คาเบดง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คาเบดง

คาเบดง (ญี่ปุ่น: 壁ドンโรมาจิkabedon; "คาเบะ" มีความหมายว่า "กำแพง" และ "ดง" เป็นคำแทนเสียง "ปัง") เป็นคำที่ใช้หมายถึงการใช้มือตบกับกำแพงอย่างแรงทำให้เกิดเสียง "ดง" ในความหมายหนึ่งคือการตบกำแพงเพื่อประท้วง ซึ่งเกิดขึ้นในที่อยู่อาศัยรวมอย่างคอนโดมิเนียม เมื่อห้องข้าง ๆ ทำเสียงดัง[1] อีกความหมายหนึ่งมักปรากฏในมังงะหรืออนิเมะแนวโชโจะ เมื่อตัวละหนึ่งบังคับให้อีกตัวละครหนึ่งไปจนมุมหลังชนกำแพงโดยใช้มือตบเข้ากับกำแพงจนเกิดเสียง "ดง" ความหมายนี้ได้รับความนิยมในฐานะ "การเคลื่อนไหวอย่างชาญฉลาดเพื่อสารภาพรัก"[2][3]

ต้นกำเนิด[แก้]

คำว่าคาเบดงปรากฏครั้งแรกในปี พ.ศ. 2551 เมื่อนักพากย์เรียวโกะ ชินตานิกล่าวถึงว่าเป็น "สถานการณ์ที่น่ารัก" คำนี้นิยมใช้ในมังงะแนวโชโจะเรื่อง มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา ผลงานโดยอายุ วาตานาเบะ[4][5] และในเดือนเมษายน พ.ศ. 2557 มังงะได้รับการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์คนแสดง[6] หลังจากนั้นคำว่าคาเบดงจึงเป็นที่คุ้นเคยระดับสาธารณะและปรากฏในมังงะแนวโชโจะหลายเรื่อง[1]

การใช้[แก้]

คาเบดงมักปรากฏในมังงะหรืออนิเมะแนวโชโจะ เมื่อผู้ชายบังคับผู้หญิงเข้าชนกำแพง โดยมือข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างของผู้ชายตบเข้าที่กำแพงด้านข้างของผู้หญิงและทำให้เกิดเสียง "ดง"[7]

ในประเทศญี่ปุ่น ผนังของอาคารอยู่อาศัยจำนวนมากมีความบางและไม่มีฉนวนกันเสียง ด้วยเหตุนี้การกระทำทั่วไปอย่างการปิดประตูหรือเปิดโทรทัศน์ก็ทำให้เพื่อนบ้านได้ยินได้ง่าย เมื่อเสียงดังเกินทน คนญี่ปุ่นมักจะตบกำแพงที่เชื่อมต่อกับห้องข้างเคียงเพื่อประท้วง[1]

คำว่าคาเบดงถูกยืมมาใช้ในภาษาจีน ซึ่งออกเสียงว่า ปี้ตง (壁咚, bìdōng) ทางละครโทรทัศน์อย่าง รอรักกลับมา[8] ในฮ่องกง นักแสดงหวาง จงเหยาทำการปี้ตงในโฆษณาน้ำยาบ้วนปากลิสเตอรีน[9]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Ashcraft, Brian (4 July 2014). "Manga Trope Appears in Noodle Commercial, Confuses Some People". Kotaku.
  2. "Feeling Exhilaration, Even Through a Mistake: Experiencing the "Kabe-Don" Japanese Girls Love So Much". Japanese kawaii idol music culture news | Tokyo Girls Update. November 2014.
  3. "Would kabe-don work outside of Japan?【Video】". March 13, 2015.
  4. Junko (15 December 2015). Kiss Him, Not Me Vol. 2. Kodansha Comics. Translation Notes. ISBN 9781682330340.
  5. Green, Scott. "Kodansha Announces Manga Licenses Including "Princess Jellyfish"". Crunchyroll.
  6. "Kento Yamazaki's Best Movies and Dramas". ReelRundown.
  7. "Move Over Udon and Gyudon : It's Time For "Kabe-Don" !!". Wow! Japan. 30 January 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 March 2015. สืบค้นเมื่อ 30 May 2020.
  8. Xing, Shaofei (2015). "Why is "Bidong" So Popular in China Nowadays".
  9. Berman, Margo (July 1, 2016). The Blueprint for Strategic Advertising: How Critical Thinking Builds Successful Campaigns. Routledge. ISBN 9781317211624 – โดยทาง Google Books.