คุยกับผู้ใช้:Habiba khan07

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โรงเรียนสตรียะลาเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่และเป็นโรงเรียนต้นแบบ 1 อำเภอ 1 โรงเรียนในฝัน เป็นส่วนราชการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลาเขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

ประวัติโรงเรียน[แก้]

โรงเรียนสตรียะลาตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2469 ที่หมู่บ้านสะเตง ในสมัยพระสมานไมตรีราษฎร์ (ปั้น สุขุม) เป็นข้าหลวงจังหวัดยะลา โดยขอความร่วมมือจากขุนขจร โจรแสยง นายอำเภอเก่า เปิดสอนตั้งแต่ชั้น ป.1 – ป.3 มีนักเรียนจำนวน 8 คน จนถึงวันที่ 22 มีนาคม 2477 มีนักเรียน 75 คน เปิดสอนตั้งแต่ชั้น ม.1 – ม.3 หลังจากนั้นเปลี่ยนสภาพเป็นโรงเรียนประชาบาล

  • พ.ศ. 2478 – 2485 รวมกับโรงเรียนชาย คือ โรงเรียนณรงค์ฤทธิ์ยะลาราษฎร์บำรุง ต่อมาในวันที่ 8 มิถุนายน 2485 ทางราชการให้แยก

นักเรียนสตรีชั้น ม.ต้น ออกไปเรียนต่างหาก ส่วนนักเรียนชั้น ม.ปลาย ยังเรียนอยู่ที่เดิม นักเรียน ม.ต้น ที่แยกมานี้ให้ตั้งเป็นโรงเรียนสตรีประจำจังหวัด ใช้สถานที่เรียนเป็นห้องแถว พระรัฐกิจวิจารณ์ ถนนรัฐคำนึง เป็นที่ตั้งโรงเรียนในขณะนั้น เปิดสอนถึงชั้น ม.3 มีนักเรียน 57 คน ครูใหญ่ชื่อ นายทองเติม นิลโมจน์ บริหารทั้ง 2 โรงเรียน คือ โรงเรียนณรงค์ฤทธิ์ยะลาราษฎร์บำรุง และโรงเรียนสตรียะลา มีครูผู้สอนอีก 3 คน คือ นายจำนง มณีโชติ (สอนชั้น ม.3) นางเจียม วรรณศิลป์ (สอนชั้น ม.2) และนายห่วง ไตรสุวรรณ (นายกำแหง ไตรสุวรรณ สอนชั้น ม.1) ซึ่งครูแต่ละคนจะต้องสอนทุกวิชา

  • วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2485 ได้แยกอิสระจากโรงเรียนชายทั้งหมดเป็นโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดยะลา โดยมีผู้บริหารเป็นครูใหญ่ ชื่อ นางจงกล อุบลสิงห์ (ทองศรีสุข) ส่วนนักเรียนชาย แยกไปตั้งเป็นโรงเรียนชายต่างหาก ใช้ชื่อเดิม คือ โรงเรียนณรงค์ฤทธิ์ยะลาราษฎร์บำรุง ซึ่งต่อมา ขุนศิลปกรรมพิเศษ (แปลก) ธรรมการจังหวัดยะลาในสมัยนั้น ได้ทำการเปลี่ยนชื่อจาก “โรงเรียนณรงค์ฤทธิ์ยะลาราษฎร์บำรุง” เป็นโรงเรียนยะลา “คณะราษฎร-บำรุง” เพราะราษฎรเป็นผู้บริจาคที่ดินให้สร้างโรงเรียน
  • วันที่ 17 ธันวาคม 2486 โรงเรียนสตรียะลาประจำจังหวัดยะลา ได้ย้ายสถานที่ตั้งโรงเรียนไปอยู่ที่โรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัดยะลา บริเวณบ้านสะเตง (สำนักงานชลประทาน จังหวัดยะลา ปัจจุบัน )
  • พ.ศ. 2489 ย้ายสถานที่มาใช้อาคารเรียนของโรงเรียนการช่างชาย (วิทยาลัยเทคนิคยะลาปัจจุบัน )
  • พ.ศ. 2494 ย้ายสถานที่มาใช้อาคารเรียนโรงเรียนอนุบาลยะลา ( บริเวณวิทยาลัยเทคนิคยะลาในปัจจุบัน )
  • พ.ศ. 2498 ย้ายสถานที่มาตั้งอยู่เลขที่ 25 ถนนสุขยางค์ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา มีเนื้อที่ 29 ไร่ 2 งาน ทะเบียนพัสดุเลขที่ 11174 ตามหนังสือที่ กค 0403/1170 ลงวันที่ 15 มกราคม 2508 คือ สถานที่ตั้งโรงเรียนสตรียะลาปัจจุบันนี้

