ควอนตัมดอทโซลาร์เซลล์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สปิน-แคสควอนตัมดอทโซลาร์เซลล์ที่สร้างขึ้นโดยกลุ่มซาร์เจนท์ (Sargent Group) มหาวิทยาลัยโตรอนโต แผ่นโลหะบนพื้นผิวด้านหน้ามีการเชื่อมต่อทางไฟฟ้าไปยังแถบชั้นล่าง

ควอนตัมดอทโซลาร์เซลล์ (อังกฤษ: quantum dot solar cells) เป็นพัฒนาการใหม่ในการวิจัยเซลล์แสงอาทิตย์ที่ใช้จุดควอนตัมเป็นวัสดุไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ เมื่อเทียบกับวัสดุส่วนใหญ่ที่รู้จักกันดีอย่างเช่นซิลิคอน, คอปเปอร์ อินเดียม แกลเลียม เซเลไนด์ (copper indium gallium selenide) (CIGS) หรือ CdTe ควอนตัมดอทมีแถบช่องว่าง (bandgaps) ที่มีไว้สำหรับปรับแต่งในหลากหลายช่วงกว้างของระดับพลังงานโดยการเปลี่ยนแปลงขนาดของควอนตัมดอท ซึ่งเป็นไปในทางตรงกันข้ามกับกลุ่มวัสดุที่แถบช่องว่างได้ถูกกำหนดโดยการเลือกองค์ประกอบของวัสดุ คุณสมบัตินี้จะทำให้ควอนตัมดอทน่าสนใจสำหรับโซลาร์เซลล์แบบหลายรอยต่อ (multi-junction solar cells), เมื่อความหลากหลายของระดับพลังงานที่แตกต่างกันถูกนำมาใช้เพื่อแยกพลังงานได้มากขึ้นจากสเปกตรัมแสงอาทิตย์

ประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นจากวิธีการควอนตัมดอทได้นำไปสู่​​การวิจัยอย่างกว้างขวางในภาคสนาม ตัวอย่างแรกที่นำมาใช้คือ ในกระบวนการปลูกฟิลม์บางให้แก่ชั้นผลึกเดี่ยวที่เป็นฐานด้วยลำโมเลกุลแบบเอพพิแท็กซี่ (molecular beam epitaxy)