ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (อังกฤษ: professional learning community, PLC) เป็นวิธีการที่ใช้ประคับประคองการเรียนรู้ร่วมกันในกลุ่มเพื่อนร่วมงานภายในสิ่งแวดล้อมการทำงานหนึ่ง คำนี้ถูกใช้เรียกแนวทางการจัดการครูเข้าสู่กลุ่มตามแบบการเรียนรู้แบบมืออาชีพจากการปฏิบัติ

ประวัติ[แก้]

วลีนี้มีการเริ่มใช้ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1990 หลังจากที่หนังสือชื่อ The Fifth Discipline (1990) ของปีเตอร์ เซ็งเก ได้ทำให้แนวคิดองค์กรการเรียนรู้เป็นที่นิยมขึ้น[1][2]: 2  ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดการสะท้อนคิดที่ได้รับการยอมรับโดย Donald Schön ในหนังสืออย่าง The Reflective Turn: Case Studies in and on Educational Practice (1991)[3][4] ต่อมา Charles B. Myers และ Lynn K. Myers ใช้วลี ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ในหนังสือที่ตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1995 ชื่อ The Professional Educator: A New Introduction to Teaching and Schools [5] และในปีถัดมา Charles B. Myers ได้นำเสนอเอกสารในการประชุมประจำปีของสมาคมวิจัยทางการศึกษาอเมริกาในหัวข้อ "Beyond the PDS: Schools as Professional Learning Communities"[6] ใน ค.ศ. 1997 Shirley M. Hord ได้ออกหนังสือขาวในหัวข้อ "Professional Learning Communities: Communities of Continuous Inquiry and Improvement"[7] ต่อมาหนึ่งปีหลังจากนั้น Richard DuFour และ Robert E. Eaker ได้ตีพิมพ์หนังสือเรื่อง Professional Learning Communities at Work[8] และนับจากนั้นเป็นต้นมาเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวกับ PLCs ก็ได้รับการตีพิมพ์เป็นจำนวนมาก

ลักษณะ[แก้]

ลักษณะพื้นฐานของ PLCs มีอยู่จำนวนมาก ซึ่งรวมถึงการทำงานร่วมกันของทีมที่ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของนักเรียนได้รับการแบ่งปัน, การให้ความสนใจกับการสะท้อนตนเอง การสืบสวน และการสนทนาในหมู่นักการศึกษา, การเน้นการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน, การแบ่งปันค่านิยมและบรรทัดฐาน และการพัฒนาแนวการปฏิบัติร่วมกันและข้อเสนอแนะ[9]

รายงานเมื่อ ค.ศ. 2005 โดยกระทรวงศึกษาธิการของรัฐออนแทรีโอชื่อ Education for All ได้ชี้คุณลักษณะของ PLCs ไว้ดังนี้[10]: 53 

  • การแบ่งปันค่านิยมและวิสัยทัศน์ที่นำไปสู่ข้อผูกมัดร่วมกันของบุคลากรโรงเรียนที่จะแสดงออกในการปฏิบัติประจำวัน
  • แสวงหาแนวทางแก้ไขเปิดกว้างต่อแนวคิดใหม่
  • ทำงานร่วมกันเป็นทีมเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน
  • ส่งเสริมการทดสอบหรือพิสูจน์สมมติฐานที่มีการวางแผนการทดสอบอย่างมีระบในฐานะโอกาสในการเรียนรู้
  • การตั้งคำถามเกี่ยวกับสภาพที่เป็นอยู่ ซึ่งนำไปสู่การแสวงหาการปรับปรุงและการเรียนรู้อย่างมืออาชีพอย่างต่อเนื่อง
  • การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องโดยพิจารณาจากการประเมินผลลัพธ์มากกว่าเจตนาที่แสดงออกมา
  • การสะท้อนกลับเพื่อศึกษาการดำเนินงานและผลกระทบ

อ้างอิง[แก้]

  1. Senge, Peter M. (2006) [1990]. The fifth discipline: the art and practice of the learning organization (Revised ed.). New York: Currency/Doubleday. ISBN 0385517254. OCLC 65166960.
  2. Thompson, Sue C.; Gregg, Larry; Niska, John M. (January 2004). "Professional learning communities, leadership, and student learning" (PDF). RMLE Online. 28 (1): 1–15. doi:10.1080/19404476.2004.11658173.
  3. Schön, Donald A., บ.ก. (1991). The reflective turn: case studies in and on educational practice. New York: Teachers College Press. ISBN 0807730467. OCLC 22110784.
  4. Lieberman, Ann (April 1995). "Practices that support teacher development: transforming conceptions of professional learning". Phi Delta Kappan. 76 (8): 591–596.
  5. Myers, Charles B.; Myers, Lynn K. (1995). The professional educator: a new introduction to teaching and schools. Belmont, CA: Wadsworth Publishing. ISBN 0534205747. OCLC 31009967. See also: Myers, Charles B.; Simpson, Douglas J. (1998). Re-creating schools: places where everyone learns and likes it. Thousand Oaks, CA: Corwin Press. ISBN 0803964250. OCLC 37353705.
  6. Myers, Charles B. (April 1996). "Beyond the PDS: schools as professional learning communities: a proposal based on an analysis of PDS efforts of the 1990s" (PDF). Paper presented at the annual meeting of the American Educational Research Association, New York City, April 8–12, 1996. สืบค้นเมื่อ 27 October 2016.
  7. Hord, Shirley M. (1997). "Professional learning communities: communities of continuous inquiry and improvement" (PDF). White paper issued by Southwest Educational Development Laboratory, Austin, TX and funded by the Office of Educational Research and Improvement, United States Department of Education. สืบค้นเมื่อ 27 October 2016. A summary of the white paper was published as: Hord, Shirley M. (1997). "Professional learning communities: what are they and why are they important?". Issues about Change. 6 (1).
  8. DuFour, Richard; Eaker, Robert E. (1998). Professional learning communities at work: best practices for enhancing student achievement. Bloomington; Alexandria, VA: National Educational Service; Association for Supervision and Curriculum Development. ISBN 1879639602. OCLC 39040733.
  9. Stoll, Louise; Bolam, Ray; McMahon, Agnes; Wallace, Mike; Thomas, Sally (December 2006). "Professional learning communities: a review of the literature". Journal of Educational Change. 7 (4): 221–258. doi:10.1007/s10833-006-0001-8.
  10. Education for all: the report of the expert panel on literacy and numeracy instruction for students with special education needs, kindergarten to grade 6 (PDF). Toronto: Ministry of Education (Ontario). 2005. ISBN 0779480600. OCLC 225161136. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 3 October 2006. สืบค้นเมื่อ 16 November 2006.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]