คัสทอมเฟิร์มแวร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คัสทอมเฟิร์มแวร์ (อังกฤษ: custom firmware, aftermarket firmware) เป็นเฟิร์มแวร์ใหม่หรือปรับปรุง อันไม่เป็นทางการ ซึ่งบุคคลที่ 3 ผู้ไม่ใช่บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์เป็นคนทำ อุปกรณ์ที่อาจติดตั้งคัสทอมเฟิร์มแวร์รวมทั้งเครื่องเล่นวิดีโอเกม สมาร์ทโฟน และอุปกรณ์ฝังตัวต่างๆ เพื่อให้ได้ลูกเล่นใหม่หรือเปิดลูกเล่นที่ดั้งเดิมปิดไม่ให้ใช้

ในชุมชนเครื่องเล่นวิดีโอเกม คำนี้มักเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า custom firmware หรือ CFW โดยหมายถึงซอฟต์แวร์ระบบที่ได้เปลี่ยนไปจากเดิม (ซอฟต์แวร์ระบบดั้งเดิมจะเรียกว่า official firmware หรือ OFW) เครื่องเล่นที่อาจติดตั้งซอฟต์แวร์เช่นนี้รวมทั้งเพลย์สเตชัน พอร์เทเบิล, เพลย์สเตชัน 3, เพลย์สเตชัน วิตา, เพลย์สเตชัน ทีวี, เพลย์สเตชัน 4, นินเท็นโด 3ดีเอส และนินเท็นโด สวิตช์

การติดตั้งคัสทอมเฟิร์มแวร์ในอุปกรณ์บางอย่างจะต้องปลดล็อกบูตโหลดเดอร์

เครื่องเล่นวิดีโอเกม[แก้]

แอนดรอยด์[แก้]

สำหรับอุปกรณ์ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ การติดตั้งคัสทอมเฟิร์มแวร์ หรือที่มักจะเรียกว่าการติดตั้งคัสทอมรอม เป็นการเขียนทับ/เปลี่ยนซิสเท็มพาร์ทิชัน (system partition) ที่มีระบบปฏิบัติการ โดยซิสเท็มพาร์ทิชันปกติจะเมานท์ (mount) เพื่อให้อ่านเพียงเท่านั้น[1][2] การเขียนทับด้วยแอนดรอยด์รุ่นปรับปรุงเช่นนี้ ปกติจะเรียกว่า แฟลชคัสทอมรอม[3] ซึ่งปกติจะต้องปลดล็อกบูตโหลดเดอร์ (bootloader) โดยในอดีตเป็นปฏิบัติการที่ผู้ผลิตอุปกรณ์ไม่สนับสนุน ผู้ทำจึงต้องมีความชำนาญบ้างในการเจาะช่องโหว่ของระบบเพื่อจะติดตั้ง แต่เริ่มตั้งแต่ปี 2015[4] ผู้ผลิตหลายบริษัทรวมทั้งโมโตโรลา[5] วันพลัส[6] กูเกิล[7] เสียวหมี่ และโซนี่[8] ได้ให้วิธีปลดล็อกบูตโหลดเดอร์ (ยกเว้นอุปกรณ์รุ่นที่บริษัทโทรศัพท์ได้ล็อกไว้) จึงไม่ต้องใช้ช่องโหว่ของระบบในการทำ คัสทอมรอมที่ติดตั้งจะมีลูกเล่นต่างๆ กันโดยอาจใช้แบตน้อยกว่า หรือมีประโยชน์อื่นๆ สำหรับผู้ใช้ อนึ่ง อุปกรณ์ที่ไม่ได้รับอัปเดตจากผู้ผลิตอีกต่อไป ก็ยังสามารถได้อัปเดตจากคัสทอมรอม แต่ผลเสียที่อาจมีอย่างหนึ่งก็คือ คัสทอมรอมบางอย่างอาจไม่รองรับลูกเล่นของโทรศัพท์ทุกอย่าง

การติดตั้งคัสทอมเฟิร์มแวร์ เช่น ลิเนียจโอเอส พารานอยด์แอนดรอยด์ หรือพิกเซลเอ็กซ์พีเรียนซ์ ทั่วๆ ไปจะต้องดำเนินการอย่างคร่าวๆ ดังนี้[9][10]

  • ตั้งโปรแกรม adb และ fastboot บนคอมพิวเตอร์ที่ใช้เป็นโฮสต์
  • เปิดการใช้งาน USB Debugging บนอุปกรณ์แอนดรอยด์
  • ปลดล็อกบูตโหลดเดอร์บนอุปกรณ์แอนดรอยด์ ให้สังเกตว่านี่จะทำยากง่ายต่างกัน หรือทำไม่ได้เลย โดยขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ (ดูการปลดล็อกบูตโหลดเดอร์)
  • ดาวน์โหลดไฟล์ที่จะแฟลช/ติดตั้ง บ่อยครั้งจะเป็นแค่ custom recovery image และ custom ROM สำหรับอุปกรณ์นั้นโดยเฉพาะๆ
  • บูตอุปกรณ์แอนดรอยด์ให้อยู่ในโหมดฟาสต์บูต แล้วใช้ fastboot บนคอมแฟลช/ติดตั้ง custom recovery image ที่ระบุบนอุปกรณ์แอนดรอยด์
  • บูตอุปกรณ์ให้เข้าไปใน custom recovery image แล้วใช้ adb บนคอมติดตั้งไฟล์ที่จำเป็นๆ รวมทั้ง custom ROM บนอุปกรณ์แอนดรอยด์
  • เมื่อติดตั้งสำเร็จแล้ว ก็จะบูตระบบเป็นระบบปฏิบัติการใหม่ได้

อุปกรณ์อื่นๆ[แก้]

อุปกรณ์ต่างๆ เช่น กล้องดิจิทัล, เราเตอร์ไร้สาย และสมาร์ททีวีก็อาจใช้คัสทอมเฟิร์มแวร์ได้เช่นกัน[11]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. "Non-A/B System Updates".
  2. Raja, Haroon Q. (2011-05-19). "Android Partitions Explained: boot, system, recovery, data, cache & misc". Addictivetips.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-22. สืบค้นเมื่อ 2012-09-15.
  3. "Android ROM". PCMAG Encyclopedia. สืบค้นเมื่อ 2023-05-26.
  4. "Unlock Bootloader - Supported Devices". LG Developer. สืบค้นเมื่อ 2021-01-29. Example: the 2015 G4 is the first LG phone for which the bootloader can be unlocked.
  5. "Unlocking the Bootloader | MOTOROLA Android Phones | Motorola Mobility LLC".
  6. "After-sales - Will rooting or unlocking the bootloader void my warranty? - OnePlus". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-31.
  7. "Factory Images for Nexus and Pixel Devices | Google APIs for Android". Google Developers (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-09-18.
  8. "Unlock Bootloader - Open Devices - Sony Developer World".
  9. "Install PixelExperience on miatoll". Install PixelExperience on miatoll - PixelExperience Wiki. 2023-11-26. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-02. สืบค้นเมื่อ 2023-11-27.
  10. "Install LineageOS on miatoll". LineageOS Wiki. 2023-11-26. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-06. สืบค้นเมื่อ 2023-11-27.
  11. How hackers are outsmarting smart TVs and why it matters to you