คลองชายทะเล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คลองชายทะเล หรือ คลองใหม่ บางทีก็เรียก คลองชลประทาน เป็นคลองที่ขุดเชื่อมระหว่างคลองบางปิ้งที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ไหลขนานชายฝั่งทะเลและถนนสุขุมวิท ผ่านอำเภอบางบ่อไปบรรจบคลองสำโรงที่อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ความยาวในเขตจังหวัดสมุทรปราการ 36.850 กิโลเมตร ปัจจุบันยังเป็นที่ตั้งของสถานีสูบน้ำขนาดใหญ่ 7 แห่ง[1]

คลองชายทะเลมีบทบาทสำคัญช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม โดยเฉพาะในเขตพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมและโรงงานในเขตจังหวัดฉะเชิงเทราและสมุทรปราการ รวมทั้งสนามบินสุวรรณภูมิ[2] ทำหน้าที่เป็นบ่อพักน้ำหรือรับน้ำ[3] กล่าวคือได้ใช้แนวถนนสุขุมวิทเป็นคันกั้นน้ำทะเลที่หนุนท่วมขึ้นมาบนชายฝั่งทะเล และใช้พื้นที่ด้านในของถนนสุขุมวิทเป็นพื้นที่พักน้ำที่ไหลมาจากตอนบน การก่อสร้างสถานีสูบน้ำตามคลองต่าง ๆ เลียบถนนสุขุมวิทตามแนวคลองชายทะเล สามารถระบายน้ำขังออกทะเล 267 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้น้ำตามคลองต่าง ๆ ของพื้นที่ด้านบน ไหลลงสู่ด้านล่างได้สะดวกรวดเร็วขึ้น[4]

คลองชายทะเลยังตัดกับสะพานน้ำยกระดับที่สร้างขึ้นจากแนวพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อ พ.ศ. 2546 เปิดใช้อย่างเป็นทางการ เมื่อ พ.ศ. 2553[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. "รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ โครงการทดแทนโรงไฟฟ้าพระนครใต้ ระยะที่ 1" (PDF). p. 102. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-02-11. สืบค้นเมื่อ 2022-06-10.
  2. ""รองฯประพิศ" ลงพื้นที่เร่งรัดงานสำคัญ 2 โครงการพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา". สยามรัฐ.
  3. "ทฤษฏีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอันเนื่องมาจากพระราชดำริตามแนวทางการบริหารจัดการด้านน้ำท่วมล้น". มูลนิธิชัยพัฒนา.
  4. "โครงการป้องกันและบรรเทาอุทกภัย แนวพระราชดำริเกี่ยวกับน้ำ". มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ.
  5. "สะพานน้ำยกระดับ สามารถลดความเดือดร้อนของชาวสมุทรปราการและบริเวณใกล้เคียงได้มาก โดยเฉพาะพื้นที่น้ำท่วม ( 5 ก.ย.60 )". โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพลเทพ.[ลิงก์เสีย]