นางจงกล อุบลสิงห์ อาจารย์ใหญ่ ได้ลาออกจากราชการเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2518 ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ที่รักษาราชการแทนในช่วงนี้ คือ นางอุรา เดชะคุปต์

  • พ.ศ. 2501 – 2504 เข้าโครงการ คพศ. ครูใหญ่คือ นางจงกล อุบลสิงห์ ( ทองศรีสุข ) ได้ไปดูงาน ณ ประเทศฟิลิปปินส์ ไต้หวัน ญี่ปุ่น เป็นเวลา 2 เดือน เพื่อกลับมาพัฒนาการศึกษาด้านการเรียนการสอนในหมวดวิชาวิทยาศาสตร์ คหกรรม ธุรกิจ โสติทัศนศึกษา
  • พ.ศ. 2509 เข้าโครงการ คมช. ( โครงการพัฒนาโรงเรียนมัธยมศึกษาในชนบท)
  • พ.ศ. 2518 – พ.ศ. 2522 นางประไพ ตันตระกูล ศึกษานิเทศก์เอกกรมสามัญศึกษา ย้ายมาดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ใหญ่ในเดือนกันยายน *2518 ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสตรียะลาคนแรก ได้ปฏิบัติราชการ จนถึงเดือนธันวาคม 2522 มีคำสั่งจากกรมสามัญศึกษาให้ย้ายไปดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนส่วนบุญโญปถัมภ์ จังหวัดลำพูน
  • พ.ศ. 2520 เข้าโครงการ คมภ. ( โครงการพัฒนาโรงเรียนมัธยมศึกษาในส่วนภูมิภาค กลุ่มที่ 2 ) เปิดสอนแบบสหศึกษา

ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2522 – 20 มีนาคม 2523 นายอนันต์ อุทยารัตน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนรักษาราชการแท

  • พ.ศ. 2523 – พ.ศ. 2532 นางเบญจมาส ทัศนกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มารักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสตรียะลา และดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการในโอกาสต่อมา บริหารโรงเรียนสตรียะลา เป็นระยะเวลาถึง 9 ปี จนถึง
  • พ.ศ. 2532 ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา
  • พ.ศ. 2525 เป็นหน่วยจัดการศึกษานอกโรงเรียนประเภทบุคคลภายนอก เรียนด้วยตนเอง
  • พ.ศ. 2532 กรมสามัญศึกษาใช้ส่วนหนึ่งของโรงเรียนเป็นที่ตั้งของสำนักงานสามัญศึกษา จังหวัดยะลา
  • พ.ศ. 2532 – พ.ศ. 2535 นางสาวสุรางค์ บุญฮก ผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีพังงา จังหวัดพังงา ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสตรียะลา ต่อมาได้ย้ายไปเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
  • พ.ศ. 2533 โรงเรียนสตรียะลา ได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทาน ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่
  • พ.ศ. 2535 – พ.ศ. 2536 นางอัปสร วังสะวิบูลย์ ผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสตรียะลา ต่อมาได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา
  • พ.ศ. 2536 – พ.ศ. 2538 นางนันทนา ลาวเพชร ผู้อำนวยโรงเรียนราสิกขาลัย จังหวัดนราธิวาส มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสตรียะลา ต่อมาได้ลาออกจากราชการ
  • พ.ศ. 2538 – พ.ศ. 2539 นายอำพล ปรัตถพงศ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบตง “วีรราษฎร์ประสาน” อำเภอเบตง จังหวัดยะลา มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสตรียะลา ต่อมาได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดปัตตานี
  • พ.ศ. 2539 – พ.ศ. 2541 นายปกรณ์ เทพษร ผู้อำนวยการโรงเรียนยะหาศิรยานุกูล อำเภอยะหา จังหวัดยะลา มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสตรียะลา ต่อมาได้ย้ายไปเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดปัตตานี
  • พ.ศ. 2540 เข้าโครงการพัฒนาการเรียนการสอนโดยเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง

