คุยเรื่องวิกิพีเดีย:การเลือกตั้งคณะอนุญาโตตุลาการ ธันวาคม 2556/เลือกผู้สมัคร

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ข้อพิจารณาเรื่องคะแนน[แก้]

เนื่องจากผมได้ลงมือนับคะแนนเสร็จเรียบร้อยแล้ว และพบประเด็นต่อไปนี้ครับ

  1. นโยบาย คอต. ข้อ 2 (4) เขียนว่า "ตุลาการไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในการเลือกตั้งตุลาการด้วยกัน" จึงทำให้เกิดประเด็นว่า กรณีที่คะแนนเสียงเป็นคะแนนตัดสินแล้ว (คะแนนเสียงเป็นกลางไม่มีผลใด ๆ ผมจึงนับไปเลย)
    1. คอต. (ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่) ที่ลงคะแนนเสียงให้กับตุลาการที่กำลังปฏิบัติหน้าที่และจะหมดวาระ แต่ได้สมัครกลับเข้ามาใหม่ จะนับคะแนนนั้นได้หรือไม่
    2. คอต. (ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่) ที่ลงคะแนนเสียงให้กับ fresh candidate จะนับคะแนนนั้นได้หรือไม่
  2. ในหน้าเลือกผู้สมัคร Octahedron80 มีกรณีว่าไอพีมาออกเสียงลงคะแนน แล้วถัดจากนั้นผู้ใช้ล็อกอินเข้ามาแล้วลงชื่อซ้ำ แม้จะเชื่อว่าผู้ใช้กับไอพีเป็นคนเดียวกัน แต่เมื่อนโยบายและกติกากำหนดว่าเฉพาะผู้ใช้เท่านั้นที่มีสิทธิเลือก การกระทำเช่นว่าจะนับคะแนนได้หรือไม่

ส่วนประเด็นอีกอันหนึ่งคือ ผู้ใช้ลงคะแนนเมื่อพ้นเวลาเลือกตั้ง แต่อันนี้ผมได้ย้อนการแก้ไขกลับไปเฉย ๆ เพราะแม้จะลงคะแนนมาก็ถือว่า invalid จึงขอให้กรรมการร่วมพิจารณาในกรณีดังกล่าวด้วยครับ ขอบคุณครับ --∫G′(∞)dx 11:50, 2 มกราคม 2557 (ICT)

