คิม ย็อง-ซัม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คิม ย็อง-ซัม
김영삼
ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ คนที่ 7
ดำรงตำแหน่ง
25 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2536 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541
ก่อนหน้าโน แท-อู
ถัดไปคิม แด-จุง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 ธันวาคม พ.ศ. 2470
คอเจ จังหวัดคย็องซังใต้ เกาหลีภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น
เสียชีวิต22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 (87 ปี)
โซล เกาหลีใต้
ศาสนาศาสนาคริสต์-เพรสไบทีเรียน
พรรคการเมืองแกรนด์เนชั่นแนล (2540-2558)
เสรีนิยมประชาธิปไตย (2533-2539)
ประชาธิปไตยเพื่อการรวมชาติ (2530-2533)
นิวโคเรีย (2528-2530)
ประชาธิปัตย์ (2524-2528)
ประชาธิปไตยใหม่ (2497-2528)
คู่สมรสซน มยองซุน
ลายมือชื่อ
Korean name
ฮันกึล
김영삼
ฮันจา
อาร์อาร์Gim Yeongsam
เอ็มอาร์Kim Yŏngsam
นามปากกา
ฮันกึล
거산
ฮันจา
อาร์อาร์Geosan
เอ็มอาร์Kŏsan

คิม ย็อง-ซัม (อักษรโรมัน: Kim Young-sam; 20 ธันวาคม พ.ศ. 2470 - 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558) เป็นนักการเมืองชาวเกาหลีใต้ และนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย และเป็นประธานาธิบดีลำดับที่ 7 ของสาธารณรัฐเกาหลี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 ถึงปี พ.ศ. 2541 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 เป็นต้นมา คิมรับบทเป็นผู้นำฝ่ายค้านของเกาหลีใต้ถึง 30 ปี และเป็นศัตรูทางการเมืองที่สำคัญที่สุดของอดีตประธานาธิบดี พัก จ็อง-ฮี

ภายหลังจากเข้ารับตำแหน่งในปี พ.ศ. 2536 คิม ย็อง-ซัมถือเป็นประธานาธิบดีคนแรกของเกาหลีใต้ที่เป็นพลเรือน หลังจากการลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีของอี ซึง-มัน เมื่อปี พ.ศ. 2503 โดย คิม ย็อง-ซัมทำพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 และดำรงตำแหน่งหนึ่งสมัย ระยะเวลาห้าปี โดยเขาเป็นหัวเรือใหญ่ในโครงการต่อต้านการฉ้อราษฎร์บังหลวง และจับกุมอดีตประธานาธิบดี 2 คนคือ ช็อน ดู-ฮวันและโน แท-อู และมีนโยบายทางด้านการต่างประเทศที่เรียกว่า เซกเยฮวา

ประวัติ[แก้]

ช่วงชีวิตเริ่มแรกและอาชีพ[แก้]

คิม ย็อง-ซัมเกิดที่เมืองคอเจ ในช่วงที่เกาหลีอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น ระหว่างช่วงสงครามเกาหลี คิมสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล ในปี พ.ศ. 2495 พร้อมด้วยปริญญาศิลป-ศาสตรบัณฑิต สาขาปรัชญา และยังได้เป็นทหารรับใช้ชาติในช่วงสงครามเกาหลี ในปี พ.ศ. 2497 คิมได้รับเลือกตั้งเข้าไปในสภาแห่งชาติของเกาหลีใต้ และได้รับเลือกตั้งถึง 9 สมัยในเขต คอเจและปูซาน และคิมก็ยังบุคคลที่อายุน้อยที่สุดที่ได้เป็นสมาชิกรัฐสภาของเกาหลีใต้

เส้นทางการเมือง[แก้]