วันที่ 30 มกราคม – ตุลาคม 2541 นางบุญงาม ไชยรักษ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสตรียะลา ต่อมาได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเดชะปัตตนยานุกูล จังหวัดปัตตานี

  • พ.ศ. 2541 – พ.ศ. 2547 นายอำไพ จันทรสกุล ผู้อำนวยการโรงเรียนเบตง “วีรราษฎร์ประสาน” อำเภอเบตง จังหวัดยะลา มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสตรียะลา ต่อมาได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลา
  • พ.ศ. 2542 เข้าโครงการโรงเรียนสีขาวตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ
  • พ.ศ. 2543 เข้าโครงการพัฒนาโรงเรียนด้วยระบบ 5 ส.
  • พ.ศ. 2544 เข้าโครงการยุทธศาสตร์การปฏิบัติงานของจังหวัดยะลา
  • พ.ศ. 2544 ครูอาจารย์เข้าร่วมโครงการครูต้นแบบของสภาการศึกษาแห่งชาติ
  • พ.ศ. 2544 เข้าร่วมโครงการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อสร้างสุขภาวะและจิยธรรม ร่วมกับกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
  • พ.ศ. 2545 เข้าร่วมโครงการร่วมมือบำบัดรักษาโดยวิธี Matrix Program กับโรงพยาบาลศูนย์ยะลา
  • พ.ศ. 2545 เป็นโรงเรียนแกนนำการใช้หลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 ของสหวิทยาเขตนิบงทักษิณ จังหวัดยะลา
  • พ.ศ. 2545 เข้าร่วมการประเมินภายในของหน่วยงานต้นสังกัด กรมสามัญศึกษา
  • พ.ศ. 2546 มีการปรับโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องกำหนดเขตพื้นที่การศึกษา ประกาศและมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 7 กรกฎาคม 2546 โรงเรียนสตรียะลา เดิมสังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาอยู่ในสังกัด คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต 1 กระทรวงศึกษาธิการ
  • พ.ศ. 2547 เข้าร่วมโครงการระบบดี โรงเรียนมีคุณภาพ กับสถาบันวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้
  • พ.ศ. 2547 สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน) เข้าประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ( 20-22 ธันวาคม 2547)

วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2547 – ปัจจุบัน นายชิตพล พรหมจันทร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลา มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสตรียะลา บริหารโรงเรียนสตรียะลามาจนถึงปัจจุบัน

  • พ.ศ. 2547 โรงเรียนสตรียะลา ได้รับรางวัลโรงเรียนรางวัลพระราชทานประเภทมัธยมศึกษาขนาดใหญ่

ประวัติผู้บริหาร[แก้]

