ค่างสี่สี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ค่างสี่สี
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Primates
วงศ์: Cercopithecidae
วงศ์ย่อย: Colobinae
สกุล: Pygathrix
สปีชีส์: P.  cinerea
ชื่อทวินาม
Pygathrix cinerea
(Nadler, 1997)
สถานที่แพร่กระจายพันธุ์

ค่างสี่สี (อังกฤษ: Gray-shanked douc; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pygathrix cinerea) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง อันดับไพรเมต จำพวกค่าง

ค่างสี่สี เป็นค่างที่มีลักษณะคล้ายกับค่างห้าสี (P. nemaeus) ที่พบในประเทศลาว และเคยถูกจัดให้เป็นชนิดย่อยของค่างห้าสีมาก่อน มีขนาดและน้ำหนักรวมถึงพฤติกรรมความเป็นอยู่คล้ายกับค่างห้าสี ผิดกันที่ ขนบริเวณที่เหนือเข่าขึ้นมาถึงตะโพกมีสีเทาเข้มไม่เป็นสีแดงเข้มเหมือนกับค่างห้าสี

อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง สมาชิกในฝูง ๆ หนึ่งประกอบด้วยทั้งตัวผู้และตัวเมีย มีจำนวนสมาชิกประมาณ 4-5 ตัว[2]

พบกระจายพันธุ์อยู่ทางภาคกลางและภาคใต้ของประเทศลาวและเวียดนาม และในปี ค.ศ. 2007 ได้มีการค้นพบถิ่นที่อยู่ใหม่ของค่างสีสี่ในพื้นที่ 5 จังหวัดของภาคกลางของเวียดนาม คือ จังหวัดกว๋องนัม, จังหวัดคอนตัม, จังหวัดกว๋องไง, จังหวัดบิงห์ดิ่งห์ และ จังหวัดเกียไหล คาดว่ามีประชากรไม่ถึง 1,000 ตัว โดยค้นพบครั้งแรกที่จังหวัดกว๋องนัม โดยรายงานว่าพบค่างสีสี่ไม่น้อยกว่า 116 ตัว และคาดว่าจำนวนประชากรจริงอาจมีมากกว่า 180 ตัว และเป็นไปได้ว่าอาจมีมากกว่านี้เพราะจนถึงขณะนี้มีการสำรวจเพียงพื้นที่ส่วนน้อยเท่านั้น[3]

ทั้งนี้ ค่างสีสี่เป็นค่างที่ถูกเพิ่งถูกบรรยายทางวิทยาศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1997 [4]โดยจัดให้เป็นชนิดย่อยของค่างห้าสี[2] และต่อมาได้รับการประกาศแยกออกเป็นชนิดใหม่แยกออกต่างหาก[5] และเป็นหนึ่งในสัตว์อันดับไพรเมต 25 ชนิดที่ถูกคุกคามใกล้สูญพันธุ์ที่สุดชนิดหนึ่งของโลก[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. Ngoc Thanh, V., Lippold, L., Nadler, T. & Timmons, R. J. (2008). Pygathrix cinerea. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 4 January 2009.
  2. 2.0 2.1 ชุติอร กาญวัฒนกิจ. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน. กรุงเทพฯ : กองทุนสัตว์ป่าโลก. สำนักงานประเทศไทย, 2543. 256 หน้า. หน้า 40. ISBN 974-87081-5-2
  3. 3.0 3.1 "พบค่างสี่สีในพื้นที่ใหม่ของเวียดนาม". โลกสีเขียว. 5 August 2007. สืบค้นเมื่อ 7 April 2014.
  4. Nadler, T. 1997. "A new subspecies of Douc langur, Pygathrix nemaeus cinereus ssp. nov." Zoologische Garten 4: 165-176.
  5. Roos, C. and Nadler, T. 2001. "Molecular evolution of the douc langurs". Zoologische Garten 71(1): 1-6.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Pygathrix cinerea ที่วิกิสปีชีส์