คิม ย็อง-ซัมพร้อมกับ คิม แด-จุง ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกรัฐสภาเมื่อ อี ซึง-มัน พยายามที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญและกลายเป็นการนำไปสู่ความอันตรายของประเทศ ซึ่งทำให้เกาหลีใต้มีรัฐบาลทหารทั้งรัฐบาลของพัก จ็อง-ฮีและช็อน ดู-ฮวัน ในปี พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายที่พักครองอำนาจ คิม ย็อง-ซัมได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปไตยใหม่ ซึ่งชนะการเลือกตั้งในปี 2521 แต่ไม่ได้มีอำนาจเพราะรัฐธรรมนูญยูซิน (รัฐธรรมนูญปี 2515) ซึ่งรับรองความเป็นเผด็จการของพักตลอดชีวิต คิม ย็อง-ซัม ซึ่งยึดมั่นในนโยบายไม่เคยที่จะประนีประนอมหรือร่วมมือกับพรรคสาธารณรัฐประชาธิปไตยของพัก จนกว่ารัฐธรรมนูญยูซินได้ยกเลิกไปและคิมยังได้กล้าวหาญในการวิจารณ์ความเป็นเผด็จการของพัก ซึ่งอาจทำให้เขาถูกลงโทษจำคุกภายใต้รัฐธรรมนูญยูซิน ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2522 คิมได้อนุญาตให้แรงงานหญิงของโรงงานทำผมปลอมใช้สำนักงานใหญ่ของพรรคประชาธิปไตยใหม่เป็นสถานที่ในการชุมนุมนั่งประท้วงและเป็นที่ประกันความปลอดภัยให้กับพวกเขา ตำรวจกว่าสองพันนายเข้าจู่โจมสำนักงานใหญ่ของพรรคและเข้าจับกุมแรงงาน ในตอนจับกุมนั้นมีแรงงานผู้หญิงหนึ่งคนเสียชีวิตและสมาชิกสภานิติบัญญัติหลายคนพยายามที่จะปกป้องพวกเขา ทำให้มีการปะทะกันหลายครั้ง บางคนต้องการนำเข้ารักษาในโรงพยาบาล ซึ่งเป็นที่ได้รับการวิจารณ์กันอย่างกว้างขวางและการวิจารณ์อย่างรุนแรงจากคิม ย็อง-ซัม ซึ่งเกี่ยวกับการทำให้เผด็จการพักถูกฆาตกรรม ซึ่งทำให้ระบบเผด็จการพังลงอย่างเคราะห์ร้ายในอีกไม่ช้านี้ ภายหลังจากเหตุการณ์นี้ พักมีความตั้งใจที่จะถอดถอนคิมออกจากตำแหน่งทางการเมืองเหมือนกับการจำคุก คิม แด-จุง และใช้คำสั่งจากสำนักงานข่าวกรองกลาง (KCIA) ในการวางแผนและดำเนินการ ในเดือนสิงหาคม 2523 ศาลได้มีคำสั่งให้ยุติบทบาทหัวหน้าพรรคประชาธิปไตยใหม่ชั่วคราว

เมื่อคิมได้ร้องขอให้สหรัฐอเมริกาหยุดให้การสนับสนุนเผด็จการพักในคำให้สัมภาษณ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ ว่าพักต้องการให้ตนถูกจำคุกในขณะที่รัฐบาลของจิมมี คาร์เตอร์ ก็กังวลเกี่ยวกับความรุนแรงในเรื่องการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิ่มมากขึ้น โดยได้ออกคำเตือนขั้นรุนแรงว่าห้ามจับกุมสมาชิกพรรคฝ่ายค้านมาลงโทษ เมื่อคิมถูกไล่ออกจากสภาแห่งชาติในเดือนตุลาคม 2522 สหรัฐอเมริกาได้เรียกตัวเอกอัครราชทูตกลับวอชิงตัน ดี.ซี. และสมาชิกสภานิติบัญญัติอีก 66 คนได้ขอลาออกจากสภาแห่งชาติ และเมื่อสิ่งนั้นเป็นที่รับรู้รัฐบาลเกาหลีใต้มีแผนที่จะยอมรับการลาออก ทำให้เกิดการลุกฮือขึ้นที่ปูซาน บ้านเกิดของคิม เป็นผลให้สถานีตำรวจ 30 แห่งถูกเผา ซึ่งเป็นการประท้วงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่สมัยประธานาธิบดีอี ซึง-มัน และเหตุการณ์ได้ขยายไปถึงเขตมาซานและเมืองอื่นๆ โดยนักเรียนนักศึกษาและประชาชนได้เรียกร้องให้โค่นล้มรัฐบาลเผด็จการ ซึ่งวิกฤตการณ์นี้เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักนำไปสู่การสังหาร ประธานาธิบดี พัก จ็อง-ฮี โดยผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองกลาง คิม แจคยู ในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2522 (พักบอกผู้อำนวยการคิมด้วยตัวของเขาเองว่าให้มีคำสั่งโดยใช้ไฟสลายการชุมนุมถ้าสถานการณ์เลวร้ายลง)

การกดขี่พรรคฝ่ายค้านจากทางรัฐบาลก็ยังดำเนินอยู่ต่อไปภายใต้รัฐบาลเผด็จการทหารของ ช็อน ดู-ฮวัน ซึ่งได้ใช้กำลังทหารทำการยึดอำนาจรัฐประหารเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2522 คิมถูกไล่ออกจากสภาแห่งชาติเมื่อเขาได้เคลื่อนไหวกิจกรรมทางการเมืองและห้ามยุ่งเกี่ยวกับการเมืองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 จนถึงปี พ.ศ. 2528 ในปี 2526 คิมได้อดอาหารประท้วงเผด็จการ ชอน ดูฮวาน เป็นเวลา 21 วัน

