ความส่งผ่าน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ค่าความส่งผ่านของทับทิมสำหรับแสงในช่วงตามองเห็นกับช่วงใกล้อินฟราเรด มีแถบการดูดกลืนที่กว้างอยู่ 2 แถบตั้งแต่สีเขียวไปจนถึงสีน้ำเงิน ส่วนที่ ความยาวคลื่น 694 นาโนเมตรก็มีแถบการดูดกลืนแคบ ๆ อยู่ ส่วนหลังคือความยาวคลื่นของเลเซอร์ทับทิม

ความส่งผ่าน (transmittance) ในทางทัศนศาสตร์ และสเปกโทรสโกปี คืออัตราส่วนที่แสงซึ่งมีความยาวคลื่นเฉพาะค่าหนึ่งจะสามารถแผ่ทะลุผ่านไปได้หลังจากที่ได้ตกกระทบวัสดุบางอย่าง[1]

ค่าความส่งผ่าน อาจคำนวณได้ดังนี้

ในที่นี้ คือ ความเข้มของแสงที่ตกกระทบ และ คือความเข้มของแสงที่ผ่านไปได้ การส่งผ่านของตัวอย่างบางครั้งก็อาจแสดงเป็นเปอร์เซ็นต์

ค่าความส่งผ่านและค่าความดูดกลืน มีความสัมพันธ์ดังนี้

อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้วการส่งผ่านแสงจะรวมการสะท้อนบนพื้นผิวด้วย ค่าการดูดกลืนแสงมักจะพิจารณาเฉพาะการลดทอนของการส่งผ่านเนื่องจากการดูดกลืน โดยไม่ได้คิดผลของการสะท้อน

จากกฎของลัมแบร์ท–แบร์ สามารถแสดงการคำนวณค่าความส่งผ่านได้ดังนี้

ในที่นี้ คือ ค่าสัมประสิทธิ์การดูดกลืน คือระยะทางที่แผ่มา

เนื่องจากแสงจะเกิดการสะท้อนที่พื้นผิว (รอยต่อ) ของวัสดุเชิงแสง ดังนั้นความส่งผ่านของวัสดุจึงเรียกว่า ความส่งผ่านภายใน และความส่งผ่านทั้งหมดรวมถึงส่วนรอยต่อจึงเรียกว่า ความส่งผ่านภายนอก

อ่านเพิ่มเติม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "透過率 | ガラス用遮熱コーティング – エコサーモコート" (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2022-06-02.