออสเตรเลีย, เนเธอร์แลนด์ โดยได้ชกกับนักมวยเค-วัน หรือคิกบ็อกซิ่งที่มีชื่อเสียงหลายคน เช่น ร็อบ กามัน, ปีเตอร์ สมิธ, แบรนโก คิเคติก, ไทอิ คิน, แอนดี ฮัก, เออร์เนสโต ฮูสต์, ริก รูฟัส[4] โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการชกกับรูฟัส ซึ่งขณะนั้นเป็นนักมวยคิกบ็อกซิ่งที่ไม่เคยแพ้ใคร ที่ประเทศญี่ปุ่น ช้างเผือกถูกหมัดของรูฟัสกรามหักตั้งแต่ยกแรก แต่ยังอดทนสู้มาจนถึงยกที่ 4 ก็ชนะน็อกไปได้ด้วยการเตะเจาะยางที่ข้อเท้ารูฟัส ซึ่งครั้งนี้ได้สร้างชื่อเสียงให้กับช้างเผือกเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว[5]

นอกจากนี้แล้ว เมื่อครั้งเข้ารับการเกณฑ์ทหาร ช้างเผือกยังเคยเข้าแข่งขันมวยสากลสมัครเล่นของการแข่งขันกีฬาภายในกองทัพบกด้วย ในรุ่นมิดเดิลเวท (160 ปอนด์) ได้รับเสื้อสามารถ เมื่อปี พ.ศ. 2533 สังกัดกองทัพภาคที่ 2 (ทภ.๒)[6]

ชีวิตครอบครัว ช้างเผือกมีบุตรชาย 2 คน หลังแขวนนวมแล้วได้ทำงานเป็นเทรนเนอร์มวยไทยที่พัทยา[7] หลานชายคนหนึ่งของช้างเผือก คือ ก้องศักด์ ศิษย์บุญมี หรือ ก้องศักดิ์ พี.เค.แสนชัยมวยไทยยิม ก็เป็นนักมวยไทยในยุคปัจจุบัน[8] และยังมีนักมวยที่ใช้ชื่อคล้ายคลึงกัน คือ ช้างเผือกเล็ก เกียรติทรงฤทธิ์[9]และช้างศึก เกียรติทรงฤทธิ์ ที่ชกอยู่ในยุคปัจจุบัน อีกทั้งช้างเผือกยังเป็นต้นแบบของฉ่ำอุรา ตัวละครนักมวยไทยในการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง ถึงจะเห่ยแต่ก็สู้นะเฟ้ย โดยฮะโมะริ ทะกะชิ[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. NSAC report of WCK Kickboxing
  2. "interview of Changpuek Kiatsongrit (Early life & career)". www.siamfightmag.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-02. สืบค้นเมื่อ 2011-06-06.
  3. "แฟนพันธุ์แท้ 2014_7 มี.ค. 57 (มวยไทย)". แฟนพันธุ์แท้ 2014. March 7, 2014. สืบค้นเมื่อ September 9, 2016.
  4. Black Belt Apr 1999 (Rick Roufus interview - mentions fight). books.google.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2011-06-06.
  5. หน้า 12 Sports, MMA. "เจาะกีฬา" โดย พรพรหม จุลทัพพะ. กรุงเทพธุรกิจปีที่ 29 ฉบับที่ 10228: วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2559
  6. "ทำเนียบนักกีฬาที่ได้รับเสื้อสามารถ ทบ.ชั้น๒". กีฬาภายในกองทัพบก. สืบค้นเมื่อ 2016-09-10.[ลิงก์เสีย]
  7. "Interview of CHAMPUEK KIATSONGRIT". www.siamfightmag.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-02. สืบค้นเมื่อ 2011-06-06.
  8. "Kongsak Sitboonmee: The Best Fighter In Thailand". www.liverkick.com. สืบค้นเมื่อ 2011-06-06.
  9. "ศึกยอดมวยไทยรัฐ คู่2 ช้างเผือกเล็ก เกียรติทรงฤทธิ์VSพันธ์ฤทธิ์ เค.ซ่ายิมส์ 20-02-59 ThairathTV". ไทยรัฐทีวี. 2016-02-20. สืบค้นเมื่อ 2016-09-10.
  10. "คนไทยในการ์ตูนญี่ปุ่น: ฉ่ำอุรา". วิบูลย์กิจ.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]