เมื่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีทางตรงเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2530 ภายหลังจากชอนได้วางมือ คิม ย็อง-ซัมและคิม แด-จุง ได้ทำการลงเลือกตั้งด้วยกันทั้งคู่และแข่งขันกันเอง ทำให้ทั้งสองตัดคะแนนกันเองและเป็นผลทำให้อดีตนายพล โน แท-อู ผู้เป็นทายาททางการเมืองของชอน ชนะการเลือกตั้งอย่างฉิวเฉียด ในปี พ.ศ. 2533 คิมได้ทำการรวมพรรคอย่างปุบปับในการรวมพรรคประชาธิปไตยเพื่อสันติของเขากับพรรคยุติธรรมประชาธิปไตยของ โน แท-อู ด้วยการเป็นตัวแทนพรรคของคิม ย็อง-ซัมทำให้เขาเอาชนะ คิม แด-จุงในการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี พ.ศ. 2535 โดยเขาเป็นพลเรือนหนึ่งในสามที่ได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีและเป็นคนแรกนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503

รัฐบาลของคิม ย็อง-ซัมพยายามที่จะปฏิรูปรัฐบาลและเศรษฐกิจ หนึ่งในหลายโครงการแรกของรัฐบาลคือโครงการปราบปรามการฉ้อราษฎร์บังหลวง โดยต้องการให้สมาชิกรัฐบาลและบรรดานายทหารยื่นบัญชีทรัพย์สินให้ตรวจสอบ ทำให้เกิดการลาออกของข้าราชการระดับสูงและรัฐมนตรีหลายคนอย่างทันทีทันใด คิมได้จับกุมชอนและโนห์ในข้อหาฉ้อราษฎร์บังหลวงและก่อการกบฏ และสามารถดำเนินคดีกับทั้งคู่ได้ คิมได้ทำการนิรโทษกรรมให้กับนักโทษทางการเมืองหลายพันคน และได้ถอนคำพิพากษาในคดีอาญาของผู้ประท้วงเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งถูกจับในเหตุการณ์ขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในกวางจูซึ่งเป็นผลมาจากเหตุการณ์รัฐประหาร 12 ธันวาคม

โครงการต่อต้านการฉ้อราษฎร์บังหลวงเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูประบบแชโบล ซึ่งเป็นหลุ่มบริษัทที่รวมกกันขนาดใหญ่ของเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นตัวแทนของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม การมีส่วนพัวพันในการทุจริตของลูกชายคนที่สองของเขา นำไปสู่การสุญเสียความมั่นใจ ในพรรคร่วมรัฐบาลใหม่ของเขา ทำให้พรรคเสรีนิยมประชาธิปไตยสูญเสียที่นั่งหลักในสภาแห่งชาติในปี พ.ศ. 2539 เกีย มอเตอร์ ล้มหลังจากนั้นไม่นานเป็นเหตุการณ์เริ่มต้นนำไปสู่เหตุการณ์ที่เป็นลูกโซ่ ซึ่งดึงเกาหลีใต้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 ในระหว่างปีสุดท้ายในการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของเขา (รัฐธรรมนูญของเกาหลีใต้ฉบับปี พ.ศ. 2530 ระบุให้ประธานาธิบดีเกาหลีใต้เป็นได้หนึ่งสมัย สมัยละ 5 ปี)

ชีวิตหลังจากตำแหน่งประธานาธิบดี และการถึงแก่อสัญกรรม[แก้]

ภายหลังลงจากตำแหน่งประธานาธิบดีแล้ว คิมได้เดินทางไปทั่วโลก เพื่อสนับสนุนประชาธิปไตย และกล่าวปาฐกถาเช่นในหัวข้อ "โลกที่ก้าวไปข้างหน้ากับประชาธิปไตยใหม่" ที่ไต้หวัน ในปี พ.ศ. 2550

คิมถึงแก่อสัญกรรมที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งชาติโซลเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 จากการติดเชื้อในกระแสโลหิตและหัวใจล้มเหลว อายุ 87 ปี[1][2][3] วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 รัฐพิธีศพของอดีตประธานาธิบดีคิม ย็อง-ซัม ได้จัดขึ้นที่สนามหญ้าหน้ารัฐสภา โดยมีการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ ในช่วงที่นายกรัฐมนตรี ฮวัง คโย-อัน ได้กล่าวเปิดพิธี[3]หลังจากนั้นร่างของคิมได้ถูกฝังที่ สุสานแห่งชาติโซล[3]

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

คิมเป็นสมาชิกของโบสถ์ชุงฮยุนเพรสไบทีเรียน[4]นอกจากนี้เขายังพูดภาษาญี่ปุ่นได้คล่อง คิมได้สมรสกับ ซน มยองซุน[5]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Kim, Hyung-Jin. "Kim Young Sam: South Korean president ended years of military rule". The Globe and Mail. Bloomberg News. สืบค้นเมื่อ 26 November 2015.
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ NYTobit
  3. 3.0 3.1 3.2 Kim Tong-hyung (26 November 2015). "S. Koreans mourn ex-President Kim in state funeral". Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-26. สืบค้นเมื่อ 26 November 2015.
  4. Spiritual Shift
  5. Yonhap news agency, Seoul - March 10, 1997 BBC

ข้อมูลเพิ่มเติม[แก้]