ผู้บริหารคนแรกของโรงเรียนสตรียะลาคือนางจงกล อุบลสิงห์ อาจารย์ใหญ่ ได้ลาออกจากราชการเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2518 นางอุรา เดชะคุปต์ ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่รักษาราชการแทน พ.ศ.2518 นางประไพ ตันตระกูล ศึกษานิเทศก์เอกกรมสามัญศึกษา มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ในเดือนกันยายน 2518 และเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนสตรียะลาคนแรก จนถึงเดือนธันวาคม 2522 ได้ไปดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนส่วนบุญโญปถัมภ์ จังหวัดลำพูน วันที่ 1ตุลาคม 2522 – 20 มีนาคม 2523 นายอนันต์ อุทยารัตน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ รักษาราชการแทน พ.ศ.2523 นางเบญจมาส ทัศนกุล ระดับ 2 ระดับ 6 โรงเรียนมหาวชิราวุธสงขลา ช่วยราชการโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มารักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสตรียะลาและดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการในโอกาสต่อมา จนถึง พ.ศ. 2532 ได้ไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา พ.ศ. 2532 นางสาวสุรางค์ บุญฮก ผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีพังงา จังหวัดพังงา มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยโรงเรียน จนถึง พ.ศ 2535 ได้ไปดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยโรงเรียนสตรีภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2535 นางอัปสร วังสะวิบูลย์ ผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีทุ่งสง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช มาดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนสตรียะลา จนถึง พ.ศ. 2536 ได้ไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา พ.ศ.2536 นางนันทนา ลาวเพชร ผู้อำนวยการโรงเรียนนราสิขาลัย จังหวัดนราธิวาส มาดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนสตรียะลา จนถึง พ.ศ. 2538 ได้ลาออกจากราชการ พ.ศ.2538 นายอำพล ปรัตถพงศ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเบตง “วีระราษฎร์ประสาน” มาดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนสตรียะลา จนถึง พ.ศ. 2539 ได้ไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัดปัตตานี พ.ศ.2539 นายปกรณ์ เทพษร ผู้อำนวยการโรงเรียนยะหาศิรยานุกูล มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสตรียะลา จนถึง พ.ศ. 2541 ได้ไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชูทิศจังหวัดปัตตานี วันที่ 30 มกราคม 2541 นางบุญงาม ไชยรักษ์ ผู้อำนวยการ โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสตรียะลา จนถึงวันที่ 30 ตุลาคม 2541 ได้ไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเดชะปัตตนยานุกูล จังหวัดปัตตานี วันที่ 29 ธันวาคม 2541 นายอำไพ จันทรสกุล ผู้อำนวยการโรงเรียนเบตง “วีระ-ราษฎร์ประสาน” มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสตรียะลา จนถึงวันที่ 22 ตุลาคม 2547ได้ไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนคณะราษฎร์บำรุง จังหวัดยะลา วันที่ 25 ตุลาคม 2547 นายชิตพล พรหมจันทร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนคณะราษฎร์บำรุง จังหวัดยะลา มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสตรียะลา บริหารโรงเรียนสตรียะลามาจนถึงปัจจุบัน

โครงสร้างการบริหาร[แก้]

โครงสร้างการบริหารงานโรงเรียนสตรียะลา

โรงเรียนสตรียะลา ประกอบด้วยงานสนับสนุนดังนี้

1.สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนสตรียะลา

2.คณะกรรมการสถานศึกษา

โดยแบ่งโครงสร้างภาระงานหลักออกเป็น  4  กลุ่มใหญ่ ดังนี้

1. กลุ่มอำนวยการและบริหารงบประมาณ

2. กลุ่มบริหารวิชาการ

3. กลุ่มบริหารกิจการนักเรียนและชุมชนสัมพันธ์

4. กลุ่มบริหารงานบุคคลและบริหารทั่วไป

กลุ่มอำนวยการและบริหารงบประมาณ ประกอบด้วยกลุ่มงานต่อไปนี้

1. คณะกรรมการบริหารกลุ่มอำนวยการและบริหารงบประมาณ

2. งานสำนักงานกลุ่ม

3. งานธุรการ

4. งานเลขานุการคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

5. งานแผนงานและจัดสรรงบประมาณ

6. งานระบบสารสนเทศ

7. งานระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา

8. งานบริหารการเงินและบัญชี

9. งานบริหารพัสดุและสินทรัพย์

10. งานยานพาหนะ

11. งานติดติดตามและประเมินผล

กลุ่มบริหารวิชาการ ประกอบด้วยกลุ่มงานต่อไปนี้

1. คณะกรรมการบริหารกลุ่มวิชาการ

2. งานสำนักงานกลุ่ม

3. งานหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้

4. งานหัวหน้าสายชั้น

5. งานพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและระบบเรียนรู้

6. งานระบบกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

7. งานวัดผลประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน

8. งานวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา

9. งานพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา

10. งานพัฒนาแหล่งเรียนรู้

11. งานนิเทศการศึกษา

12. งานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

13. งานส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการแก่ชุมชน

14. งานทะเบียน

15. โครงการพิเศษ

16. งานติดตามและประเมินผล

กลุ่มบริหารกิจการนักเรียนและชุมชนสัมพันธ์ ประกอบด้วยกลุ่มงานต่อไปนี้

1. คณะกรรมการบริหารกลุ่มบริหารกิจการนักเรียนและชุมชนสัมพันธ์

2. งานสำนักงานกลุ่ม

3. งานระดับชั้น

4. งานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

5. งานระบบชุมชนสัมพันธ์

6. งานส่งเสริมกิจการนักเรียน

7. งานป้องกัน แก้ไข ปัญหายาเสพติดและโรคเอดส์

8. งานติดตามและประเมินผล

กลุ่มบริหารงานบุคคลและบริหารทั่วไป ประกอบด้วยกลุ่มงานต่อไปนี้ 1. คณะกรรมการบริหารกลุ่มบริหารกิจการนักเรียนและชุมชนสัมพันธ์

