ชูโจฮิเมะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพชูโจฮิเมะและวิญญาณของแม่เลี้ยงใจร้ายที่สื่อด้วยรูปลักษณ์งูโดยโยชิโตชิ
ภาพมณฑลไทมะ

ชูโจฮิเมะ หรือ ฮาเซฮิเมะ (ญี่ปุ่น: 中将姫โรมาจิChūjō-hime) เอกสารหลายแห่งระบุว่านางเป็นธิดาของฟูจิวาระ โนะ โทโยนาริ เธอหลบหนีการลอบสังหารจากแม่เลี้ยงด้วยการบวชเป็นภิกษุณีที่วัดไทมะเดระในเมืองนาระโดยใช้นามว่า เซ็นชินนิ และฉายาทางธรรมว่า ฮนโย (法如) เรื่องราวของเธอได้กลายเป็นนิทานพื้นบ้าน เนื้อหามุ่งเน้นไปที่ความกตัญญูกตเวที บ้างก็กล่าวว่าเรื่องดังกล่าวเป็น "ซินเดอเรลลาฉบับญี่ปุ่น"

ประวัติ[แก้]

กล่าวกันว่าชูโจฮิเมะเป็นธิดาของขุนนางในวังหลวงจากสกุลฟูจิวาระที่เกิดกับมารดาซึ่งเป็นเจ้าหญิง เรื่องราวเบื้องกำเนิดของเธอขัดแย้งกันหลายแห่ง แต่โดยมากเชื่อว่าเธอเกิดในศตวรรษที่ 8 ตรงกับรัชสมัยของจักรพรรดิโชมุ เป็นธิดาของฟูจิวาระ โนะ โทโยนาริ แต่หลักฐานบางแห่งก็อ้างว่าเธอเป็นธิดาของฟูจิวาระ โนะ โทโยชิเงะ[1][2] บางฉบับก็ระบุว่าเธอคือกวนอิมกลับชาติมาเกิดก็มี[2] ท้องเรื่องระบุว่ามารดาของเธอเป็นคนมีบุตรยาก จึงขอพรจากกวนอิมให้ตนมีลูกสาว โดยแลกกับชีวิตของตน ครั้นชูโจฮิเมะมีอายุได้สามขวบ มารดาก็เสียชีวิต ส่วนบิดาสมรสใหม่

เนื้อหาในหลาย ๆ แห่งระบุว่าภรรยาใหม่ของพ่อมักข่มเหงคะเนงร้ายต่อชูโจฮิเมะ บางฉบับระบุถึงความโหดร้ายของแม่เลี้ยงนี้ว่านางสั่งให้ชูโจฮิเมะไปที่ภูเขาหวังให้อดตายที่นั่น บางฉบับก็ว่าชูโจฮิเมะยังคงอาศัยอยู่ที่บ้านและคัดลอกพระสูตรโดยหวังว่าผลบุญจะส่งให้มารดาไปสู่พุทธเกษตร แต่การกระทำเหล่านี้ไม่เป็นที่ต้องใจของแม่เลี้ยง เป็นเหตุที่ทำให้เธอถูกลอบทำร้าย ทว่าเธอได้รับการช่วยเหลือจากภิกษุณีจากวัดไทมะเดระก่อนอุปสมบทเป็นภิกษุณี เมื่อเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ ก็ได้ประพฤติตนตามระเบียบอย่างเคร่งครัดรวมทั้งบำเพ็ญกัมมัฏฐาน จนได้รับสมญาว่าเป็น "พระพุทธเจ้าที่มีชีวิต"[1] ในช่วงเวลาดังกล่าวเธอใช้เวลาว่างไปกับงานประดิษฐ์และงานเย็บปักถักร้อย

ชูโจฮิเมะทอผ้าจากใยบัวและวาดภาพมณฑลไทระซึ่งแสดงถึงภาพแดนพุทธเกษตร กล่าวกันว่าเธอทำทุกอย่างเหล่านี้ได้ในคืนเดียว บางฉบับก็ว่าเธอขอพรจากพระอมิตาภพุทธะและได้รับการช่วยเหลือจนเป็นผลสำเร็จ[1][3]

ในวัฒนธรรมร่วมสมัย[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Ashkenazy, Michael. Handbook of Japanese Mythology. Santa Barbara, California: ABC-Clio, 2003. 129–130
  2. 2.0 2.1 "Chujo-hime and the Spirit of her Wicked Stepmother". Sinister Designs: Yoshitoshi Tsukioka. สืบค้นเมื่อ 2007-01-05.
  3. Glassman, Hank. "Chujo-hime, Convents, and Women's Salvation". สืบค้นเมื่อ 2007-01-05.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]