ชุดรบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การฝึกทหารราบของกองพลน้อยชุดรบทหารม้าที่ 116 (CBCT) ณ ศูนย์ฝึกอบรมแห่งชาติ ค่ายเออร์วิน สหรัฐ (คลิกเพื่อดูภาพขยาย)

ชุดรบ[1] (อังกฤษ: combat team) เป็นกลุ่มเฉพาะกาลของหน่วยทางทหารประเภทต่าง ๆ ที่จัดขึ้นเพื่อบรรลุภารกิจหรือวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้[2][3] โดยการใช้งานจะแตกต่างกันไปในประเทศในเครือจักรภพแห่งประชาชาติ ซึ่งคำนี้ใช้งานกับการจัดกลุ่มในระดับหน่วยรองของสหรัฐในระดับหน่วยและรูปขบวน

ชุดรบกองทัพบกชาติในเครือจักรภพ[แก้]

ชุดรบในกลุ่มประเทศเครือจักรภพแห่งประชาชาติเป็นกลุ่มติดอาวุธเฉพาะกาลที่อิงตามหน่วยรองการรบ (หน่วยรองทหารราบหรือยานเกราะ) โดยมีเหล่าอื่นผสมไปสนับสนุนด้วย[4] โดยหลักนิยมของกองทัพบกแคนาดา ชุดรบคือหน่วยรองที่จัดกลุ่มตามกองร้อยทหารราบ หรือกองร้อยรถถัง ซึ่งมีส่วนประกอบหน่วยของอีกเหล่าติดไปด้วย เช่นเดียวกันกับส่วนสนับสนุนอื่น ๆ เช่น ทหารช่าง และผู้ตรวจการณ์ปืนใหญ่ ชุดรบสี่เหลี่ยมคือการรวมกันระหว่างกองร้อยทหารราบและกองร้อยยานเกราะที่มีส่วนสนับสนุนอยู่ในหน่วยด้วย[5][6] กองทัพบกสหราชอาณาจักรใช้คำว่า "ชุดรบ" สลับกันกับ "กลุ่มกองร้อย" และ "กลุ่มเฉพาะกิจ"[7]

สัญลักษณ์แผนที่เนโท

ชุดรบทหารราบ[8]

ชุดรบยานเกราะ[9]

ชุดรบสี่เหลี่ยม[10]
ทีมสู้รบประกอบด้วยทหารราบจากกองทหารราบเบาแคนาดา และรถถังจากกรมทหารม้าลอร์ดสตราธโคนาระหว่างการฝึกที่ศูนย์ฝึกแคนาดา, เวนไรท์, แคนาดา

ชุดรบกองทัพบกและนาวิกโยธินสหรัฐ[แก้]

การใช้คำว่า "ชุดรบ" ในกองทัพสหรัฐไม่ได้เป็นคำที่ใช้กำหนดความหมายในตัวมันเอง แต่จะถูกพบได้ในชื่อของหน่วยขนาดใหญ่ที่จัดกำลังแบบผสม เช่น กรมผสม[11] (regimental combat team) และกองพลน้อยชุดรบ[12] (brigade combat team) ซึ่งในหลักนิยมของกองทัพบกสหรัฐมีการกล่าวถึงชุดรบกองพันยานเกราะอยู่[13]

สัญลักษณ์แผนที่เนโท

กองพันชุดรบยานเกราะ[14]

กรมผสมทหารราบ[15]

กรมผสมยานเกราะ[16]

กองพลน้อยชุดรบยานเกราะ[17]

กองพลน้อยชุดรบทหารราบ[18]

กองพลน้อยชุดรบสไตร์เกอร์[19][20]

ผลจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของกองทัพสหรัฐไปสู่ระบบกองพลหน่วยสาม (triangular division) ระหว่างปี พ.ศ. 2483 - 2485 กองพลน้อยทหารราบจึงถูกแทนที่ด้วยกรมทหารราบ[21] ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพสหรัฐได้จัดตั้งกรมผสมขึ้น ประกอบกำลังมาจากกรมทหารราบที่มีองค์ประกอบหลักในการรบและหน่วยสนับสนุนเพิ่มเติมตามรูปแบบของภารกิจเฉพาะ เมื่อมีคำสั่งกำหนดให้ใช้หน่วยทหารราบอิสระที่มีรูปขบวนเล็กกว่ากองพล[22] กระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง กรมทหารราบไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกองพลและได้รับการจัดโครงสร้างใหม่ให้เป็นกรมผสม และผู้บัญชาการกองพลจำนวนมากได้รับการจัดกำลังของตนใหม่จากกรมทหารราบเป็นกรมผสม[23] กรมผสมยังถูกใช้งานโดยกองทัพบกสหรัฐตลอดช่วงสงครามเกาหลี จนกระทั่งมีการนำรูปแบบระบบกองพลหน่วยห้า (pentomic division) ในปี พ.ศ. 2500[24]

นาวิกโยธินสหรัฐยังคงใช้งานรูปแบบกรมผสม (regimental combat team) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง แต่เรียกการจัดหน่วยแบบนี้ว่ากองพลน้อย (brigade) และเฉพาะในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 เท่านั้นที่การเสริมกำลังของกรมทหานาวิกโยธินสหรัฐเป็นที่รู้จักในชื่อกรมผสม[25]