2. งานสำนักงานกลุ่ม

3. งานระบบพัฒนาบุคลากรและเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ

4. งานระบบการดูแลคุณธรรมจริยธรรมในวิชาชีพ

5. งานวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง

6. งานสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง

7. งานระบบการบริหารและพัฒนาองค์กร

8. งานส่งเสริมคุณภาพชีวิตนักเรียนและบริการสาธารณะ

9. งานอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม

10. งานรักษาความปลอดภัยและวิทยุสื่อสาร

11. งานประชาสัมพันธ์

12. งานการควบคุมภายในสถานศึกษา

13. งานติดตามและประเมินผล

วิสัยทัศน์[แก้]

โรงเรียนสตรียะลา บริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพและจัดการเรียนการสอนเทียบเคียงมาตรฐานสากล ให้นักเรียนมีศักยภาพ เป็นเลิศ ทางวิชาการ สื่อสาร ๒ ภาษา ล้ำหน้าทางความคิด ผลิดงานอย่างสร้างสรรค์ ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลก เป็นคนดี คนเก่ง มีความสุข ตามมาตรฐาน คุณภาพแห่งชาติภายในปี ๒๕๕๕


พันธกิจ 1. มีการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพตามมาตรฐานสากล บนหลักธรรมมาภิบาล น้อมนำปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ

2. พัฒนาสมรรถนะของครูและบุคลากรทางการศึกษาสู่ครูมืออาชีพ

3. พัฒนาหลักสูตรและจัดการเรียนการสอนเทียบเคียงมาตรฐานสากล โดยเน้นความเป็นเลิศทางวิชาการ สื่อสารสองภาษา ล้ำหน้าทางความคิด ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลก เป็นคนดี เก่ง มีความสุข

4. จัดสภาพแวดล้อมให้มีบรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้

5. เครือข่ายและโรงเรียนร่วมพัฒนา มีส่วนร่วม ในการพัฒนาการศึกษาให้ได้ตามมาตรฐานสากล

6. จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่หลากหลายตามความสนใจ เน้นความคิด มีจิตสาธารณะ

7. ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ความสำนึกในความเป็นชาติไทย และ คุณลักษณะอันพึงประสงค์


เป้าประสงค์ 1. โรงเรียนมีความเข้มแข็งในการบริหาร และจัดการศึกษาด้วยระบบคุณภาพตามมาตรฐานสากล บนหลักธรรมาภิบาล น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ

2. ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพ และจัดการเรียนการสอนเทียบเคียงมาตรฐานสากล ให้ผู้เรียนมีศักยภาพเป็นพลโลก

3. ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และยกระดับคุณภาพสู่มาตรฐานสากล

4. ผู้เรียนมีสิ่งแวดล้อมที่ดี มีบรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้

5. เครือข่ายและโรงเรียนร่วมพัฒนา มีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา ให้ได้ตามมาตรฐานสากล

6. ผู้เรียนได้รับการพัฒนาศักยภาพ จากกิจกรรมที่หลากหลายตามความสนใจ และมีจิตสาธารณะ

7. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม สำนึกในความเป็นชาติไทย และคุณลักษณะอันพึงประสงค์

8. มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล วิจัย พัฒนาโรงเรียนสู่มาตรฐานสากล รายงานผลการดำเนินงานประชาสัมพันธ์และเผยแพร่

คุณลักษณะอันพึงประสงค์[แก้]

1. มีระเบียบวินัย

2. มีความรับผิดชอบ

3. มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน

4. มีความซื่อสัตย์สุจริต

5. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

6. มีความเสียสละเพื่อส่วนรวม

7. เห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น

8. มีความเมตตากรุณาและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

9. มีความอดทน , อดกลั้น อดออมและประหยัด

10. รู้จักคิดอย่างมีวิจารณญาณ

สภาพปัจจุบัน[แก้]

