ที่ยืนนิรภัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ฉบับร่าง:ที่ยืนนิรภัย)
ที่ยืนนิรภัยในสนาม HDI Arena ของ ฮันโนเฟอร์ 96

ที่ยืนนิรภัย (อังกฤษ: Safe standing) คือมาตรการออกแบบสนามฟุตบอลเพื่อให้ผู้ชมสามารถยืนได้อย่างปลอดภัยระหว่างชมการแข่งขัน ในสหราชอาณาจักรมีเหตุการณ์ร้ายแรงหลายครั้งซึ่งนำไปสู่การออกกฎหมายที่กำหนดให้ทุกสโมสรต้องปรับปรุงสนามฟุตบอลแบบทุกคนมีที่นั่ง (all-seater stadium) ในช่วงทศวรรษที่ 1990 การนำที่ยืนนิรภัยมาใช้ในทางปฏิบัติเริ่มขึ้นในยุโรปแผ่นดินใหญ่ โดยมีเยอรมนีเป็นผู้ริเริ่ม

เบื้องหลัง[แก้]

สนามฟุตบอลแบบดั้งเดิมส่วนใหญ่ในสหราชอาณาจักรมีระเบียงที่ปลายทั้งสองของสนามและมักจะอยู่ชั้นล่างของอัฒจันทร์แต่ละด้าน กองเชียร์ส่วนใหญ่มักจะยืนดูฟุตบอล ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1980 ค่าเฉลี่ยความจุอยู่ที่ประมาณ 2 เท่าของจำนวนที่นั่ง[1] ผู้บริหารทีมฟุตบอลบางคนมองว่าการรื้อถอนเฉลียงเป็นวิธีแก้ปัญหาพวกฮูลิแกน (hooligan) ที่เกิดขึ้นในสังคมอังกฤษช่วงทศวรรษที่ 1970 สนามไฮฟีลด์โรดของคอเวนทรีซิตีกลายเป็นสนามฟุตบอลแบบผู้ชมทุกคนมีที่นั่งแห่งแรกของอังกฤษใน ค.ศ. 1981 ภายใต้การนำของจิมมี่ ฮิลล์ อย่างไรก็ตาม การทดลองติดตั้งที่นั่งนี้ล้มเหลวในการป้องกันความวุ่นวายและการเพิ่มผู้เข้าชม และอีก 2 ปีต่อมาที่นั่งก็ถูกถอดออกจากสนาม[2]

ในวันเสาร์ที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1989 แฟนบอลลิเวอร์พูลเบียดเสียดกันบนระเบียงเลปปิงเลนของสนามกีฬาฮิลส์โบโร ระหว่างการแข่งขันเอฟเอคัพรอบรองชนะเลิศ ระหว่างลิเวอร์พูลกับนอตทิงแฮมฟอเรสต์ ส่งผลให้แฟนบอลลิเวอร์พูลเสียชีวิต 97 ราย ความแออัดยัดเยียดเป็นผลมาจากการเปิดประตูตามคำสั่งของตำรวจเพื่อบรรเทาความแออัดที่รุนแรงนอกสนาม และความล้มเหลวในการควบคุมแฟนบอลให้ห่างจากคอกตรงกลางที่เต็มอยู่แล้ว รั้วที่ด้านหน้าระเบียงป้องกันไม่ให้แฟนบอลหลบหนีจากการเบียดเสียด

อ้างอิง[แก้]

  1. The Hillsborough Stadium Disaster. Inquiry by Rt Hon Lord Justice Taylor Final Report – 66
  2. University of Leicester Report for Football Trust – Williams, Dunning & Murphy