คตินิยมเชื้อชาติในประเทศอิสราเอล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คตินิยมเชื้อชาติในประเทศอิสราเอล หมายความรวมถึง คตินิยมเชื้อชาติทุกรูปแบบและการแสดงเจตนาที่ประสบในประเทศนั้น โดยไม่ขึ้นกับสีผิวหรือหลักความเชื่อของผู้ลงมือและผู้เสียหาย หรือสถานภาพพลเมือง ผู้อยู่อาศัยหรือผู้มาเยือน

ทว่า ที่เจาะจงกว่าในบริบทอิสราเอล คตินิยมเชื้อชาติในประเทศอิสราเอลหมายถึงคตินิยมเชื้อชาติที่ยิวอิสราเอลมุ่งเป้าต่ออาหรับอิสราเอล[1] คตินิยมเชื้อชาติระหว่างยิวด้วยกันระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ยิวต่าง ๆ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อยิวเอธิโอเปีย[2] คตินิยมเชื้อชาติในอดีตและปัจจุบันต่อยิวมิซราฮีและยิวผิวสี) และคตินิยมเชื้อชาติของอาหรับอิสราเอลบางส่วนต่อยิวอิสราเอล

คตินิยมเชื้อชาติในส่วนของยิวอิสราเอลต่ออาหรับมุสลิมในประเทศอิสราเอลนั้นปรากฏในนโยบายสถาบัน ทัศนะส่วนบุคคล สื่อ การศึกษา สิทธิการเข้าเมือง การเคหะ[3] ชีวิตสังคมและนโยบายทางกฎหมาย บางคนในประชากรยิวอิสราเอลอัชเคนาซิยังมีการอธิบายว่าถือทัศนะเลือกปฏิบัติต่อยิวด้วยกันที่มีภูมิหลังอื่น ๆ รวมทั้งยิวเอธิโอเปีย ยิวอินเดีย ยิวมิซราฮี ยิวเซฟาร์ดี เป็นต้น แม้การสมรสระหว่างอัชเคนาซิมและเซฟาร์ดิม/มิซราฮิมพบบ่อยมากขึ้นในประเทศ อิสราเอล และบูรณาการทางสังคมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ความไม่เสมอภาคยังคงมีอยู่ ยิวเอธิโอเปียเผชิญการเลือกปฏิบัติจากยิวที่มิใช่ผิวดำมากเป็นพิเศษ มีการเสนอว่าสถานการณ์ของยิวเอธิโอเปีย "ที่กำลังกลายเป็นขาว" คล้ายกันกับผู้เข้าเมืองชาวยุโรป เช่น ชาวโปแลนด์และอิตาลี ซึ่งเข้าสหรัฐในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20[4]

ประเทศอิสราเอลมีกฎหมายต่อต้านการเลือกปฏิบัติอย่างกว้างขวางซึ่งห้ามการเลือกปฏิบัติของทั้งภาครัฐและเอกชนบนพื้นฐานของเชื้อชาติ ศาสนา และลัทธิการเมือง และห้ามการยุยงให้นิยมเชื้อชาติ[5] รัฐบาลอิสราเอลและหลายกลุ่มในประเทศดำเนินความพยายามเพื่อต่อสู้กับคตินิยมเชื้อชาติ ประเทศอิสราเอลเป็นรัฐภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ และเป็นผู้ลงนามอนุสัญญาต่อต้านการเลือกปฏิบัติในการศึกษา

อ้างอิง[แก้]

  1. IRIN; Andreas Hackl (7 September 2012). "ISRAEL-OPT: Upping sticks and heading for Ramallah". IRIN humanitarian news and analysis. UN Office for the Coordination of Humanitarian Affairs. สืบค้นเมื่อ 14 October 2012.
  2. http://www.haaretz.com/news/national/thousands-in-jerusalem-protest-racism-against-ethiopian-israelis-1.407998 Thousands in Jerusalem protest racism against Ethiopian Israelis
  3. "World Report 2012: Israel/Occupied Palestinian Territories". Human Rights Watch. Human Rights Watch. 2012. สืบค้นเมื่อ 1 May 2016.
  4. Steven Kaplan, "Can the Ethiopian Change His Skin? The Beta Israel (Ethiopian Jews) and Racial Discourse", African Affairs, Vol. 98, No. 393 (Oct., 1999), p. 548
  5. Navot, Suzi, Constitutional law of Israel, p 240