ความเย็น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภูเขาน้ำแข็งเย็น

ความเย็นคือการมีอุณหภูมิต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบรรยากาศ[1] สำหรับการใช้ทั่วไป ความเย็นมักเป็นการรับรู้อัตวิสัย ("หนาว") ขอบเขตล่างของอุณหภูมิได้แก่ ศูนย์สัมบูรณ์ ซึ่งนิยามว่าเป็น 0.00 K ในมาตราเคลวิน ซึ่งเป็นมาตราอุณหภูมิอุณหพลศาสตร์สัมบูรณ์ ซึ่งตรงกับ −273.15 °C ในมาตราเซลเซียส −459.67 °F ในมาตราฟาเรนไฮต์ และ 0.00 °R ในมาตราแรงกิน

เนื่องจากอุณหภูมิสัมพันธ์กับพลังงานความร้อนที่มีอยู่ในวัตถุหรือตัวอย่างสสาร ซึ่งเป็นพลังงานจลน์ของการเคลื่อนที่แบสุ่มขององค์ประกอบอนุภาคของสสาร วัตถุจะมีพลังงานความร้อนลดลงเมื่อเย็นลงและมีพลังงานมากขึ้นเมื่อร้อนขึ้น หากสามารถทำให้ระบบเย็นจนถึงศูนย์สัมบูรณ์ การเคลื่อนที่ทั้งหมดของอนุภาคในตัวอย่างของสสารจะหยุด และจะอยู่ในภาวะพักสมบูรณ์ในสำนึกคลาสสสิกนี้ ซึ่งจะเรียกได้ว่า วัตถุนั้นมีพลังงานความร้อนเป็นศูนย์ ทว่า ในทางจุลภาคในคำอธิบายของกลศาสตร์ควอนตัม สสารจะยังมีพลังงานจุดศูนย์แม้อยู่ที่ศูนย์สัมบูรณฺ เพราะหลักความไม่แน่นอน

อ้างอิง[แก้]

  1. Hansen, James E. "GISS Surface Temperature Analysis (GISTEMP)". National Aeronautic and Space Administration. Goddard Institute for Space Studies. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2016. สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2016.