ช้องเจ้าฟ้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ช้องเจ้าฟ้า
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
อันดับ: Malvales
วงศ์: Buxaceae
สกุล: sirindhorniana
สปีชีส์: Buxus sirindhorniana

ช้องเจ้าฟ้า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Buxus sirindhorniana) หรือ (Buxus sirindhorniana W.K.Soh, von Sternb., Hodk. & J.Parn ) เป็นพรรณไม้ชนิดใหม่ของโลกในวงศ์ Buxaceae ช้องเจ้าฟ้าพบได้ตามเขาหินปูน ตั้งแต่ชายแดนเมียนมา จ.กาญจนบุรี, อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน จ.ลำปาง, ดอยหลวงเชียงดาว จ.เชียงใหม่ พบได้ง่ายที่สุดที่ดอยหัวหมด อ.อุ้มผาง จ.ตาก ซึ่งเป็นเขาหินปูนที่ผุกร่อน พบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2465 โดยหมอคาร์ ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์พืชแห่งแรกในประเทศไทย ปัจจุบันช้องเจ้าฟ้าได้มีการเก็บตัวอย่างโดยเก็บรักษาไว้ที่หอพรรณไม้ สวนพฤกษศาสตร์คิว กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ทั้งนี้แม้มีการเก็บตัวอย่างมาเกือบ 100 ปี แต่ไม่เคยมีการตีพิมพ์ว่าเป็นพืชชนิดใหม่เนื่องจากนักพฤกษศาสตร์ไม่แน่ใจว่าจัดอยู่ในสกุลใด เพราะปรกติพืชตระกูลช้องจะมีรังไข่ 3 ช่องแต่ช้องเจ้าฟ้ามีรังไข่แค่ 2 ช่อง เมื่อได้ศึกษาในระดับชีวโมเลกุลยืนยันได้ว่าช้องเจ้าฟ้าอยู่ในสกุลช้อง นายสมราน สุดดี นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ ได้ตีพิมพ์ในวารสาร Nordic Journal of Botany เล่มที่ 32(4) หน้า 452 - 458 ปี 2014[1] โดยช้องเจ้าฟ้าจัดอยู่ในสกุล sirindhorniana ชื่อสกุลของพืชชนิดนี้ตั้งตามพระนามาภิไธยของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

อ้างอิง[แก้]

  1. https://www.matichon.co.th/local/news_366905