คุยกับผู้ใช้:Pavinee Ssw

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สบู่เลือด
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantea
วงศ์: Menispermaceae

สบู่เลือด หรือ บอระเพ็ดพุงช้าง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Stephania venosa) สบู่เลือดเป็นพรรณไม้เถาชอบพาดพันไปตามไม้ต้นคล้ายบอระเพ็ดเถากลม มียางสีแดงจึงเรียก สบู่เลือด บางแห่งเรียกกระท่องเลือด กลิ้งกลางดง บอระเพ็ดพุงช้าง บอระเพ็ดยางแดง บัวเครือ บัวบก เปล้าเลือดเครือ หัวสันโดด สบู่เลือด สบู่เครือ[1]

ลักษณะ[แก้]

เป็นไม้ล้มลุก มีหัวใต้ดินขนาดใหญ่ ลำต้นแทงขึ้นจากหัวพาดพันกับต้นไม้อื่น หรือมีลำต้นที่โค้งงอลงสู่พื้นดิน เป็นไม้กึ่งเลื้อยทอดยาว กว่า 3-5 เมตร

  • ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับเป็นรูปเกือบกลม หรือ กลมคล้ายใบบัว แต่ขนาดจะเล็กกว่า มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 3-6 เซนติเมตร ก้านใบยาว 2-3.5 เซนติเมตร ติดที่กลางแผ่นใบ
  • ดอก ออกเป็นช่อกระจุกที่ซอกใบ เป็นดอกแยกเพศ กลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ รูปขอบขนานสีเหลือง ไม่มีกลีบดอก
  • ผล ทรงกลม มี 1 เมล็ด รูปเกือกม้า หัวกลมแป้น มีขนาดใหญ่ประมาณลูกฟุตบอล เปลือกหัวสีน้ำตาล เนื้อในมีสีขาวนวล รสชาติมันและเฝื่อนเล็กน้อย[2]

การขยายพันธุ์[แก้]

ใช้หัว เหง้า หน่อ

สรรพคุณ[แก้]

  • ราก แก้โรคเรื้อนใหญ่ เรื้อนน้อย แก้มะเร็ง คุดทะราด แก้กลากเกลื้อน แก้หิด แก้สิว แก้ฝ้า บำรุงเส้นประสาท แก้ไข้ แก้หืด แก้บิด
  • หัว แก้เสมหะในคอ บำรุงกำลัง บำรุงความกำหนัด แก้ไข้ แก้หืด แก้บิด ขับลม
  • ต้น แก้ลมแน่นในทรวงอก แก้โรคเรื้อนน้อย ใหญ่ แก้มะเร็งคุดทะราด แก้กลาก แก้เกลื้อน แก้หืด แก้สิว แก้ฟ้า แก้โรคมือเท้าไม่มีกำลัง
  • เถา กระจายลมในอก ขับโลหิตระดู ขับพยาธิในลำไส้
  • ใบ บำรุงไฟธาตุ แก้โรคเรื้อนน้อย ใหญ่ แก้มะเร็งคุดทะราด แก้กลากเกลื้อน แก้หิด แก้สิว แก้ฝ้า แก้แผลเรื้อรัง และแผลสด
  • ดอก ฆ่าพยาธิอันเกิดจากโรคเรื้อน และกุฏฐัง แก้มะเร็งคุดทะราด แก้กลากเกลื้อน แก้หิด แก้สิว แก้ฝ้า ทำให้อุจจาระละเอียด แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน ช่วยย่อยอาหาร
  • ผล ช่วยย่อยอาหาร
  • หนาม แก้เสมหะในคอและทรวงอก[3]

แหล่งที่พบ[แก้]

พบขึ้นทั่วไปตามป่าธรรมชาติของทุกภาคในประเทศไทย

ชนิด[แก้]

[ชนิดตัวเมีย] ใบสีเขียว ก้านและเถาสีเขียว ดอกสีเขียวอมขาว มียางแดงๆจางๆเหมือนน้ำเหลือง หัวกลมเล็ก เนื้อสีเหลืองอ่อน ผิวเรียบ

[ชนิดตัวผู้] ใบสีเขียวอมแดง ก้านและเถาอ่อน มีสีม่วงแดง หัวกลมโต ผิวขรุขระ ยางสีแดงเข้ม เนื้อสีเหลืองเข้ม เมื่อตากแห้งจะเป็นสีแดง

อ้างอิง[แก้]

--Pavinee Ssw (พูดคุย) 09:27, 17 กันยายน 2555 (ICT)