คุยเรื่องวิกิพีเดีย:โครงการวิกิอิสริยาภรณ์

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การเขียนหัวข้อเครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

ดิฉันมีคำถามเกี่ยวกับ การเขียนหัวข้อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ในบทความต่างๆ ดังนี้คะ

  1. ควรเขียนเฉพาะชั้นสูงสุดที่ได้ หรือ เขียนทุกชั้นที่ได้รับพระราชทาน
  2. ควรระบุวันที่ที่ได้รับพระราชทานหรือไม่ ถ้าระบุจะมีวิธีระบุยังไง
  3. ขนาดภาพแพรแถบ ตอนนี้เห็นใช้ 80px แต่ดิฉันว่ามันใหญ่เกินไปทำให้ช่องว่างระหว่างบรรทัดห่างตามไปด้วย ดิฉันคิดว่า 60px น่าจะกำลังเหมาะไหมคะ
  4. การเขียนเครื่องราชย์ที่ได้รับจากต่างประเทศ ควรเขียนรูปแบบไหน อาทิ ควรใช้รูปธงแต่ละประเทศกำกับ หรือควรใช้แพรแถบย่อของเครื่องราชย์นั้นๆ

ดิฉันเห็นว่าโครงการนี้น่าจะตรงประเด็นกับคำถามของดิฉันมากที่สุด จึงขออนุญาตมาถามที่นี่นะคะ --ฉัตรา (พูดคุย) 13:24, 22 ธันวาคม 2555 (ICT)

  1. ถ้าเป็นตระกูลเดียวกัน และชั้นสูงสุดหมายความว่าต้องได้ชั้นรองๆ ลงมาก่อน ก็ใส่แต่ชั้นสูงสุดก็เพียงพอ
  2. ระบุเป็นปีก็น่าจะพอ
  3. 60px ก็ดีครับ
  4. ทำตามบทความในภาษาอังกฤษ ไม่น่าจะต้องใช้ธงของประเทศกำกับ ใช้เพียงแพรแถบย่อน่าจะพอ

--taweethaも (พูดคุย) 09:56, 24 ธันวาคม 2555 (ICT)

    • ความเห็นผม น่าจะระบุทุกชั้นที่ได้รับพระราชทาน แม้ว่าจะเป็นตระกูลเดียวกัน เพราะจะเห็นได้ชัดเจน ว่าได้เมื่อไหร่ อย่างไร-- Tona22 | พูดคุย 10:57, 24 ธันวาคม 2555 (ICT)

ผมเสนอว่าควรทำเป็นแม่แบบพร้อมแปะครับ รหัสจะได้ไม่ยุ่งเหยิง สะดวกคนแก้ด้วย แต่ก่อนอื่นต้องรู้ว่าเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งหมดมีอะไรบ้าง (เอาไทยก่อน) --浓宝努 22:07, 25 ธันวาคม 2555 (ICT)

ดูได้ที่นี่ครับ ลำดับเกียรติเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย --Nullzero (พูดคุย) 22:32, 25 ธันวาคม 2555 (ICT)
ถ้าทำเป็นแม่แบบเหมือนธงชาติประเทศต่าง ๆ ได้ จะสะดวกมากเลยคะ แต่ดิฉันทำไม่เป็นนะคะ ส่วนเรื่องเขียนทุกชั้นหรือเฉพาะชั้นสูงสุด ดิฉันเห็นว่าใส่ชั้นสูงสุดน่าจะพอนะคะ --ฉัตรา (พูดคุย) 23:05, 25 ธันวาคม 2555 (ICT)
  1. ผมสนับสนุนแนวคิดที่ให้ระบุเฉพาะชั้นสูงสุด เหตุผลเพราะว่าหากระบุทุกชั้นที่ได้รับพระราชทาน ก็จะมีเยอะมา สำหรับชั้นที่มีความสำคัญเป็นพิเศษ อาทิ จ.จ. ซึ่งจะทำให้ผู้นั้นใช้คำนำหน้านามว่า "คุณหญิง" ก็ควรระบุในส่วนของประวัติ ว่าได้รับปีไหน แทนที่จะมาลำดับเรียงทุกชั้น
  2. การระบุวัน ผมก็เห็นด้วยว่าให้ระบุเฉพาะปีที่พระราชทาน เนื่องจากการพระราชทานเครื่องราชฯ จะพระราชทานในลักษณะ "ประจำปี" ยกเว้นการพระราชทานกรณีพิเศษ
  3. ขนาดภาพ ก็มีความแตกต่างกัน บางคนก็ใช้ 100 80 หรือ 60 ผมคิดว่าน่าจะสร้างแม่แบบ ในลักษณะที่ใช้งานง่ายๆ เช่น (พ.ศ.|ชื่อย่อ) พอแม่แบบแสดงผล ก็แสดงออกมาเป็น พ.ศ. ... - ภาพ - ชื่อเต็ม - (ชื่อย่อ)

--Pongsak ksm (พูดคุย) 00:31, 4 มกราคม 2556 (ICT)

ในเบื้องต้นขอปิดการอภิปรายจากหน้าปรับปรุงล่าสุดก่อน เนื่องจากไม่มีผู้เข้าร่วมอภิปรายเท่าที่ควร โอกาสหน้าน่าจะเสนอหลักเกณฑ์หรือนโยบายมาเลย แล้วให้ลงชื่อสนับสนุนหรือคัดค้าน ซึ่งจะรวดเร็วและได้ผลชัดเจน การอภิปรายเบื้องต้นนี้ถือเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับข้อเสนอที่ชัดเจนต่อไป --taweethaも (พูดคุย) 12:48, 19 มกราคม 2556 (ICT)

ชื่อเรียกในภาษาไทยของ Order of the Sacred Treasure หรือ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ซุอิโฮ[แก้]

อยากทราบว่า ชื่อเรียกในภาษาไทยของเครื่องราชฯ นี้เป็นชื่อที่ราชบัณฑิตกำหนด หรือ ผู้เขียนท่านแรกๆเป็นผู้กำหนดเอง เพราะจริงๆคำว่า ซุอิโฮ (ที่จริงควรอ่านว่า ซุยโฮ) นั้นมีความหมายนะครับ
Sacred มาจากคำว่า ซุย = みず、ずい  แปลว่า ศักดิสิทธิ์ เป็นทีสักการะ หรือคำอื่นที่มีความหมายคล้ายคลึงกับคำเหล่านี้ [1]
Treasure มาจากคำว่า โฮ = たから、ほう แปลว่า สมบัติ [2]

ดังที่ได้เห็นแล้วว่า คำว่า ซุยโฮ มีความหมายว่า สมบัติอันศักดิ์สิทธิ์ หรือความหมายในทำนองนี้
จึงขอเสนอให้พิจารณาเปลี่ยนชื่อในภาษาไทยของเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ เป็นชื่ออื่น หากเป็นชื่อที่ได้มีการตั้งมาจากราชบัณฑิตแล้ว หรือทางราชการมีชื่ออื่นแล้ว ก็ต้องขออภัย และขอรบกวนทราบชื่อนั้นๆด้วย


จึงเรียนมาเพื่อปรึกษาหารือ --มล.พรรณพุฒิภัทร จุฑาเทพ (พูดคุย) 20:29, 13 กรกฎาคม 2556 (ICT)

อ้างอิง[แก้]

  1. http://dict.longdo.com/search/Sacred
  2. http://dict.longdo.com/search/treasure