กองทัพบกสหรัฐได้ให้คำนิยามกองพลน้อยชุดรบ (brigade combat team) ว่าเป็น "การผสมเหล่าทหารที่ประกอบไปด้วยกองบัญชาการกองพลน้อย กองพันดำเนินกลยุทธ์ อย่างน้อยสองกองพัน และขีดความสามารถในการสนับสนุนที่จำเป็น"[26] ในปี พ.ศ. 2546 กองพลน้อยดำเนินกลยุทธ์ (manoeuvre brigade) ทั้งหมดของสหรัฐได้รับการจัดโครงสร้างใหม่เป็นกรผสม[27] ซึ่งในเครือจักรภพ กลุ่มกองพลน้อย (brigade group) อาจใช้อธิบายลักษณะหน่วยทางทหารที่คล้ายคลึงกัน

อ้างอิง[แก้]

  1. คู่มือฝ่ายอำนวยการ The Battle Staff Smartbook (PDF). กรมยุทธการทหารบก กองทัพบก. 2563.[ลิงก์เสีย]
  2. "Combat Team". Merriam-Webster Dictionary. Merriam-Webster. สืบค้นเมื่อ 6 March 2021.
  3. "Combat team". Dictionary.com. สืบค้นเมื่อ 6 March 2021.
  4. The Australian Army: An Aide Memoire (PDF). Commonwealth of Australia. p. 13&55. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 29 March 2015. สืบค้นเมื่อ 20 December 2014.
  5. B-GL-321-006/FP-001 Combat Team Operations (Interim). Ottawa: Canadian Armed Forces. 28 Oct 2003.
  6. Michaud, Karl A. R. "Changing the Status Quo: The Canadian Forces would be Better Postured to Meet the Current and Future Strategic Requirements by Replacing the Conventional Land Forces (Army) with Lightly Equipped Special Operating Forces (SOF)." เก็บถาวร 2022-12-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Command and Staff College, Marine Corps University, 2006. pg vi (pg 31/50)
  7. "Formations". The British Army. สืบค้นเมื่อ 28 February 2021.
  8. B-GL-321-006/FP-001 Combat Team Operations (Interim). Ottawa: Canadian Armed Forces. 28 Oct 2003.
  9. B-GL-321-006/FP-001 Combat Team Operations (Interim). Ottawa: Canadian Armed Forces. 28 Oct 2003.
  10. APP-6C Joint Military Symbology (PDF). NATO. May 2011. pp. 3–10, 3-50–3-51. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-21.
  11. ศัพท์ทหารไทย-สหรัฐ (PDF). กรมจเรทหารบก.
  12. "มารู้จัก กองพลน้อยชุดรบ (Brigade Combat Team ) กัน". thaiarmedforce. 2019-07-18.
  13. FM 21-30 Military Symbols. Washington, DC: US Army. June 1965. p. II-5.
  14. FM 21-30 Military Symbols. Washington, DC: US Army. June 1965. p. II-5.
  15. FM 21-30 Military Symbols. Washington, DC: US Army. June 1965. p. II-4.
  16. FM 21-30 Military Symbols. Washington, DC: US Army. June 1965. p. II-4.
  17. ADRP 1-02 Terms and Military Symbols. Washington, DC: US Army. December 2015. pp. 4–3, 4-33–4-34.
  18. ADRP 1-02 Terms and Military Symbols. Washington, DC: US Army. December 2015. pp. 4–4, 4-33–4-34.
  19. เทพณรงค์, อัครพัฒน์. กองพลน้อยชุดรบสไตร์เกอร์และความท้ายทายของกองทัพบก Stryker Brigade Combat Team and Royal Thai Army Challenges (PDF). วิทยาลัยเสนาธิการทหาร.[ลิงก์เสีย]
  20. APP-6C Joint Military Symbology (PDF). NATO. May 2011. pp. 3–9, 3–14, 3-49–3-51. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-21.
  21. McGrath, John J. (June 2004). The Brigade: A History. Its Organization and Employment in the US Army (PDF). Fort Leavenworth, Kansas: Combat Studies Institute Press. p. 54.
  22. McGrath, John J. (June 2004). The Brigade: A History. Its Organization and Employment in the US Army (PDF). Fort Leavenworth, Kansas: Combat Studies Institute Press. pp. 54–55.
  23. McGrath, John J. (June 2004). The Brigade: A History. Its Organization and Employment in the US Army (PDF). Fort Leavenworth, Kansas: Combat Studies Institute Press. pp. 54–55.
  24. McGrath, John J. (June 2004). The Brigade: A History. Its Organization and Employment in the US Army (PDF). Fort Leavenworth, Kansas: Combat Studies Institute Press. pp. 55–56.
  25. McGrath, John J. (June 2004). The Brigade: A History. Its Organization and Employment in the US Army (PDF). Fort Leavenworth, Kansas: Combat Studies Institute Press. pp. 55, 57.
  26. ADRP 1-02 Terms and Military Symbols. Washington, DC: US Army. December 2015. pp. 1–11.
  27. McGrath, John J. (June 2004). The Brigade: A History. Its Organization and Employment in the US Army (PDF). Fort Leavenworth, Kansas: Combat Studies Institute Press. p. 110.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]