ชมพูเชียงดาว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชมพูเชียงดาว
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Lamiales
วงศ์: Orobanchaceae
สกุล: Pedicularis
สปีชีส์: P.  siamensis
ชื่อทวินาม
Pedicularis siamensis
Tsoong

ชมพูเชียงดาว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Pedicularis siamensis) เป็นพืชเฉพาะถิ่นที่พบทางภาคเหนือของประเทศไทย[1][2] อยู่ในวงศ์ดอกดิน (Orobanchaceae) ลักษณะเป็นไม้ล้มลุกสูง 40-60 เซนติเมตร ลำต้นมีขน ใบเรียงเป็นวง 3-4 ใบ รูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาว 1.5-4.5 เซนติเมตร ใบจักลึกแบบขนนก ขอบจักซี่ฟัน มีประมาณ 5-12 คู่ ดอกออกเป็นช่อแบบกระจะ ยาวได้ถึง 40 เซนติเมตร หลอดกลีบเลี้ยงยาว 0.8-1 เซนติเมตร เป็นสันตื้น ๆ ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร ดอกสีชมพูถึงม่วงเข้ม หลอดกลีบดอกยาวประมาณ 2 เซนติเมตร กลีบปากบนรูปหมวกงุ้มเข้า ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร กลีบปากล่างบานออกมี 3 กลีบ ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร กลีบกลางกลม ยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร กลีบข้างรูปรี ยาวประมาณ 6 มิลลิเมตร เกสรเพศผู้เกลี้ยง โคนอับเรณูแหลม ผลรูปไข่ ยาว 0.8-1.2 เซนติเมตร ปลายมีติ่งแหลม ภายในมีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก[3][4]

อ้างอิง[แก้]

  1. "พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของพืชถิ่นเดียวในประเทศไทย โดย วิชาญ เอียดทอง" (PDF). สำนักพิพิธภัณฑ์และวัฒนธรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "ชมพูเชียงดาว - Pedicularis siamensis". โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ), ราชันย์ ภู่มา และคณะ, หน้า 127, พ.ศ. 2559, โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กรุงเทพฯ
  4. "ชมพูเชียงดาว - Pedicularis siamensis Tsoong". สำนักงานหอพรรณไม้ - กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)