2.สภาพปัจจุบันของโรงเรียนสตรียะลา

2.1 ที่ตั้ง

โรงเรียนสตรียะลา ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 25 ถนนสุขยางค์ ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา รหัสไปรษณีย์ 95000 โทรศัพท์ 073 212 965 โทรสาร 073 215 143 มีเนื้อที่ 29 ไร่ 2 งาน

2.2 อาคารสถานที่

- อาคารถาวร 4 หลัง

- อาคารฝึกงาน 3 หลัง

- อาคารหอประชุมและโรงพลศึกษา 1 หลัง

- อาคารหอประชุมและโรงอาหาร 1 หลัง

- โรงยืดหยุ่นและเทเบิลเทนนิส 1 หลัง

- อาคารประชาสัมพันธ์ 1 หลัง

- ป้อมยาม 1 หลัง

- ห้องน้ำห้องส้วม 6 หลัง

- บ้านพักครู 15 หลัง

- บ้านพักนักการภารโรง 2 หลัง

- สนามบาสเก็ตบอล 1 สนาม

- สนามฟุตบอล 1 สนาม

- สนามแฮนบอล 1 สนาม


2.3 ชุมชนรอบสถานศึกษา

ทิศเหนือ วงเวียนหอนาฬิกาและสำนักงานบริการการศึกษาตามอัธยาศัยและการศึกษานอกระบบ

ทิศตะวันออก สำนักงานทดสอบโยธาธิการจังหวัดยะลาและบ้านเรือนของประชาชน

ทิศใต้ โรงเรียนรัชตะวิทยาและวิทยาลัยชุมชนจังหวัดยะลา

ทิศตะวันตก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต 1 และสำนักงานเทศบาลนครยะลา

จำนวนบุคลากร/นักเรียน[แก้]

บุคลากร ตำแหน่ง

  • ผู้อำนวยการ เชี่ยวชาญ

ชาย 1 คน หญิง 0 คน รวม 1 คน

  • รองผู้อำนวยการ ชำนาญ

ชาย 3 คน หญิง 1 คน รวม 4 คน

  • ครูชานาญการพิเศษ

ชาย 2 คน หญิง 2 คน รวม 4 คน

  • ครู ชำนาญการ

ชาย 35 คน หญิง 62 คน รวม 97 คน *ครู ชาย 1 คน หญิง 3 คน รวม 4 คน

  • ครผู้ช่วย

ชาย 1 คน หญิง 3 คน รวม 4 คน

ลูกจ้างประจำ (ข้อมูลวันที่ 2 พฤศจิกายน 2552)

*นักการภารโรง ชาย 2 คน หญิง 3 คน รวม 5 คน

*พนักงานขับรถ ชาย 1 คน หญิง 0 คน รวม 1 คน

*ยาม ชาย 1 คน หญิง คน รวม 1 คน

นักเรียนรางวัลพระราชทาน[แก้]

พ.ศ.2547 นางสาวนิสากร สงอักษร ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับรางวัลพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประเภทโรงเรียนขนาดใหญ่ พ.ศ. 2548 นายพงศ์พนักเรียนได้รับการคัดเลือกให้ได้รับรางวัลพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประเภทโรงเรียนขนาดใหญ่ พ.ศ. 2549 นายสิริพงศ์ วงศ์พัทยากร ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับรางวัลนักเรียนพระราชทานระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ประเภทโรงเรียนขนาดใหญ่ พ.ศ. 2550 นายชินภัทร ตันติสุวรรณโณ ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับรางวัลนักเรียนพระราชทานระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ประเภทโรงเรียนขนาดใหญ่ พ.ศ. 2551 นายประวุฒิ ประดับเพชรรัตน์ ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับรางวัลนักเรียนพระราชทานระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น นางสาวภัทรพร กลีบโกมุท ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับรางวัลนักเรียนพระราชทานระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ประเภทโรงเรียนขนาดใหญ่ พ.ศ. 2552 โรงเรียนสตรียะลา ผ่านการประเมินโรงเรียนดีใกล้บ้าน ( โรงเรียนในฝัน รุ่นที่ 2 ) พ.ศ. 2552 โรงเรียนสตรียะลาได้รับรางวัลโรงเรียนรางวับพระราชทานประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษา ขนาดใหญ่ พ.ศ. 2552 เด็กหญิงจิรนันท์ ศิริศักดิ์วัฒนา ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับรางวัลนักเรียนพระราชทานระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]