เวลานี้ผมหมดสมัยแล้ว จึงมาอภิปรายได้
ขอออกความเห็น สำหรับผู้ลงคะแนน เรื่อง 2(4) อธิบายก่อนว่าจะใช้ได้เมื่อตุลาการคนก่อนที่จะลงคะแนนยังอยู่ในตำแหน่ง และใช้ไม่ได้เมื่อตุลาการคนก่อนที่จะลงคะแนนไม่ได้อยู่ในตำแหน่งแล้ว แต่จากการเลือกตั้งครั้งนี้ตุลาการยังคงอยู่ในตำแหน่งในวันที่ลงคะแนน ดังนั้นจึงอาจเข้าข่าย 2(4) ที่เหลือจะให้เป็น "กลาง" หรือ "เสีย" ก็แล้วแต่ท่าน เพราะผลก็ไม่ต่างกัน ถึงแม้จะเป็นคนเดียวกัน ก็ควรถือตามนี้ครับ
"การเลือกตั้งตุลาการด้วยกัน" คำนี้ทำให้เกิดความสับสนระหว่าง "การเลือกตั้งตุลาการ" คือห้ามลงคะแนนใด ๆ เลย หรือ "ตุลาการด้วยกัน" คือห้ามลงคะแนนให้ผู้สมัครที่เป็นตุลาการอยู่ในเวลาเดียวกัน เราควรไปดูต้นฉบับนโยบายภาษาอื่นว่าเรารับมายังไง (อาจจะแปลผิดควรแก้ไข) ผมแนะนำหนทางที่ปลอดภัยที่สุดคือแบบแรก
เรื่องไอพีกับผู้ใช้ ในฐานะ CU สามารถตรวจให้ว่าไอพีกับผู้ใช้นั้นเป็นคนเดียวกันไหมถ้าร้องขอมา อนึ่งว่าไปตามเกณฑ์แล้วเราห้ามเฉพาะไอพีหรือผู้ใช้ใหม่ลงคะแนน ถ้าเขามีบัญชีอยู่แล้วก็มีสิทธิ์ลงคะแนน เราก็ไม่มีสิทธิ์ไปห้ามได้ (บัญชีก็คือเครื่องปิดบังไอพีนั่นเอง) เรื่องลงคะแนนเมื่อพ้นเวลา เหมือนกับปิดหีบบัตรเลือกตั้งไปแล้ว จะหย่อนบัตรอะไรเพิ่มไม่ได้อีก จึงไม่ควรมีคะแนนผีเพิ่มเข้ามาอีก --奥虎 ボンド 15:36, 3 มกราคม 2557 (ICT)
ผมขอเขียนความเห็นส่วนตัวกับความเห็นจากกรรมการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องท่านอื่นไว้ว่า --∫G′(∞)dx 20:45, 3 มกราคม 2557 (ICT)
  1. กรณีของ 2 (4) เป็นกรณีการตีความเป็นบทตัดสิทธิอันเป็นโทษ จึงต้องตีความโดยเคร่งครัด เมื่อ คอต. ปฏิบัติหน้าที่อยู่ออกเสียงให้ คอต. ที่ outgoing จึงเป็นบทห้าม คอต. ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ลงคะแนนให้ คอต. ที่ก็ยังปฏิบัติหน้าที่อยู่เอง แต่ไม่ได้ห้าม คอต. ลงคะแนนให้กับ fresh candidate กรณีนี้คุณ Taweetham และคุณอริสไตเติลฯ (User:Aristitleism) ผู้ยกร่างนโยบายก็เห็นทำนองเดียวกัน
  2. กรณีที่สองแม้จะมี CU แต่ผมก็ไม่อยากให้ใช้เพราะกรณีไม่ได้เป็นการพยายามจะ abuse นอกจากนี้การตรวจสอบจะเป็นการเผยไอพีโดยปริยาย อาจขัดต่อนโยบาย CU ว่าไม่ตรวจสอบใด ๆ ที่เป็นการเผยไอพี และแม้ตอนแรกผมจะตีความว่าผู้ใช้ในที่นี้ต้องล็อกอินแล้วลงคะแนน แต่พฤติการณ์แบบการหลงลืมเช่นนี้ก็อาจมีได้ อีกทั้งไม่มีนโยบายข้อใดห้ามว่าผู้ใช้มาแสดงเจตนาตามที่ IP เขียนไว้ก่อนไม่ได้ หากพิสูจน์ได้ว่าเป็นคนเดียวกัน อาศัยหลักเจตนาดีผมจึงถือว่านับเป็นคะแนนได้ ไม่เป็นข้อตัดสิทธิ์ ในเคสนี้คุณ Taweetham และคุณอริสไตเติลฯ ถือว่าผู้ใช้มาให้สัตยาบันภายหลังได้
  3. อนึ่งสืบเนื่องจาก 2 (4) จะพบว่านโยบายดูจะเขียนไม่ชัด คุณอริสไตเติลฯ เองก็รับว่าข้อบทอาจมีปัญหา แต่ประเด็นนี้ไม่ใช่ข้อพิจารณาในชั้นนี้ คอต. อาจนำประเด็นนี้ไปพิจารณาในภายหลังก็ย่อมได้ รวมไปกับการแก้ไขนโยบายที่มีข้อเสนอและข้อคัดค้านในชั้นชุมชนแล้ว และเพื่อไม่ให้เป็น red tape อันจะทำให้ คอต. ว่างเว้นเกินสมควร (แม้จะปรับเวลาเริ่มดำรงตำแหน่งเป็น retroactive ได้) จึงขอสรุปข้อพิจารณาไว้ตรงนี้เลย

ส่วนของผมเองนั้น ยอมให้ตัดคะแนนที่ลงไปได้ไม่มีปัญหา นโยบายที่เป็นปัญหาเขียนโดยคิดในใจว่ายังไม่มี คอต. อยู่เลย ไม่นึกว่าจะมีชุดเก่าชุดใหม่มาให้สับสน แม้จะรู้อยู่ว่าเจตนารมณ์คือแบบหนึ่ง แต่ก็ต้องเคารพตัวอักษรด้วย และมันก็ไม่ได้พลิกผลอะไรไปมากมาย ในที่สุดผมเชิญชวนคนทั้งหลายมาลงคะแนนกันได้จนมีจำนวนพอสมควรแล้ว --Taweethaも (พูดคุย) 15:14, 4 มกราคม 2557 (ICT)