ชมพูพาน (พรรณไม้)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชมพูพาน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Lamiales
วงศ์: Paulowniaceae
สกุล: Wightia
สปีชีส์: W.  speciosissima
ชื่อทวินาม
Wightia speciosissima
(D.Don) Merr.
ชื่อพ้อง
  • Gmelina speciosissima D.Don
  • Wightia alpinii Craib
  • Wightia elliptica Merr.
  • Wightia gigantea Wall.
  • Wightia lacei Craib

ชมพูพาน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Wightia speciosissima) เป็นพืชในวงศ์ Paulowniaceae กระจายพันธุ์ในเนปาล, อินเดีย, จีนตอนใต้ไปจนถึงภูมิภาคอินโดจีน ที่ความสูง 1300-2000 เมตร[1]

ชมพูพานเป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นอิงอาศัย สูงได้ถึง 15 เมตร ใบออกเรียงตรงข้าม รูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาว 10-30 เซนติเมตร ก้านใบยาวได้ถึง 2 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อแบบกระจุกแยกแขนงสั้น ๆ ยาว 10-20 เซนติเมตร มีใบประดับย่อยขนาดเล็ก 2 ใบ กลีบเลี้ยงรูประฆังยาวประมาณ 8 มิลลิเมตร ปลายแยก 3-4 แฉก กลีบดอกสีชมพูยาว 2.5-3.5 เซนติเมตร กลีบรูปปากเปิด กลีบปากบนแยก 2 แฉก ยาวประมาณ 8 มิลลิเมตร กลีบปากล่าง 3 กลีบ ยาว 6-7 มิลลิเมตร มีเกสรเพศผู้ 2 คู่ ยาวไม่เท่ากัน อับเรณูรูปลูกศร รังไข่มี 2 ช่อง ก้านเกสรเพศเมียสั้นกว่าเกสรเพศผู้เล็กน้อย ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม ผลเป็นผลแห้งแตกรูปขอบขนาน ยาว 2.5-4 เซนติเมตร ภายในมีเมล็ดรูปแถบยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร อยู่จำนวนมาก[2][3]

อ้างอิง[แก้]

  1. Hong et al. (1998), pp. 10–11.
  2. สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ), ราชันย์ ภู่มา และคณะ, หน้า 127, พ.ศ. 2559, โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กรุงเทพฯ
  3. "ชมพูพาน (Wightia speciosissima (D.Don) Merr.)". ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. สืบค้นเมื่อ March 19, 2019.